วันจันทร์ , เมษายน 29 2024
Breaking News
You are here: Home / ข้อมูล ผอ.เบาะแส / โครงการสร้างพลเมืองชั้นพิเศษทั่วประเทศ สังกัดองค์กรสืบสวนเบาะแส BFI

โครงการสร้างพลเมืองชั้นพิเศษทั่วประเทศ สังกัดองค์กรสืบสวนเบาะแส BFI



เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคมทั่วประเทศ ติดตามผลงานได้ใน https://borsae.org

ชมข้อมูล แนวคิดใหม่ใน “การสร้างพลเมืองชั้นพิเศษในรั้วมหาวิทยาลัย” ตามลิงก์ https://youtu.be/X5emz_qyhd4

สรุปข้อเสนอโครงการ

          โครงการนี้เป็นการดำเนินโครงการวิจัยเพื่อนำองค์ความรู้ใหม่จากงานวิจัยฉบับปริญญาเอกเรื่อง “การพัฒนากระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน” ที่ได้ค้นพบรูปแบบ “นวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวน” เป็นองค์ความรู้ใหม่ซึ่งได้มีนำไปทดสอบแล้ว โดยนำไปใช้ในการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มองค์ความรู้ให้แก่ผู้นำทางความคิด (Opinion Leaders) และผู้สนใจเพิ่มพูนทักษะพิเศษในการรับข้อมูลข่าวสาร วิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อนำข้อมูลข่าวสารดังกล่าวไปใช้ในการตัดสินใจทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเรื่องส่วนตัว เป็นการสร้างประชาชนผู้ที่ต้องการเพิ่มทักษะพิเศษด้านนวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวน เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่ และเพื่อนำไปใช้ในการมีส่วนร่วมนำไปพัฒนาประชาชนในพื้นที่ ที่ตนอาศัยให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนของชุมชน โดยดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการใช้นวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตพลเมืองไทย พร้อมขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดการใช้นวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตพลเมืองไทยให้มีความรู้เท่าทันสื่อในยุคดิจิทัล ที่มีการใช้ข่าวลวง (Fake News) ที่ทำให้เกิดความเสียหายกับประชาชนที่ไม่รู้เท่าทันทั้งผู้ที่ปล่อยข่าวเพื่อหาประโยชน์ในทางที่ผิด รวมทั้งสื่อมวลชนที่ตกเป็นเหยื่อของขบวนการปล่อยข่าวลวงที่ใช้สื่อเป็นเครื่องมือทำลายฝ่ายตรงข้าม อันเป็นการบ่อนทำลายภาครัฐในระยะยาว 

          กระบวนการนวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนที่นำมาใช้เป็นองค์ความรู้ในการพัฒนาประชาชนที่เป็นผู้นำทางความคิด เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) อาสาสมัครกู้ภัย อาสาสมัครตำรวจบ้าน เป็นการพัฒนาระยะสั้นแต่ได้ผลในระยะยาว ด้วยการสร้างประชาชนที่เป็นผู้นำทางความคิดจะเป็นผู้ที่ขยายผลต่อไปยังประชาชนทั่วไปที่มีความเชื่อมั่นจากบุคคลที่เป็นผู้นำทางความคิดเสมอ ดังนั้นการใช้แนวความคิดด้านนวัตกรรมการสื่อสาร ที่มีการสืบสวนสอบสวนแล้วย่อมเป็นการใช้นวัตกรรมเข้ามาตอบโจทย์การพัฒนาประเทศในระยะยาวตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีตามที่ได้มีการกำหนดไว้ โดยใช้กระบวนการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนที่เป็นผู้นำทางความคิดในสังคมแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) อาสาสมัครกู้ภัย อาสาสมัครตำรวจบ้าน ในหัวข้อ “นวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวนเพื่อคุณภาพชีวิตพลเมืองไทย” จำนวน 12 ชั่วโมง พร้อมทั้งมีการทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ พร้อมทั้งมอบวุฒิบัตรพร้อมบัตรประจำตัวให้แก่ผู้ที่สอบผ่านมาตรฐานของการอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ ที่มีทั้งการเพิ่มทักษะพิเศษ การเป็นพลเมืองชั้นพิเศษ ที่มีองค์ความรู้ทางด้านนวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวน เพื่อถ่ายทอดต่อไปยังประชาชนผู้รับสารในพื้นที่ ที่จะมีส่วนได้เสียในพื้นที่เพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ และทรัพยากรบุคคล ที่มีค่าในพื้นที่ ที่ตนอาศัยอยู่ และเพื่อเป็นการป้องปรามปัญหาอาชญากรรมและปัญหาการคอร์รัปชันในพื้นที่ซึ่งเป็นการบูรณาการต่อเนื่องต่อยอดให้เกิดความมั่นคงยั่งยืนเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นต้นแบบเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาพื้นที่ภาคอื่นๆ ทั่วประเทศต่อไป

แบบสรุปข้อเสนอโครงการ ภาษาอังกฤษ

           This project is a research project to bring new knowledge from the Ph.D. “Developing an investigative news media process” that has discovered a pattern “Innovation in investigative communication” It is a new body of knowledge that has been put to the test. It is used in workshops to increase knowledge for Opinion Leaders and those interested in enhancing their special skills in receiving information, analyzing and synthesizing to use such information in decision-making in both aspects. economic, social, political and personal matters It creates people who want to increase their special skills in investigative communication innovation. Attending workshops to increase new knowledge and to be used to participate in the development of people in the area where they live for the stability and sustainability of the community By conducting the transfer of knowledge on the use of investigative communication innovations to improve the quality of life of Thai citizens. Ready to drive and drive the use of investigative communication innovations to improve the quality of life of Thai citizens to keep up-to-date with the media in the digital era. with the use of fake news that causes damage to people who are ignorant and those who spread the news to exploit Including the media who are victims of the fake news movement that uses the media as a tool to destroy opponents. which will undermine the government in the long run 

          An innovative process of investigative communication that is used as a body of knowledge to develop people who are thought leaders such as village headmen, village headmen, rescue volunteers. Police Volunteer It’s a short-term development, but it’s effective in the long run. By creating people who are thought leaders will always extend to the general public who has the confidence of thought leaders. Therefore, using the concept of communication innovation That which has been investigated is likely to use innovation to meet the long-term development of the country in accordance with the 20-year national strategic plan that has been set. By using the process of organizing workshops to educate people who are thought leaders in society in each area, especially village headmen, village headmen, rescue volunteers. Police Volunteer on the topic “Innovation of Investigative Communication for the Quality of Life of Thai Citizens” 12 hours, with both theoretical and practical tests as well as giving certificates and identification cards to those who have passed the standard of this workshop with both adding special skills special citizenship with a body of knowledge in investigative communication innovation to be transmitted to the audience in the area to have interests in the area to protect natural resources and human resources valuable in the area where they live and in order to prevent crime and corruption problems in the area, which is a continuous integration to create sustainable stability in accordance with the 20-year national strategic plan as a model to be used in the development of other regions Nationwide next to have interests in the area to protect natural resources and human resources valuable in the area where they live and in order to prevent crime and corruption problems in the area, which is a continuous integration to create sustainable stability in accordance with the 20-year national strategic plan as a model to be used in the development of other regions Nationwide next to have interests in the area to protect natural resources and human resources valuable in the area where they live and in order to prevent crime and corruption problems in the area, which is a continuous integration to create sustainable stability in accordance with the 20-year national strategic plan as a model to be used in the development of other regions Nationwide next

หลักการและเหตุผล/ปัญหา/ความสำคัญและที่มา

         จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยตลอดระยะเวลามากกว่า 50 ปีที่ผ่านมา ประชาชนในสังคมส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันทั้งในสังคมเมืองและสังคมชนบท ประชาชนที่ขาดความรู้มักจะตกเป็นเหยื่อ หรือเป็นเครื่องมือให้กับกลุ่มบุคคลหรือพรรคการเมืองที่ใช้การซื้อเสียงเพื่อให้สมาชิกของตนเข้าทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎร เมื่อมีการลงทุนจึงได้มีการถอนทุนตามมา ประชาชนมิได้มีความเข้าใจในระบบการเมือง ทั้งที่กฎหมายรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่จะมีใจความสำคัญว่า “ประชาชนไทยทุกคนต้องรู้กฎหมาย” ประชาชนทั่วไป ผู้นำทางความคิด นักสังคมสงเคราะห์ อาสาสมัคร จิตอาสา ส่วนใหญ่ยังไม่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี จากการค้นข้อมูลประชากรในประเทศจำนวนร้อยละ 91 ยังไม่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (สืบค้นจาก  https://www.weforum.org/agenda/2018/09/heres-how-we-prepare-asean-youth-for-the-future เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2563) จากการศึกษารายละเอียดจากสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในสังคมไทย การศึกษาและความรู้ลึก รู้จริง รู้รอบด้านของประชาชนเป็นสาเหตุหลักของการพัฒนาประเทศที่ไม่ประสบความสำเร็จ ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศกำลังพัฒนาอยู่เช่นเดิม ด้วยการที่ประชาชนมีการศึกษาน้อย ขาดการหล่อหลอมความเป็นผู้ที่มีคุณธรรม ขาดการหล่อหลอมการใช้กระบวนการทางความคิดให้รู้จัก ผิด ชอบ ชั่ว ดี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาประชาชนขาดการพิจารณาว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดถูก มีพฤติกรรมเลียนแบบเกิดขึ้นมากมาย การกระทำตามในสิ่งที่ผู้ใหญ่ได้กระทำไว้กลายเป็นแบบอย่างในทางที่ผิดให้แก่เยาวชนรุ่นหลัง จึงเกิดคำพูดเกี่ยวกับ การเป็นสองมาตรฐาน ไม่มีความเป็นธรรม และระบบอุปถัมภ์นำหน้า เกิดให้เห็นอย่างเด่นชัดในสังคมการดำรงชีวิตของประชาชน

หลักสูตรนวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวน ของ องค์กรสืบสวนเบาะแส BFI จึงเกิดขึ้นเป็นวิชาที่จำเป็นต้องใช้ควบคู่ไปกับการดำเนินชีวิตของทุกคนในสังคม กฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ ที่มีการนำมาบังคับใช้ในทุกยุคทุกสมัยก็มีการออกกฎหมายบังคับให้ประชาชนทุกคนต้องรู้กฎหมาย ในส่วนของการสื่อสารก็เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งนอกเหนือจากปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ การสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในสังคมมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร การสื่อสารมีประโยชน์ทั้งในแง่บุคคลและสังคมทำให้มีความรู้และโลกทัศน์ที่กว้างขวางขึ้นเป็นกระบวนการที่ทำให้สังคมเจริญก้าวหน้าเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า หัวใจของศาสตร์ทุกศาสตร์คือการสื่อสาร และยุคนี้ นวัตกรรมการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญในยุคของการมีส่วนร่วม มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาองค์กรในยุคที่มีฐานวิถีชีวิตใหม่(New Normal) ที่แปลความหมายว่า รูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ที่แตกต่างจากอดีต (มาลี บุญศิริพันธุ์, 2563. สืบค้นจาก https://news.thaipbs.or.th/content/292126  เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2563 ) โดยเฉพาะองค์กรสืบสวนเบาะแส ในสังกัดของมูลนิธิเบาะแสซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในสังคมโดยใช้พลังจากสื่อมวลชน (Mass Media) และพลังจากนักข่าวพลเมือง (Citizen Journalist) ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่รวมทั้งเป็นผู้ที่พบเห็นเหตุการณ์จริง โดยใช้พลังที่มีคุณภาพทั้งสองนี้เป็นเครื่องมือสร้างความเป็นธรรมพร้อมทั้งช่วยในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ออกสู่สาธารณชน ดังนั้นเมื่อนักข่าวพลเมืองได้เข้ามามีส่วนร่วม จึงทำให้การปกป้องและสร้างความเป็นธรรมมุ่งไปสู่เป้าหมายได้รวดเร็วขึ้น รวมทั้งเกิดความมุ่งมั่นในการสร้างความสำเร็จให้กับองค์กร นั่นก็คือความเป็นธรรมในสังคม ซึ่งบุคลากรที่มาจากนักข่าวพลเมืองจะรู้สึกพึงพอใจในผลงานที่เกิดขึ้น และเกิดความรู้สึกของการมีคุณค่าในตนเอง มีความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของและผูกพันกับองค์กรส่งผลทำให้องค์กรมีคุณภาพ (ประทีป จันทรสิงห์, 2549) โดยที่ในปัจจุบันนักข่าวพลเมืองกลายเป็นผู้พลิกโฉมหน้าโลกของงานข่าวสมัยใหม่ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี จากเดิมที่ส่วนใหญ่งานข่าวนั้นเป็นเพียงหน้าที่และการทำงานของนักข่าวมืออาชีพเท่านั้น แต่ปัจจุบันงานข่าวกลับพลิกโฉมหน้าเป็นงานข่าวในมิติของประชาชนทั่วไป ที่ทำขึ้นในบทบาทของนักข่าวพลเมืองที่ช่วยเติมเต็มงานข่าวของนักข่าวมืออาชีพให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น (ศุภนิตย์ วงศ์ทางสวัสดิ์, 2552)

          การมีส่วนร่วมของนักข่าวพลเมืองนี้ จึงเป็นกระบวนการที่นักข่าวพลเมืองได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการวางแผนการปฏิบัติงาน การตัดสินใจ ความรับผิดชอบ การประเมินผล รวมทั้งด้านการแสดงความคิดเห็น โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และความเชี่ยวชาญในทางการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น (มธุรดา ศรีรัตน์, 2559) ในส่วนของการข่าวสืบสวนสอบสวนนั้นเป็นการปฏิบัติงานด้วยวิธีการค้นคว้าและแสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ด้วยการสืบสวนเบื้องลึกเบื้องหลังของข่าว จนกระทั่งได้ความจริงและข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือ มีหลักฐานพิสูจน์และตรวจสอบได้ โดยมีการทำงานอย่างเป็นระบบมีกระบวนการแล้วจึงรายงานหรือนำเสนอข่าวนั้นผ่านเครื่องมือสื่อสารหรือสื่อมวลชน (Mass Media) ด้วยแพลตฟอร์ม (Platform) ต่างๆ ไปสู่ยังสาธารณชนทั่วไปและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางหนึ่งทางใด (เสกสรรณ ประเสริฐ, 2562) ซึ่งข่าวสืบสวนสอบสวนนี้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในสังคมประชาธิปไตย ในกรณีที่ประชาชนมีสิทธิตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐผ่านทางสื่อมวลชนที่ต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต มีความรับผิดชอบ มีความเป็นกลางและมีจิตสำนึกในการพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของสังคม (มาลี บุญศิริพันธ์, 2555, น. 5-8)   

          นวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวน เป็นวิชาที่ผู้ดำเนินโครงการนี้สำเร็จระดับชั้นปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขานิเทศศาสตร์นวัตกรรม โดยทำดุษฎีนิพนธ์หัวข้อ “การพัฒนากระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน” ซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ฉบับแรกของประเทศไทยในระดับชั้นปริญญาเอกขณะนี้ และได้จัดทำบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ SSRN ซึ่งปี 2020 บทความนี้ติดระดับ 1 ใน 10 ของข้อมูลระดับนานาชาติ (Top Ten) เป็นบทความทางวิชาการเรื่อง “กระบวนการทำข่าวเชิงสืบสวน” จากงานวิจัยในหัวข้อ “การพัฒนากระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน” (สืบค้นจาก  https://papers.ssrn.com/sol3/topten/topTenResults.cfm?groupingId=3424408&netorjrnl=jrnl  เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2563)

          จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น มูลนิธิเบาะแส โดยการนำของ ดร.เสกสรรณ ประเสริฐ ได้สร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมตลอดระยะเวลามากกว่า 23 ปีที่ผ่านมาโดยได้นำมูลนิธิเบาะแสขับเคลื่อนค้นหาผู้นำทางความคิด (Opinion Leaders) พร้อมทั้งสร้างพลังมวลชนหรือนักข่าวพลเมืองผู้ที่ต้องการความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นทั่วประเทศ โดยตั้งเป็นเครือข่ายผู้รักความเป็นธรรมประจำท้องถิ่น เช่น หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และภาคต่างๆ รวม 10 ภาคทั่วประเทศ เพื่อเป็นการปกป้องตนเองและบุคคลรอบข้างให้เกิดความเป็นธรรม รวมทั้งได้ให้ความรู้ในหลักสูตรระยะสั้นแก่ประชาชนในสังคมที่เข้าร่วมกับองค์กรมูลนิธิเบาะแส และในส่วนที่ไม่ได้เข้าร่วม สิ่งที่น่าสังเกตได้ชัดเจนคือบุคลากรที่ได้เข้าร่วมกับองค์กรมูลนิธิเบาะแสจะได้รับความรู้ที่มีกระบวนการทางความคิด (Design Thinking) อย่างเป็นระบบ มีความรู้รอบด้าน สามารถนำเอาความรู้ต่างๆ หลากหลายด้านไปประยุกต์ใช้ ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพอันเป็นการนำพาไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าถ้าประชาชนมีการศึกษาสามารถใช้ความรู้ไปในทางที่ถูกต้อง มีจิตสำนึกสาธารณะจะเป็นการนำไปสู่การพัฒนาประเทศที่ได้ผลสมบูรณ์ พร้อมพัฒนาองค์ความรู้ต่อยอดแบบบูรณาการไปพร้อมกับการขับเคลื่อนโดยคณะทำงานของมูลนิธิเบาะแสในส่วน Borsae Academy ซึ่งมีคณะทำงานอยู่ทั่วประเทศขับเคลื่อนให้เกิดผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

         โครงการนี้จึงเป็นนวัตกรรมการการสื่อสารการสืบสวนสอบสวนเพื่อสร้างองค์ความรู้ให้ประชาชนที่เป็นผู้นำทางความคิดมีจิตสำนึกพร้อมรู้เท่าทันในการรับข้อมูลข่าวสารในปัจจุบันที่มีกระบวนการปล่อยข่าวลวง (Fake News) สร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นทั่วไป กิจกรรมนี้จะทำให้ประชาชนที่เข้ามีส่วนร่วมจะเกิดผลดีต่อการพัฒนาประเทศ ด้วยความมีจิตสำนึกในการเป็นเจ้าของประเทศที่แท้จริง กระบวนการนี้จึงเป็นกระบวนการและหลักการในการคิดวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเรื่องส่วนตัวของประชาชนทุกคน พร้อมทั้งกิจกรรมนี้ เป็นถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการใช้นวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตพลเมืองไทย เป็นการขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดการใช้นวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตพลเมืองไทยให้มีความรู้เท่าทันสื่อในยุคดิจิทัล โดยผู้เข้าร่วมรับการอบรมเชิงปฏิบัติการยังเป็นกำลังสำคัญในการปกป้องทรัพยากรต่างๆ เช่น ทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ที่ตนอาศัยเพื่อความมั่นคง และยั่งยืนตลอดไป อันเป็นผลต่อการปกป้องและพัฒนาความมั่นคงของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 20 ปี ที่รัฐบาลปัจจุบันได้ดำเนินการไว้

วัตถุประสงค์

1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการใช้นวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตพลเมืองไทย

2. เพื่อขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดการใช้นวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตพลเมืองไทยให้มีความรู้เท่าทันสื่อในยุคดิจิทัล

กรอบการดำเนินโครงการ

ขั้นตอนดำเนินโครงการ

1. ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “นวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวนเพื่อคุณภาพชีวิตพลเมืองไทย” ใช้เวลา 2 วัน คือวันเสาร์และวันอาทิตย์รวม 12 ชั่วโมงต่อเนื่องสำหรับประชาชนที่เป็นผู้นำทางความคิดซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่แต่ละจังหวัดในภาคกลางจำนวน 22 จังหวัด เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) อาสาสมัครกู้ภัย อาสาสมัครตำรวจบ้าน รวมผู้เข้ารับการอบรมสัมมนาจังหวัดละ 50 คนรวมทั้งสิ้น 1,100 คน

2. ทดสอบองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยการทดสอบความรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติการก่อนเสร็จสิ้นการอบรมพร้อมมอบประกาศนียบัตร และบัตรประจำตัวแก่ผู้ที่เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการและผ่านการทดสอบ

3. ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 ถึงเดือนพฤษภาคม 2565 จำนวน 22 จังหวัดในภาคกลาง

4. ดำเนินการรวบรวมผลผลิตที่ได้รับจากการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการจำนวน 22 จังหวัด ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม 2565

5. สรุปผลผลิตที่ได้จากการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยฉบับปริญญาเอกที่นำไปเผยแพร่แก่ประชาชนที่เป็นผู้นำทางความคิด เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) อาสาสมัครกู้ภัย อาสาสมัครตำรวจบ้าน ที่เข้ารับการอบรมแยกเป็นแต่ละจังหวัดเพื่อนำเสนอผลการวิจัย

กรอบการวิจัย

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

             1. แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับวารสารศาสตร์และบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน

                    – แนวคิดเกี่ยวกับวารสารศาสตร์                    

                    – แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่สื่อมวลชน

                    – สื่อใหม่และการหลอมรวมสื่อ                                          

                    – ผลกระทบของข่าวออนไลน์

                    – อินเทอร์เน็ตกับงานวารสารศาสตร์   

                    – ภูมิทัศน์สื่อ (Media Landscape)       

             2. ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ (Two – Step Flow) และผู้นำทางความคิด (Opinion Leader)                   

             3. แนวคิดเกี่ยวกับการรู้เท่าทันข่าวปลอม (Fake News) 

             4. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวน

             5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

สมมติฐานการวิจัย 

           1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการใช้นวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความรู้เท่าทันสื่อ และภยันตรายที่มีอยู่รอบตัวทุกคนในยุคดิจิทัล 
           2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ด้านการใช้นวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวนไปช่วยแก้ไขปัญหาอาชญากรรมและความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย
           3. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาสังคมให้ดำรงอยู่ในความถูกต้องและมีความยุติธรรมในสังคม ลดการทุจริตคอร์รัปชันทั้งในระดับองค์กร สังคม ตลอดจนระดับประเทศชาติ

ระเบียบวิธีวิจัยและวิธีดำเนินการวิจัย 

          1.รูปแบบการวิจัย   ใช้การวิจัยในรูปแบบผสม (Mixed Methods Research)  ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)  ดังรายละเอียดคือ

               1) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจด้านการใช้นวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตพลเมืองไทย

2) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจด้านการใช้นวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตพลเมืองไทย จากประชากร 22 จังหวัดในภาคกลาง ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร กำแพงเพชร ชัยนาท นครนายก นครปฐม นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สระบุรี อ่างทอง อุทัยธานี

          2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง   

              ตัวแทนของประชากรที่อยู่ในภาคกลางของประเทศไทย จำนวน 22 จังหวัด โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple random sampling) คือ การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่ายจากรายชื่อ (List Frame) หรือพื้นที่ (Area) ซึ่งมีลักษณะทางประชากรคล้ายกัน จังหวัดละ 50 คน ทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง 18-70 ปี รวมเป็นจำนวน 1,100 คน 

          3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1) การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจทั้งคำถามปลายปิดและปลายเปิด มีลักษณะคำถามที่เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ผ่านระบบออนไลน์ ทั้งก่อนอบรม และหลังจากอบรม

                 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการอบรมโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้จากวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในการใช้นวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอนสวน จำนวน 6 ครั้ง ๆ 2 วัน รอบละ 190 คน  โดยใช้แบบประเมินการรับรู้และการนำไปปฏิบัติของประชากรที่เป็นตัวแทนของจังหวัดทั้งหมดในภาคกลาง

          4. การเก็บรวบรวมข้อมูล

1) การวิจัยเชิงปริมาณ จะใช้แบบสอบถาม ด้วยการสอบถามข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ (Google Form)  ทั้งคำถามปลายปิดและปลายเปิด  รวมจำนวน 1,100 ชุด  แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

                 ส่วนที่ 1  การใช้คำถามเพื่อสำรวจปัจจัยด้านลักษณะประชากรของผู้เข้าอบรม ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ รายได้ และการศึกษา

                 ส่วนที่ 2  การใช้คำถามเพื่อสำรวจความรู้ความเข้าใจด้านการใช้นวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตพลเมืองไทย ของผู้เข้าอบรม  

2) การวิจัยเชิงคุณภาพ

                    เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผ่านการอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้นวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอนสวน และสามารถนำไปปฏิบัติกับพื้นที่ของตนเองเพื่อเป็นพื้นที่นำร่องก่อน ในเขตพื้นที่ภาคกลางทั้ง 22 จังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 1,100 คน ระหว่างการอบรมจะขออนุญาตบันทึกคลิปวิดีโอ บันทึกเสียง บันทึกการถ่ายทำ และถ่ายภาพขณะที่มีการอบรม

          5. ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย  

              ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2564 ถึงเดือนพฤษภาคม  2565

เอกสาร/งานวิจัยอ้างอิงทางวิชาการเกี่ยวกับโครงการ

แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวน

กระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน

กระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวนสามารถสรุปองค์ประกอบหลักในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวนได้ 7 ขั้นตอน ที่จะใช้เป็นแนวทางในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวนให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ดียิ่งขึ้นดังนี้คือ

1) การกำหนดหมายข่าว เป็นการค้นหาเหตุการณ์ที่เป็นประเด็นทางสังคมที่เกิดขึ้นซึ่งมีผู้ทำให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและประเทศชาติ การกำหนดหมายข่าวนั้นจะต้องเล็งเห็นแล้วว่าสิ่งที่จะทำต่อไปจะต้องเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดผลดีต่อส่วนรวมและประเทศชาติ เริ่มด้วยการเกิดแนวความคิดว่าจะทำข่าวเรื่องอะไร อาจเริ่มจากการสังหรณ์ใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นหรือได้แง่มุมจากคำบอกเล่าหรือมีผู้ให้เบาะแสทั้งเปิดเผยตัวตนและไม่เปิดเผยจนทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของความสงสัยซึ่งต้นตอของความจริงอาจได้จากหลายทาง จากตัวของนักข่าว แหล่งข่าวบุคคล จดหมายร้องเรียน จากข่าวประจำวัน จากแฟ้มข่าว จากเอกสารข้อมูลหรือจากการพบเห็นโดยบังเอิญซึ่งเกิดเป็นข้อสงสัยในลักษณะมุมมองที่เป็นเรื่องผิดปกติ

          2) การสร้างศูนย์รวมข่าว เป็นการค้นหาข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวข้องรอบด้านเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ด้วยการสำรวจข้อมูล แสวงหาข้อมูลแหล่งข่าวด้วยความระมัดระวัง รวดเร็วและกว้างขวางทั้งจากเอกสารและการสัมภาษณ์ โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้วารสารศาสตร์เชิงข้อมูล (Database Journalism) ในงานข่าวเชิงสืบสวนโดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดการฐานข้อมูล (Database Manager) เช่น การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การตรวจสอบยืนยันข้อมูล การนำเสนอข้อมูลข่าวสืบสวน วารสารศาสตร์เชิงข้อมูลในงานข่าวเชิงสืบสวนจึงเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานข่าวเชิงสืบสวนกับแนวทางอื่นๆ โดยนำมาใช้เพื่อศึกษาว่าจะสามารถเดินต่อไปได้จนบรรลุเป้าหมายหรือไม่ มีอุปสรรคและข้อจำกัดมากน้อยเพียงใด รวมทั้งการแสวงหาแหล่งข่าวของข่าวที่ได้กำหนดหมายข่าวไว้แล้วซึ่งจะมาจากข้อมูลทางเอกสาร ข้อมูลทางวัตถุสถานที่ และข้อมูลบุคคล ซึ่งจะเป็นผลทำให้เกิดความสำเร็จของการสื่อข่าวเชิงสืบสวน

          3) การคาดการณ์ล่วงหน้า ในการที่จะสื่อข่าวเชิงสืบสวนเรื่องต่างๆ นั้น ควรดูจากคุณค่าข่าว ผลที่จะได้รับประโยชน์ต่อส่วนรวม รวมทั้งทรัพยากรต่างๆ ปัญหาและอุปสรรคโดยการปรึกษากับผู้บริหารกองบรรณาธิการให้ชัดเจนก่อนที่จะมีการเดินหน้าต่อในงานข่าวเชิงสืบสวน การคาดการณ์ล่วงหน้าเป็นการประเมินข้อมูลทุกประเภทที่ค้นหาได้แล้ว นักข่าวจะต้องประเมินความเป็นไปได้ว่าข่าวเชิงสืบสวนในเรื่องที่จะทำนั้นสามารถดำเนินต่อไปจนถึงจุดจบได้หรือไม่ เพราะสุดท้ายจะเป็นการไม่คุ้มค่ากับทรัพยากรและเวลาที่สูญเสียไป นับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการสื่อข่าวเชิงสืบสวน

          4) การจัดแผนงานข่าว ด้วยการตั้งสมมติฐานและวางแผนงานให้ชัดเจน โดยอาศัยประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมาในเรื่องที่คล้ายกัน ว่าสิ่งใดจะเกิดขึ้นในเวลาต่อมา ผลของงานที่ออกมานั้นจะเป็นไปตามที่ได้ตั้งสมมติฐานไว้หรือไม่ โดยผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานคนเดียวครบวงจร (One Man Journalist) ก็จะต้องประเมินและตัดสินใจว่า จะทำข่าวชิ้นนี้หรือไม่ และในส่วนผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานเป็นทีมงานก็จะต้องร่วมกันประเมินและตัดสินใจโดยอาจใช้วิธีการตั้งสมมติฐานของงานวิจัยนำมาใช้ประกอบในการทำงานข่าวเชิงสืบสวน โดยจะต้องมีการวางแผนตั้งแต่ต้นจนจบรวมทั้งวิธีการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ละด้านที่ได้ประเมินไว้แต่ต้น ซึ่งอาจมีการพลิกผันแก้ไขไปตามสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อให้สำเร็จบรรลุไปสู่เป้าหมาย

          5) การกวาดข้อมูลข่าว แหล่งข้อมูลประกอบด้วย แหล่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร แหล่งข้อมูลที่เป็นบุคคล และแหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งข่าวเชิงสืบสวนนั้นมีผลกระทบต่อกลุ่มคนจำนวนมากทั้งผู้เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง ทั้งแหล่งข่าวและผู้สื่อข่าว จึงควรระวังผู้ให้เบาะแสข่าว ผู้สื่อข่าวจะต้องประเมินคุณค่าของผู้ให้เบาะแสข่าวด้วยว่าน่าเชื่อถือเพียงใดและข้อมูลที่ได้มามีข้อพิสูจน์อะไรเพื่อสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเท็จจริงหรือไม่ จะต้องตั้งสมมติฐานดูว่าผู้ให้เบาะแสข่าวมีจุดมุ่งหมายอะไรหากข่าวได้รับการเผยแพร่ ผู้ใดจะได้รับผลประโยชน์บ้าง หรืออาจหวังให้สื่อของเราเป็นเครื่องมือทำลายใครหรือไม่ หากการประเมินข้อมูลข้อเท็จจริงที่ได้จากผู้ให้เบาะแสข่าวแล้วพบว่าไม่น่าเชื่อถือ ก็ควรใส่แฟ้มไว้ก่อนเพราะอาจมีประโยชน์ต่อไปในวันข้างหน้า แต่ถ้าข้อมูลน่าเชื่อถือและมีผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่แม้การประเมินของกองบรรณาธิการจะพบว่าผู้ที่ให้ข้อมูลกับผู้สื่อข่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายชื่อเสียงของผู้อื่นก็ตาม ผู้สื่อข่าวก็ต้องนำเสนอ

          6) การสันนิษฐานงานข่าว ด้วยการตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกเป็นการตรวจสอบข่าวกับหลักฐานที่น่าเชื่อถือ เช่น เอกสาร แหล่งข่าวจากบุคคล การยืนยันข้อมูล การตรวจสอบข้อมูลจากหลายแหล่งข่าว รวมทั้งการตรวจสอบข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทุกครั้งก่อนการนำเสนอข่าวซึ่งเป็นการตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกเพื่อนำมาประเมินการทำงานทุกขั้นตอนต่อเนื่องเพื่อรวบรวมข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการสื่อข่าว โดยการเปรียบเทียบข้อมูลกับแหล่งต่างๆ เพื่อความถูกต้องเป็นจริงโดยใช้การประเมินผลงานเป็นระยะๆ เพื่อประเมินความสำเร็จและอุปสรรคเพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที

          7) การเสนอข่าวสืบสวน เป็นการนำเสนอข่าวเชิงสืบสวนไปสู่สาธารณชนในแพลตฟอร์ม (Platform) ต่างๆ ที่เป็นทั้งสื่อหนังสือพิมพ์ รายการโทรทัศน์และในแพลตฟอร์มที่เป็นสื่อดิจิทัล (Digital Media) โดยทุกคำพูดที่นำเสนอนั้นต้องเป็นความจริงและสามารถยืนยันได้ การเสนอข่าวสืบสวนนั้นสามารถทำเป็นรายงานพิเศษครั้งเดียวให้มีทั้งบทรายงาน ข้อเท็จจริง ตารางข้อมูล เกร็ดความรู้ บทสัมภาษณ์ รวมทั้งบทสรุป ตลอดจนภาพประกอบต่างๆ หรืออาจเสนอเป็นข่าวในลักษณะการรายงานเป็นตอนๆ ตั้งแต่เริ่มได้เบาะแสจนกระทั่งถึงบทสรุปผลขั้นสุดท้าย

แนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวนไปสู่การพัฒนากระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน

          1) ปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านทักษะ ความรู้และประสบการณ์ของนักข่าว พบว่า นักข่าวที่มีประสบการณ์การน้อยจะไม่มีทักษะและความรู้เพียงพอที่จะเริ่มทำงานข่าวเชิงสืบสวนและประการสำคัญนักข่าวส่วนใหญ่จะมีปัญหาในด้านความรู้ (Knowledge) โดยตรงและการรอบรู้ในเรื่องต่างๆ รวมทั้งการเรียนรู้การใช้งานคอมพิวเตอร์และการหาข้อมูลทางระบบอินเทอร์เน็ตให้มีความชำนาญ ในส่วนของแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านทักษะ ความรู้และประสบการณ์ของนักข่าว มีวิธีการดังนี้ นักข่าวจะต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลา มีความถูกต้อง ความยุติธรรม มีกระบวนการเก็บข้อมูล การสั่งสมข้อมูลไว้เป็นของส่วนตัว ในปัจจุบันสามารถค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีทำให้การสืบค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตทำได้ง่ายขึ้นสามารถเรียนรู้และฝึกปฏิบัติได้ องค์กรข่าวจะต้องจัดสร้างห้องสมุดข่าวขององค์กรข่าวเพื่อให้นักข่าวมีความรู้โดยตรงพร้อมทั้งรอบรู้ในเรื่องต่างๆ ที่จะสามารถทำข่าวเชิงสืบสวน และจะต้องส่งเสริมนักข่าวเข้าอบรมเพิ่มทักษะและความรู้ทางด้านการใช้เทคโนโลยี ในเรื่องการถ่ายภาพ ความรู้ในด้านการทำข่าวเชิงลึก ด้านการใช้ภาษาอังกฤษ การใช้งานคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสมัยใหม่รวมทั้งการหาข้อมูลทางระบบอินเทอร์เน็ตให้มีความชำนาญ ให้เรียนรู้ในด้านต่างๆ ที่นโยบายขององค์กรข่าวต้องการให้ทำข่าวในด้านนั้นๆ พร้อมทั้งส่งไปอบรมต่างประเทศซึ่งจะช่วยให้มีทักษะความสามารถมากยิ่งขึ้นด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างนักข่าวสถาบันต่างๆ ในระดับชาติและระดับนานาชาติเกิดขึ้น และประการสำคัญการเรียนจากประสบการณ์และสอนนักข่าวให้ทำข่าวเชิงสืบสวนตลอดเวลาในขณะที่เขาทำงาน (Learning by doing & Training on the job)  จึงเป็นการทำให้ได้ผลดีที่สุด

          2) ปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านการแสวงหาข้อมูลข่าว พบว่า นักข่าวส่วนใหญ่ขาดการค้นหาข้อมูลในเชิงลึก โดยเฉพาะนักข่าวหน้าใหม่จะไม่มีคลังข้อมูลส่วนตัว องค์กรข่าวมีคลังข้อมูลน้อย ความสามารถของนักข่าวในการค้นหาข้อมูลมีน้อยเนื่องจากขาดความรู้ ทักษะและประสบการณ์รวมทั้งองค์กรข่าวส่วนใหญ่ทำงานลักษณะไม่มีการวางแผน ไม่มีการทำระบบฐานข้อมูลข่าวและรายชื่อแหล่งข่าวไว้ ประการสำคัญด้านการเสาะหาข้อมูลเอกสารบางส่วนที่มีอยู่กับหน่วยงานของรัฐไม่สามารถเสาะหาได้เนื่องจากถูกปิดกั้นจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในส่วนของแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านการหาข้อมูลจากแหล่งข่าว มีวิธีการดังนี้ นักข่าวต้องมีความรู้ในเชิงระบบ ความรู้ในเชิงโครงสร้าง มีจิตสำนึกภายใต้อุดมการณ์ที่จะต้องทำความจริงให้ปรากฏ นักข่าวจะต้องสั่งสมหรือเก็บข้อมูลภายในเรื่องนั้นๆ มีคลังข้อมูลเป็นของตนเอง องค์กรข่าวจะต้องทำศูนย์ข้อมูลหรือระบบฐานข้อมูลไว้อย่างเพียงพอและสะดวกต่อการใช้ประโยชน์ เมื่อมีข้อมูลข่าวและรายชื่อแหล่งข่าวจะต้องพัฒนาระบบฐานข้อมูลระบบเกี่ยวกับการสนับสนุนในเรื่องต่างๆ ซึ่งในยุคของดิจิทัล (Digital) การหาข้อมูลข่าวสารปัจจุบันเปิดกว้างโดยการใช้อินเทอร์เน็ต องค์กรพัฒนาฝ่ายสารสนเทศ (Information Technology) สามารถทำให้การหาข้อมูลจากแหล่งข่าวสะดวกและได้ข่าวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น รวมทั้งกระบวนการหาข้อมูล (Crowd-sourcing) และการสร้างนักข่าวพลเมือง (Citizen Journalist) การมีส่วนร่วมของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แหล่งข่าวกลุ่มนี้จะมีส่วนช่วยขุดคุ้ยและตรวจสอบข้อมูลต่างๆ

          3) ปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านแหล่งข่าว พบว่า แหล่งข่าวจากส่วนราชการไม่ยอมเปิดเผยข้อมูล พลังจากประชาชนผู้มีส่วนได้เสียยังไม่ส่งเสริมสนับสนุนเท่าที่ควร รวมทั้งแหล่งข่าวบางคนไม่กล้าเปิดเผยข้อมูลหากมีผลกระทบต่อตนเองและครอบครัว ในส่วนของแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านแหล่งข่าว มีวิธีการดังนี้ ใช้วิธีการมีปฏิสัมพันธ์กับแหล่งข่าว สร้างแหล่งข่าวจากผู้ที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้เสียผลประโยชน์ในสังคม โดยจะต้องร่วมกันสร้างความเชื่อมั่น สร้างความไว้วางใจให้สังคมรับรู้ว่าทั้งนักข่าวและองค์กรข่าวสามารถปกป้องผู้ให้ข้อมูลได้ด้วยการปกปิดที่มาของข่าวและผู้ให้ข้อมูล รวมทั้งนักข่าวจะต้องกระทำตนเป็นตัวอย่างของการเป็นคนดี ตรงไปตรงมา อยู่ในสังคมแบบเป็นที่ยอมรับของประชาชน  

          4) ปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านการป้องกันและแก้ไขการถูกฟ้องร้องดำเนินคดี พบว่า บางครั้งการทำข่าวประเภทนี้มีความเสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาทและนักข่าวก็ขาดการช่วยเหลือในด้านกฎหมายซึ่งไม่มีองค์กรหรือหน่วยงานใดๆ เข้ามาช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องเมื่อเกิดคดีความจากการทำงานข่าวเชิงสืบสวน ในส่วนของแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านการป้องกันและแก้ไขการถูกฟ้องร้องดำเนินคดี มีวิธีการดังนี้ ควรแก้ไขด้วยทักษะ (Skill) องค์กรข่าวจะต้องมีฝ่ายกฎหมายที่จะช่วยนักข่าวในเบื้องต้นและจะต้องมีข้อมูลเพื่อแจ้งให้กับนักข่าวทราบว่าการรายงานข่าวในลักษณะใดมีผลทำให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรข่าว ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นมากมายตามมา ผู้ที่เป็นบรรณาธิการจะต้องมีความรู้ทางด้านกฎหมาย ข่าวที่นำเสนอต้องรอบคอบ รอบด้าน เป็นเรื่องจริง และได้ให้ความเป็นธรรมกับผู้เกี่ยวข้อง ให้โอกาสทุกฝ่ายได้ชี้แจง ก่อนที่จะนำเสนอข่าวจะต้องมีการตรวจสอบหลายๆ ครั้งก่อนนำเสนอ และประการสำคัญคือการทำตามหน้าที่โดยสุจริตจะเป็นเกราะคุ้มกันในทุกๆ ด้านรวมทั้งหลายภาคส่วนควรร่วมกันจัดตั้งองค์กรหรือหน่วยงานอิสระเพื่อช่วยเหลือนักข่าวประเภทนี้เมื่อมีการถูกฟ้องร้องในกรณีที่ทำงานข่าวเพื่อสาธารณประโยชน์

          5) ปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านให้มีความปลอดภัยในชีวิตของนักข่าวและแหล่งข่าว พบว่า นักข่าวขาดการช่วยเหลือปกป้องในด้านความปลอดภัยในชีวิตของตัวนักข่าว ส่วนใหญ่นักข่าวจะต้องดูแลตนเอง ไม่มีองค์กรหรือหน่วยงานใดๆ เข้ามาดูแลในเรื่องความปลอดภัย ในส่วนของแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านให้มีความปลอดภัยในชีวิตของนักข่าวและแหล่งข่าว มีวิธีการดังนี้ เมื่อมีการเข้าในพื้นที่ ที่มีความเสี่ยงมากๆ จะต้องลงบันทึกประจำวันไว้กับสถานีตำรวจในพื้นที่นั้น เพื่อให้เป็นหลักฐานว่าเข้าในพื้นที่เพื่อทำงาน ส่วนเรื่องการป้องกันเรื่องรถยนต์ที่ใช้ทำงาน เรื่องการเดินทางจะต้องใช้รถที่ไม่มีเครื่องหมายแสดง ประการสำคัญการทำหน้าที่เพื่อประโยชน์สาธารณะโดยสุจริตตรงไปตรงมา เปิดเผย ไม่มีการกล่าวหาใครโดยเลื่อนลอย ไม่มีผลประโยชน์ใดๆ แอบแฝง พร้อมที่จะให้ทุกฝ่ายชี้แจง ไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของตัวเอง ความโด่งดัง ความอยากได้รางวัล ความอยากได้เอาข่าวเป็นเครื่องมือไปหาประโยชน์โดยมิชอบ อยู่ในกรอบจริยธรรม ศีลธรรมและไม่เรียกสินบนก็จะเป็นเกราะคุ้มกันการที่จะถูกประทุษร้ายได้ และสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการตีแผ่ความจริง การแสดงทัศนคติ การแสดงความจริงในสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ก็จะเป็นพลังสาธารณะที่จะทำให้เป็นเกราะคุ้มกันได้ และที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ นักข่าวประเภทนี้จะต้องมีคุณธรรม จริยธรรม จะต้องทำตนให้เป็นที่น่าเชื่อถือและจะต้องอยู่ในกรอบของการเป็นคนดี และประการสุดท้ายคือหลายภาคส่วนควรร่วมกันตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาช่วยเหลือเมื่อมีการถูกข่มขู่คุกคามเนื่องจากการทำหน้าที่ในงานข่าวเชิงสืบสวน

          6) ปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านแรงกดดันจากภายนอกต่อนักข่าวและองค์กรข่าว พบว่า แรงกดดันที่เกิดจากอำนาจรัฐ อิทธิพลทางธุรกิจจากกลุ่มของผู้ที่ถูกตรวจสอบทำให้ขาดรายได้จากการลงโฆษณา ในส่วนของแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านแรงกดดันจากภายนอกต่อนักข่าวและองค์กรข่าว มีวิธีการดังนี้ องค์กรข่าวที่มีต้นทุนต่ำเป็นองค์กรสาธารณะเป็นอีกรูปแบบหนึ่งขององค์กรข่าวที่ไม่มีแรงกดดัน รวมทั้งการเปิดพื้นที่ให้ทุกฝ่ายเข้ามาชี้แจงได้อย่างเต็มที่ และประการสำคัญหลายภาคส่วนควรรวมตัวกันเพื่อร่วมกันทำข่าวสืบสวนโดยผนึกกำลังให้เป็นวาระสาธารณะ เพื่อปกป้องประเทศโดยไม่ทำข่าวสืบสวนเพื่อผลทางธุรกิจ

          7) ปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้าน นโยบายของหน่วยงานองค์กรข่าว พบว่า องค์กรข่าวบางแห่งไม่เปิดพื้นที่ในการนำเสนอข่าวให้แก่นักข่าวเท่าที่ควรจะเป็น การจ่ายค่าตอบแทนให้นักข่าวไม่เหมาะสม อุปกรณ์เครื่องใช้ในการทำงานไม่พร้อมและขาดทีมงานช่วยเหลือในกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเหตุฉุกเฉินในส่วนของแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้าน นโยบายของหน่วยงานองค์กรข่าว มีวิธีการดังนี้ องค์กรที่ทำข่าวเชิงสืบสวนควรเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ เพื่อลดแรงกดดันจากทุกด้าน การทำข่าวประเภทสืบสวนสอบสวนต้องใช้ระยะเวลาในการทำงานและมีค่าใช้จ่ายสูง องค์กรข่าวจะต้องสนับสนุนให้นักข่าวมีเวลาในการทำงานด้านนี้โดยเฉพาะ ให้โอกาส ให้เวลาอย่างเหมาะสม ในส่วนขององค์กรข่าวที่จ่ายค่าตอบแทนแก่พนักงานต่ำก็จะต้องมีรางวัลและมีประกาศเกียรติยศให้เป็นการทดแทน และสิ่งที่สำคัญควรให้สังคมกระตุ้นเพื่อให้องค์กรข่าวเสียสละทำงานข่าวสืบสวนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ พร้อมทั้งช่วยเหลือหางบประมาณสนับสนุนงานด้านนี้ให้ทั่วถึง 

การพัฒนากระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน  

          การพัฒนากระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวนมีแนวทางซึ่งสามารถสรุปเป็นองค์ประกอบหลักในการพัฒนากระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวนได้ 4 หลักใหญ่ๆ ที่จะใช้เป็นแนวทางในการสื่อข่าวเชิงสืบสวนให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ดียิ่งขึ้นดังนี้คือ

          1.การสร้างนักข่าวพลเมือง (Citizen Journalist) เป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนากระบวนการทำข่าวเชิงสืบสวน ด้วยการสรรหาบุคคลที่เป็นนักข่าวสายพันธุ์ใหม่ให้ทำงานด้านนี้ซึ่งเป็นการสร้างนักข่าวพลเมืองเพียงเพื่อให้ทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลและตรวจสอบข้อมูล เนื่องจากการทำข่าวเชิงสืบสวนนี้นักข่าวพลเมือง เป็นหนึ่งในกระบวนการเพื่อให้ได้ผู้มีส่วนได้เสียเข้ามาร่วมกันเป็นแหล่งข่าวให้ข้อมูลและตรวจสอบข้อมูล ดังนั้นการสร้างให้นักข่าวพลเมืองมีความรู้เรื่องข่าวเชิงสืบสวนเพื่อที่จะทำให้เกิดพลังมวลชน (Crowd) มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยอาจทำเครือข่ายร่วมกับภาคเอกชนซึ่งเรียกว่า “นักข่าวพิเศษ” เมื่อมีข้อมูลนักข่าวพลเมืองก็จะส่งข้อมูลให้ ผู้ทำงานด้านข่าวเชิงสืบสวนก็จะสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในงานข่าวเชิงสืบสวนได้ ซึ่งเป็นการลดบทบาทปัญหาตัวแทนขององค์กรข่าวในต่างจังหวัดเพราะส่วนใหญ่ตัวแทนองค์กรข่าวไม่ได้สังกัดอยู่กับสำนักข่าวเพียงแห่งเดียว

          2.กระบวนการรวบรวมข้อมูล (Crowd-sourcing) เมื่อนำมาใช้ในการพัฒนากระบวนการทำข่าวเชิงสืบสวน ปัจจุบันนั้นทำได้ง่ายขึ้นโดยเฉพาะองค์กรข่าวจะต้องมี เฟซบุ๊ก (Facebook) จัดทำขึ้นเป็นเพจ (Page) เปิดพื้นที่โดยใช้คำคมๆ ในที่สุดก็จะมีการส่งข้อมูล (Share File) เกิดขึ้น ข้อมูลต่างๆ ก็จะถูกส่งเข้าในกล่องข้อความ (Inbox) ซึ่งมีประเด็นต่างๆ อีกมากมายเข้ามา กระบวนการรวบรวมข้อมูล จึงเริ่มขึ้น ในความคิดเห็นที่ส่งเข้ามานั้นอาจจะมีทั้งข้อมูลจริงและไม่จริงแต่สิ่งสำคัญก็คือการเกิดบรรดาแฟนพันธุ์แท้เข้ามาโดยที่นักข่าวไม่ต้องตามหาแหล่งข่าว

          3.วารสารศาสตร์เชิงข้อมูล (Database Journalism) ก็เป็นสิ่งที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง หากได้มีการประยุกต์ใช้ในงานข่าวเชิงสืบสวนด้วยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดการฐานข้อมูล (Database Manager) โดยการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ตรวจสอบยืนยันข้อมูล นำเสนอข้อมูลข่าวเชิงสืบสวน ดังนั้นวารสารศาสตร์เชิงข้อมูลในงานข่าวเชิงสืบสวนจึงเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานข่าวเชิงสืบสวนกับแนวทางอื่นๆ ซึ่งจะทำให้กระบวนการทำข่าวเชิงสืบสวนไปสู่จุดสำเร็จหรือจุดมุ่งหมายได้โดยง่าย

          4.การหลอมรวมสื่อ (Convergence) ปัจจุบันโลกได้มีการหลอมรวมสื่อ เข้าด้วยกันทำให้มีการตรวจสอบซึ่งกันและกัน จึงทำให้นักข่าวสามารถหาข้อมูลง่ายขึ้นซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุดเมื่อมีการบริหารข้อมูลจากแหล่งข้อมูลจำนวนมหาศาล (Big Data) วารสารศาสตร์เชิงข้อมูล นักข่าวพลเมือง กระบวนการรวบรวมข้อมูล และการหลอมรวมสื่อ เมื่อนำมาใช้ร่วมกันเพื่อการพัฒนากระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ก็จะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าแหล่งข่าว แหล่งข้อมูลนั้น ข้อมูลใดจริง ข้อมูลใดไม่จริง กระบวนการนี้จึงเป็นรูปแบบใหม่ของการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทำให้นักข่าวสะดวกในการหาแหล่งข้อมูล การตรวจสอบข้อมูล ยืนยันข้อมูลและการโต้ตอบได้ในทันทีทันใดกับประชาชนในสังคมผู้รับสาร

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

สายศิริ ด่านวัฒนะ (2548) ทำการศึกษาเรื่อง “การรายงานข่าวเชิงสืบสวนของหนังสือพิมพ์ไทย”

พบว่า ข่าวเชิงสืบสวนแยกได้เป็น 2 แนวทางคือ

          1. ข่าวที่มีเป้าหมายเพื่อขุดคุ้ย เปิดโปงการกระทำผิดต่างๆ ซึ่งมักเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่น 

          2. ข่าวที่มุ่งอธิบาย ให้ความรู้และปรับเปลี่ยนทัศนคติ ทั้งสองลักษณะมีความยาก ต้องใช้เวลาและทรัพยากรมาก จึงถือเป็นการสื่อข่าวขั้นสูง มีคุณค่าและความสำคัญ 4 ระดับคือ คุณค่าต่อสังคมและประเทศชาติ ต่อวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ต่อองค์กรหนังสือพิมพ์และต่อตัวนักข่าว กระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวนต่างจากการสื่อข่าวทั่วไป ตรงที่จะต้องมีการวางแผนคล้ายคลึงกับการทำงานวิจัย เริ่มตั้งแต่การสืบค้น ค้นคว้าหาข้อมูลหลักฐานจากเอกสาร (Paper Trail) จากบุคคล (Human Trail) และข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์ (Electronic Trail) การวิเคราะห์ เรียบเรียง ไปจนถึงการนำเสนออย่างต่อเนื่องและอาจมีการจัดกิจกรรมเสริมเพื่อขยายประเด็นและสร้างแนวร่วมทำให้การรายงานข่าวมีพลังยิ่งขึ้น

และยังพบอีกว่า ปัจจุบันมีการสื่อข่าวเชิงสืบสวนน้อยเกินไปแต่มีแนวโน้มที่จะมีคุณภาพดีขึ้น กล่าวคือมีข้อมูลและหลักฐานที่ชัดเจนและมีกระบวนการที่เป็นมาตรฐานสากลมากขึ้นหนังสือพิมพ์มีแนวโน้มที่จะร่วมมือกันในการสื่อข่าวเชิงสืบสวนมากขึ้นในบางกรณี เพื่อสร้างผลกระทบจากการเสนอข่าวพร้อมๆ กันและป้องกันการถูกคุกคามตอบโต้จากผู้เสียประโยชน์โดยลำพัง แต่ในอีกด้านหนึ่งพบว่า มีสภาพการแข่งขันกันในวงการหนังสือพิมพ์มากจนละเลยมารยาทหรือศักดิ์ศรีที่เคยยึดถือในอดีต จึงมีการทำ “ข่าวตาม” มากกว่า “ข่าวเดี่ยว” นอกจากนี้ การพัฒนาทางเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้เสน่ห์ของการรายงานข่าวเชิงสืบสวนของหนังสือพิมพ์ลดลง เพราะข้อมูลข่าวสารถูกนำเสนอผ่านวิทยุ โทรทัศน์และสื่อประเภทอื่นที่รวดเร็วกว่า จนอาจกล่าวได้ว่า หมดยุคของการสื่อข่าวสืบสวนแบบ “พระเอกคนเดียว”  ไปแล้ว ส่วนปัจจัยที่เป็น อุปสรรค ได้แก่ ความยากของงานที่ต้องการทักษะ ความรู้และประสบการณ์สูง ปัญหาความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง ปัญหาด้านจิตสำนึกอุดมการณ์และศักยภาพของนักข่าว การที่นักข่าวมีภาระงานมากไม่สามารถทุ่มเทให้กับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ปัญหาแบบแผนดั้งเดิมของการนำเสนอข่าวสารของหนังสือพิมพ์ที่เน้น “ข่าวขาย” และปัญหาแบบแผนดั้งเดิมในการเปิดรับข่าวสารของประชาชน ปัญหาองค์กรหนังสือพิมพ์ ไม่มีระบบสร้างแรงจูงใจที่ชัดเจนสำหรับนักข่าวให้เป็น “มือข่าวเจาะ” และการที่องค์การวิชาชีพยังไม่มีการส่งเสริมสนับสนุนที่ได้ผลและเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมสนับสนุน ควรเริ่มที่ตัวนักวิชาชีพและผู้ประกอบการหนังสือพิมพ์ ที่ต้องยึดมั่นในหน้าที่ของสื่อมวลชนร่วมกันโดยไม่แบ่งแยก กองบรรณาธิการต้องให้ความสำคัญเร่งสร้าง “มือข่าวเจาะ” รุ่นใหม่ และสร้างระบบจูงใจที่ดี องค์กรหนังสือพิมพ์ต้องทบทวนการทำงานและระบบการจัดการให้เท่าทันกับเทคโนโลยี และสภาพความซับซ้อนของปัญหาในสังคม องค์กรวิชาชีพควรแสวงหาความร่วมมือจากภายนอก เพื่อจัดระบบการส่งเสริมสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงความแตกต่างในแนวทางของหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ

สุชาดา จักรพิสุทธิ์ (2550) ได้ศึกษาเรื่อง “แนวทางการทำให้เกิดการเสนอข่าวเชิงสืบสวนในสื่อหนังสือพิมพ์” 

พบว่า ปัญหาของการสื่อข่าวเชิงสืบสวนนั้น มีตั้งแต่เรื่องของตัวบุคคล ศักยภาพของนักข่าว วัฒนธรรมการทำงานแข่งขัน ระดับคุณภาพและความเอาใจใส่ต่อการทำงาน อุดมคติความมุ่งมั่นของนักข่าวเอง ซึ่งสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจในงานข่าวเชิงสืบสวน และแยกไม่ออกจากความสำคัญของนโยบายกองบรรณาธิการ การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน การมีระบบฝึกฝนหล่อหลอม ตลอดจนปณิธานความเข้มแข็งขององค์กรหนังสือพิมพ์ ในการเผชิญกับอำนาจคุกคามและความสามารถในการต่อรองกับธุรกิจการตลาด ในขณะเดียวกัน สังคมจะต้องเรียนรู้ถึงสิทธิการสื่อสาร การรู้เท่าทันสื่อ การใช้ระบบสื่อสารสาธารณะเป็นส่วนหนึ่งในปฏิบัติการทางสังคม และสุดท้ายคือระบบสนับสนุนทั้งจากภายในและภายนอกระบบสื่อทั้งคนในวงการวิชาชีพและคนนอกวงการที่สนใจบทบาทของสื่อมวลชน ยอมรับถึงปัญหาและจุดอ่อน ที่ทำให้สื่อหนังสือพิมพ์ไม่สามารถทำหน้าที่อย่างมีพลังได้ และแม้แต่ตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องมีการผลักดันร่วมมือจากภาคประชาสังคมและภายนอกสื่อ รวมถึงการสร้างกลไกให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างเป็นจริง 

ธีรธนา  ขุนทอง (2550) ได้ศึกษาเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนของหนังสือพิมพ์ข่าวสด : กรณีศึกษาข่าวเพชรซาอุฯ และข่าวการตายของนายห้างทอง ธรรมวัฒนะ” 

พบว่า กระบวนการในการสื่อข่าวเชิงสืบสวนของหนังสือพิมพ์ข่าวสด ในทั้ง 2 กรณีศึกษานั้น มีขั้นตอนการทำข่าวที่เหมือนกันสามารถสรุปได้ 5 ขั้นตอนดังนี้

         1. การคัดประเด็นและทิศทางการนำเสนอข่าว

         2. การวางแผนการทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน

         3. การค้นหาข้อมูลจากแหล่งข่าว

         4. การตรวจสอบข้อมูล

         5. การนำเสนอข้อมูล

          ซึ่งในการคัดประเด็นและทิศทางการนำเสนอข่าวจากกรณีศึกษาทั้ง 2 กรณี พบว่ามีการพิจารณาประเด็นโดยคำนึงถึงหลักของคุณค่าความเป็นข่าว ดูว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ในความสนใจของประชาชน คดีข่าวเพชรซาอุฯ เป็นข่าวอาชญากรรมที่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศซาอุดิอาระเบีย อีกทั้งผู้กระทำความผิดคือตำรวจซึ่งถือเป็นผู้ที่มีอิทธิพล ทำให้ต้องมีการวางแผนในการทำงาน โดยคัดเลือกทีมงานที่มีความรู้ มีความชำนาญ และมีประสบการณ์ เพื่อที่จะทำให้เข้าถึงแหล่งข่าวได้ง่าย เนื่องจากนักข่าวที่มีคุณสมบัติดังกล่าวจะรู้เทคนิค และมีความสนิทสนม คุ้นเคยกับแหล่งข่าวเป็นอย่างดี ทำให้แหล่งข่าวเกิดความไว้วางใจ และยอมเปิดเผยข้อมูล แหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องในกรณีศึกษานี้ พบว่าสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

          1)  แหล่งข่าวประเภทบุคคล ประกอบด้วย แหล่งข่าวเปิดและแหล่งข่าวปิด

          2) แหล่งข่าวประเภทพยานหลักฐานและเอกสารต่างๆ เช่น จดหมาย หนังสือราชการ รวมทั้งแหล่งข่าวจากการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

นอกจากนี้ยังพบว่า เมื่อได้ข้อมูลมาจากแหล่งข่าวต้องทำการตรวจสอบข้อมูลซ้ำอีกครั้งหนึ่ง จากแหล่งข่าวที่ตนเองรู้จักหรือแหล่งข่าวที่มีความอาวุโสกว่าแหล่งข่าวที่ให้ข้อมูลมาเพื่อป้องกันความผิดพลาด หลังจากที่ได้ตรวจสอบข้อมูลแล้วจึงนำข้อมูลทั้งหมดเผยแพร่สู่สาธารณชน

          การวางแผนสื่อข่าวเชิงสืบสวนคือการคัดเลือกทีมข่าวที่มีความชำนาญ มีประสบการณ์ ใช้เทคนิค รู้วิธีการเข้าถึงแหล่งข่าว 

          ปัญหาที่พบคือผู้กระทำผิดที่เป็นผู้มีอิทธิพลทำให้แหล่งข่าวไม่กล้าที่จะให้ข้อมูลเนื่องจากเกรงกลัวต่ออิทธิพลและภยันตรายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมา

ทัศชยันต์ วาหะรักษ์ (2554)ได้ศึกษาเรื่อง “เทคนิคการรายงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนของหนังสือพิมพ์แนวประชานิยม”  

พบว่า  หนังสือพิมพ์แนวประชานิยมใช้ข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้อ่านเลือกซื้อหนังสือพิมพ์ แต่การรายงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนทำได้ยาก เพราะมีปัจจัยควบคุมหลายอย่าง ส่วนเรื่องที่หนังสือพิมพ์นำมาเสนอในลักษณะข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน ต้องเป็นเรื่องที่กระทบกับคนจำนวนมาก  เทคนิคและวิธีการในการรายงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนมี 4 ขั้นตอน ดังนี้

          1. การคิดและกำหนดประเด็น แยกเป็น 2 กรณีได้แก่ การต่อยอดจากข่าวที่นำเสนอปกติคือการขยายความจากข่าวที่เป็นกระแสในเวลานั้น และการสร้างข่าวคือการนำเสนอประเด็นข่าวที่เกิดจากการสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัว 

          2. การรวบรวมข้อมูล โดยการสอบถามจากแหล่งข่าวบุคคล การค้นคว้าจากแหล่งข่าวเอกสารและการสังเกตจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

          3. การนำเสนอข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนโดยกำหนดประเด็นให้มีความต่อเนื่อง ใช้ภาษาหวือหวาแต่เข้าใจง่าย และเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

          4. การประเมินผลภายหลังการนำเสนอข่าวโดยการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นภายหลังการนำเสนอข่าวเพื่อนำข้อมูลนั้นไปนำเสนอข่าวต่อ   

แนวทางในการรายงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนโดยการนำเสนอเรื่องใกล้ตัวผู้อ่านเรื่องที่กระทบคนส่วนใหญ่ เรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นและผิดกฎหมายมีเนื้อหาต่อเนื่องครอบคลุมทุกประเด็นและใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย

มนตรี จุ้ยม่วงศรี (2558) ได้ศึกษาเรื่อง “พัฒนาการข่าวยอดเยี่ยมรางวัลมูลนิธิอิศรา อมันตกุล กับการกำหนดบทบาทและแนวทางในการรายงานข่าวเชิงสืบสวนเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชัน” 

พบว่า ปัจจัยที่ทำให้ข่าวเชิงสืบสวนเพื่อต่อต้านการทุจริตมีจำนวนลดลงถึงคุณภาพของข่าว เป็นผลมาจากการถูกแทรกแซงการทำงานทั้งอำนาจรัฐและอำนาจทุนส่งผลทำให้หนังสือพิมพ์หลายฉบับต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายการบริหารงานใหม่ ลดทอนบทบาทการทำข่าวทุจริตลง เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มีผลกระทบทางธุรกิจ รวมถึงการเลือกข้างสนับสนุนฝ่ายการเมืองเพื่อความอยู่รอดขององค์กรและในขณะที่ธุรกิจสื่อยุคเปลี่ยนผ่านจากสื่อเก่าไปเป็นสื่อใหม่ สำนักข่าวออนไลน์และทีวีดิจิตอลเกิดขึ้นมากมาย ทำให้การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนมีการแข่งขันสูงโดยเฉพาะเรื่องความเร็ว ทำให้มักเน้นทำข่าวตามกระแส ในความสนใจของประชาชนเพื่อผลประโยชน์จากเม็ดเงินโฆษณาเป็นสำคัญ รวมไปถึงศักยภาพของนักข่าวรุ่นใหม่ ที่ยังขาดประสบการณ์ในการทำข่าวเชิงสืบสวน ทั้งการหาประเด็นข่าว เทคนิคและวิธีการที่ใช้ในการสืบค้นข้อมูลและเอกสารหลักฐานประกอบ  และประการสำคัญพบว่าข่าวเชิงสืบสวนมีความสำคัญต่อประเทศชาติอย่างมาก เป็นกลไกสำคัญในการตรวจสอบปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันได้อย่างดี

มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา (2558)ได้ศึกษาเรื่อง “สื่อเชิงสืบสวนในทีวีดิจิตอลช่องข่าวสารและสาระ”  

พบว่า จากการศึกษาทีวีดิจิตอลช่องข่าวสารและสาระทั้ง 7 ช่อง นั้นพบว่าส่วนใหญ่การนำเสนอผลงานสื่อเชิงสืบสวนยังไม่ถึงขั้นคลี่คลายปมหรือขุดคุ้ยสืบค้นถึงต้นเหตุได้ โดยสามารถสรุปผลการศึกษาและลักษณะสำคัญ ของข่าวเชิงสืบสวนที่พบได้ดังนี้  

          1. มีสัดส่วนการนำเสนอรายงานเชิงสืบสวนค่อนข้างน้อยโดยช่อง Spring News เป็นช่องที่พบรายงานเชิงสืบสวนตามเกณฑ์ที่กำหนดมากที่สุดตามด้วย Nation Channel , ช่อง Bright TV  และช่อง TNN24 แต่ไม่พบรายงานเชิงสืบสวนในช่อง Voice TV, New TV และ Thai TV  

          2. นำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบหรือการทุจริตมากที่สุดแต่ไม่พบรายงานเชิงสืบสวนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางการเมือง

          3. เลือกนำเสนอเรื่องราวแบบจบในตอนเป็นหลักโดยเฉพาะในรายการข่าวเชิงสืบสวน อย่างไรก็ตามสำหรับเรื่องที่มีจำนวนหลายตอนก็อาจเป็นไปในลักษณะการตัดแบ่งเรื่องราวเพื่อนำเสนอ มากกว่าการติดตามประเด็นความคืบหน้า

          4. มีลักษณะการสืบค้นที่สำคัญคือ

                   1) เน้นทำหน้าที่เป็นปากเสียงของประชาชนให้พื้นที่แหล่งข้อมูลเชิงบุคคลที่เป็นกลุ่มผู้เสียหายได้รับผลกระทบมากกว่าคู่กรณี

                   2) เน้นเดินเรื่องตามคำบอกเล่าของแหล่งข่าว โดยใช้เอกสารหลักฐานเป็นเพียงส่วนประกอบ 

          5. เน้นบทบาทในการอธิบายขยายความมากกว่าการเปิดโปง

          6. มุ่งตรวจสอบกลุ่มอำนาจมากกว่าหนึ่งกลุ่มแต่มักเป็นการตรวจสอบผู้ใช้อำนาจในระดับปฏิบัติการ และในภาพรวมยังไม่สามารถที่จะขุดค้นและนำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงออกมาได้อย่างลึกซึ้ง

Stetka, Vaclav, and HenrikÖrnebring. (2013) ได้ศึกษาเรื่อง “Investigative Journalism in Central and Eastern Europe Autonomy, Business  Models, and Democratic Roles.”  

การศึกษาในครั้งนี้ศึกษาการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ใน 9 ประเทศในภูมิภาคยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก

พบว่า การสื่อข่าวเชิงสืบสวนทั่วทั้งภูมิภาคมีความอ่อนแอ ขาดอิสรภาพ และมีอุปสรรค แต่มีความแข็งแกร่งมากกว่าในประเทศที่มีตลาดสื่อที่มีความมั่นคงมากกว่า และยังพบว่าในบางประเทศ เช่น โรมาเนียและบังแกเลีย แหล่งข่าวที่เป็นออนไลน์ (news online sources) มีบทบาทสำคัญมากขึ้นในฐานะผู้จัดหาข้อมูลให้ใช้ในการสื่อข่าวเชิงสืบสวน

Ismail, Adibah, HjSydZin, and HjSyd Abdul Rahman.(2009) ได้ศึกษาเรื่อง Evaluating the state of investigative journalism in Malaysia from practitioners’ perspectives.

พบว่า การสื่อข่าวเชิงสืบสวน คือแขนงวิชาใหม่ในด้านวารสารศาสตร์ แต่การปฏิบัติในแต่ละประเทศจะแตกต่างกันไป ซึ่งผู้ปฏิบัติงานด้านสื่อกำลังโต้แย้งกันว่า การสื่อข่าวเชิงสืบสวน ควรนำไปใช้ในทางปฏิบัติหรือไม่  ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้ จึงได้พยายามค้นหา การปฏิบัติงานการสื่อข่าวเชิงสืบสวนในประเทศมาเลเซีย จากมุมมองของผู้ปฏิบัติงานด้านสื่อ งานวิจัยนี้ ใช้การสัมภาษณ์เชิงปริมาณเพื่อประเมินความเข้าใจต่อบทบาทของการสื่อข่าวเชิงสืบสวนและอุปสรรคในการปฏิบัติงานในประเทศมาเลเซีย ผู้เข้าร่วมการศึกษาประกอบไปด้วยบรรณาธิการและผู้สื่อข่าวจำนวน 8 คน จากองค์กรสื่อสิ่งพิมพ์ 4 แห่ง งานวิจัยนี้พบว่า ผู้ปฏิบัติงานด้านสื่อในประเทศมาเลเซียมีความเข้าใจต่อการสื่อข่าวเชิงสืบสวน แต่พวกเขาต้องปรับแนวทางปฏิบัติให้เข้ากับสภาพแวดล้อมด้านสื่อของประเทศ ผู้เข้าร่วมศึกษาส่วนใหญ่ชอบปฏิบัติตามกฎและข้อบังคับของรัฐบาล  กฎขององค์กรและกฎของตนเอง ด้วยเหตุนี้ การศึกษานี้จึงพบว่าพวกเขาชอบตรวจสอบประเด็นเกี่ยวกับผู้บริโภคและมักไม่ค่อยยุ่งเกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง

Yusha’u, Muhammad Jameel. (2009)  ได้ศึกษาเรื่อง “Investigative journalism and scandal reporting in the Nigerian press.”

พบว่า นักข่าวชาวไนจีเรีย มีความเข้าใจถึง การสื่อข่าวเชิงสืบสวนในระดับปานกลาง อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่เห็นด้วยที่จะนำการรายงานข่าวเชิงสืบสวนไปใช้ในทางปฏิบัติและผล โดยยังพบว่า ระบบอุปถัมภ์นิยม (Clientelism) คือรูปแบบหนึ่งของแนวทางการปฏิบัติด้านการรายงานข่าวและเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ขัดขวางการนำการรายงานข่าวเชิงสืบสวนไปใช้ในทางปฏิบัติ การศึกษาครั้งนี้ยังได้พบอุปสรรคที่มีต่อการนำการสื่อข่าวเชิงสืบสวนไปใช้เพื่อเปิดเผยคดีการทุจริต อุปสรรคดังกล่าวได้แก่ การจ่ายผลตอบแทนการทำงานที่ไม่ดีหรือไม่เหมาะสม สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ดี การทุจริตภายในองค์กรสื่อและความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองและสำนักพิมพ์

Feldstein, Mark.(2006) ได้ศึกษาเรื่อง “A muckraking model investigative reporting cycles in American history.”

พบว่า การสื่อข่าวเชิงสืบสวนถือว่าเป็นพลังที่สำคัญของระบอบประชาธิปไตย เพราะใช้ตรวจสอบการกระทำผิดทางการเมืองและนโยบายภาครัฐ แต่ในช่วงศตวรรษหลังจากประธานาธิบดีแห่งอเมริกาได้เริ่มใช้คำว่า “การฉ้อราษฎร์บังหลวง” ขึ้นนั้น การสื่อข่าวก็ถือว่าเป็นวัฏจักรที่มีความเกี่ยวข้องในทางการเมือง ในขณะที่การศึกษามากมายได้มุ่งเน้นถึงผลกระทบของการสื่อข่าวเชิงสืบสวน แต่ยังพบว่ามีการศึกษาเรื่องนี้น้อยมากที่จะศึกษาถึงสาเหตุและไม่พบว่าการศึกษาใดที่วิเคราะห์และอธิบายถึงรูปแบบของการพัฒนาการสื่อข่าวเชิงสืบสวน การศึกษานี้ใช้วิธีการดั้งเดิมโดยติดตามการฉ้อราษฎร์บังหลวงในอดีตของอเมริกา และนำเสนอทฤษฎีที่สำรวจจากการเปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลา 250 ปีที่ผ่านมารูปแบบการฉ้อราษฎร์บังหลวงอิงกับอุปสงค์และอุปทาน แนวคิดนี้ได้ตรวจสอบมุมมองที่สำคัญของการบรรจบกันระหว่างสื่อมวลชนและนักการเมือง ซึ่งอาจทำให้มีคุณค่าต่อการศึกษาในอนาคต

จัดการความรู้

การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ (Information) ที่เกี่ยวข้อง

แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับวารสารศาสตร์และบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน   

ความหมายและคุณลักษณะของวารสารศาสตร์

           มาลี บุญศิริพันธ์ (2556, น. 3-5)ได้อธิบายคำว่า “วารสารศาสตร์” ไว้ดังนี้วารสารศาสตร์ (Journalism) มาจากคำที่ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ทรงประทานไว้แต่เดิม หมายถึงวิชาการเกี่ยวกับการหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นสื่อมวลชนเก่าแก่ที่เกิดก่อนสื่อมวลชนประเภทอื่นๆ มีความหมายค่อนข้างเฉพาะ หมายถึงกระบวนการรายงานข่าว การตีความ การวิเคราะห์ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวสารเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้าน เพื่อนำเสนอทางสื่อมวลชนอย่างทันทีทันใด โดยให้ความสำคัญในเรื่องของการทันต่อเหตุการณ์ รวดเร็ว เที่ยงตรง และถูกต้อง ซึ่งวารสารศาสตร์เป็นงานที่ต้องทำแข่งกับเวลาขณะที่เหตุการณ์อาจจะยังดำเนินอยู่ ดังนั้น การสื่อข่าวจึงต้องเน้นการจับประเด็นเรื่องที่จะนำเสนอให้ถูกต้อง รวดเร็ว กระชับ และได้ใจความ เพื่อสนองความอยากรู้ด้านข่าวสารของผู้อ่าน“การเขียนทางวารสาร” จึงหมายถึง การเขียนเรื่องหรือเหตุการณ์ที่กำลังอยู่ในกระแสความสนใจของประชาชนในรูปแบบที่กระชับ ใช้ภาษาเข้าใจง่าย สื่อความได้รวดเร็วและชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเขียนข่าวจะมีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์ที่ยึดปฏิบัติกันเป็นสากล คือให้ความสำคัญต่อการใช้ภาษา ไม่เจตนาสร้างจินตนาการแทรกอารมณ์ในการสื่อข่าวนั้น หลักการเขียนข่าวจึงเป็นคุณลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากงานเขียนประเภทอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการอยู่ในอาชีพของการเป็นสื่อสารมวลชนที่ดี

ความหมายและคุณลักษณะของการสื่อสารมวลชน

          อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ (2550, น. 5) ได้อธิบายความเป็นมาของความหมายคำว่า การสื่อสารมวลชน (Mass communication) ไว้ว่า ในระยะเริ่มแรกของการบัญญัติศัพท์ คณะกรรมการบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานได้รับเอาคำว่า การสื่อสารมวลชน มาใช้กับคำว่า Mass communication ซึ่งกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์เป็นผู้เสนอ โดยนำเอาคำว่า การสื่อสาร  (Communication) มารวมกับคำว่า มวลชน (Mass) หมายถึง คนจำนวนมากๆ การสื่อสารมวลชนจึงหมายถึง สื่อสารไปสู่มวลชน ต่อมากระทรวงศึกษาธิการได้บัญญัติศัพท์คำว่า “สื่อมวลชน” ขึ้นเป็นคำที่ตรงกับคำว่า Mass Media  ซึ่งเป็นการย่อจากคำว่า สื่อในการสื่อสารมวลชน หรือ Medium / Media of communication จนปัจจุบันมีการใช้คำว่า “สื่อมวลชน” กันอย่างแพร่หลายโดยหมายถึง ช่องทางการสื่อสารประเภทต่างๆ เช่น สื่อหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ภาพยนตร์ วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น

          มอริส จาโนวิทซ์ (Morris Janowitz, 1968) ได้กล่าวถึงคุณลักษณะของการสื่อสารมวลชนไว้ว่า การสื่อสารมวลชนประกอบด้วยสถาบันหรือองค์กรที่ใช้เทคนิคโดยกลุ่มคนที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยี ส่งเนื้อหาที่เป็นสัญลักษณ์ (Symbolic content) ไปสู่ผู้รับสารที่มีขนาดใหญ่ที่มีความแตกต่างกันและอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย

 ชาร์ลส์ อาร์ ไรท์ (Charies R. Wright, 1975) ได้ให้ความหมายว่า การสื่อสารมวลชนคือการสื่อสารที่มุ่งไปสู่ผู้รับสารจำนวนมาก ซึ่งมีความแตกต่างกัน และไม่เป็นที่รู้จักของผู้ส่งสาร สารถูกส่งไปยังประชาชนทั่วไปเพื่อให้ถึงประชาชนผู้รับสารได้รวดเร็วในเวลาเดียวกัน และสารนั้นมีลักษณะที่ไม่ยั่งยืน โดยอาศัยสื่อมวลชนเป็นสื่อ ผู้ส่งสารมักจะเป็นหรือดำเนินกิจการภายใต้องค์การที่สลับซับซ้อนซึ่งมีค่าใช้จ่ายมหาศาล

มาลี บุญศิริพันธ์ (2556, น. 3) ได้ให้ความหมายของ “การสื่อสารมวลชน” ว่าคือกระบวนการเผยแพร่ข่าวสารความคิดและทัศนคติผ่านทางสื่อมวลชนไปถึงมวลชนซึ่งเป็นกลุ่มคนขนาดใหญ่กำหนดจำนวนแน่นอนไม่ได้ ผู้รับสารมีคุณลักษณะหลากหลาย แตกต่างกันทั้งภูมิหลัง ความรู้ การศึกษา เศรษฐกิจ สถานะทางสังคม

คุณลักษณะของกระบวนการสื่อสารมวลชน

กิติมา สุรสนธิ (2548, น. 111-112) ได้สรุปไว้ในหนังสือ “ความรู้ทางการสื่อสาร” ถึงคุณลักษณะของกระบวนการสื่อสารมวลชนไว้ดังนี้คือ 

             1. ผู้ส่งสารในกระบวนการสื่อสารมวลชนจะมีลักษณะที่ทำเป็นอาชีพ ซึ่งทำหน้าที่รวบรวมผสมผสานเนื้อหาเพื่อเสนอให้กับมวลชน ตามวัตถุประสงค์ต่างๆ กัน ผู้ส่งสารอาชีพเหล่านี้ ได้แก่ ผู้ชำนาญการ (Specialists) ซึ่งมีอาชีพประจำอยู่ในอุตสาหกรรมการสื่อสาร (Communication Industry) เช่น นักข่าว บรรณาธิการ ผู้ผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ ฯลฯ เป็นต้น

            2. ข่าวสาร (Message) ของการสื่อสารมวลชน จะถูกแพร่กระจายออกไปด้วยวิธีการที่รวดเร็วและต่อเนื่อง (Rapid and Continue) โดยผ่านทางระบบกลไกของสื่ออันได้แก่  สื่อสิ่งพิมพ์ (Print Media) เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร และสื่อที่ใช้ไฟฟ้า (Electronic Media) เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เป็นต้น ซึ่งในแง่ของข่าวสารในสื่อมวลชนจะมีประเด็นสำคัญคือ

                          ความรวดเร็ว (Rapid) ข่าวสารที่ถูกส่งออกไปหมายถึง ความสำเร็จที่สื่อมวลชนสามารถนำสารผ่านระยะทาง (Distance) และช่วงเวลา (Time) ไปยังผู้รับสารได้อย่างทันทีทันใด ในกรณีของสื่อไฟฟ้า เช่น วิทยุ โทรทัศน์

                          ความต่อเนื่อง (Continue) การสื่อสารมวลชนมักจะส่งหรือถ่ายทอดข่าวสารโดยใช้หลักของการกำหนดเวลา (Schedule) มากกว่าที่จะเป็นแบบตามสะดวก เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสารรายสัปดาห์ รายปักษ์ หรือรายเดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิทยุและโทรทัศน์จะเห็นได้ชัดเจน ส่วนหนังสือและภาพยนตร์แม้จะมีลักษณะความเป็นประจำ (Regularly) น้อยกว่าอย่างอื่นแต่ยังคงความต่อเนื่องที่ผู้ผลิตเสนอผลงานออกสู่มวลชน           

              3. ผู้รับสารของการสื่อสารมวลชน จะมีจำนวนมากและมีลักษณะหลากหลาย (Numerous and Diverse) หรือที่เรียกว่า มวลชน (Mass Audience) ซึ่งมีความแตกต่างกันในเรื่องคุณลักษณะทางด้านประชากร และไม่เป็นที่รู้จักของผู้ส่งสาร (Anonymous)

ความหมายและความสำคัญของการสื่อข่าว

          “การสื่อข่าว” ตรงกับความหมายในภาษาอังกฤษว่า News Reporting แต่ส่วนใหญ่ในวงการสื่อสารมวลชนมักใช้คำว่า “Reporting” ซึ่งความหมายของการสื่อข่าว ได้มีนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้

              มาลี บุญศิริพันธ์ (2538, น. 28-29)  ได้ให้ความหมายคำว่า “การสื่อข่าว” ไว้ใน หนังสือหลักการทำหนังสือพิมพ์เบื้องต้น หมายถึงการแสวงหารวบรวมข้อเท็จจริงจากเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปมานำเสนอเป็นขั้นตอนที่ผู้สื่อข่าวพยายามให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่จะรายงานในหนังสือพิมพ์ ต้องอาศัยทักษะ การฝึกฝนและการเสริมสร้างประสบการณ์ให้มีความคล่องตัวและรวดเร็ว ความเข้าใจในคุณลักษณะของข่าว เป็นเรื่องพื้นฐานที่จะทำให้ผู้สื่อข่าวสามารถวินิจฉัยเหตุการณ์ได้เร็วขึ้น สามารถหยิบประเด็นเหตุการณ์ที่เป็นข้อเท็จจริงน่าสนใจ มารายงานอย่างถูกต้องครบถ้วน การสื่อข่าวประกอบด้วยวิธีการหลายวิธี ซึ่งล้วนเป็นเทคนิควิธีที่จะให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริง และข้อมูลที่ถูกต้องในการรายงาน เพื่อให้การสื่อข่าวหรือการรายงานข่าวมีประสิทธิภาพสูงขึ้น คุณสมบัติของผู้สื่อข่าวเองก็เป็นหลักสำคัญเบื้องต้นที่จะเอื้ออำนวยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผลมากยิ่งขึ้น

แนวคิดเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สื่อข่าว

             ผู้สื่อข่าวก็เป็นเช่นเดียวกับวิชาชีพอื่นๆ ที่จะต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานบางประการที่เป็นลักษณะร่วมของวิชาชีพต่างๆ และต้องมีคุณสมบัติบางอย่างซึ่งเป็นคุณลักษณะเฉพาะวิชาชีพคุณสมบัติของผู้สื่อข่าวที่สำคัญ ได้แก่ (นรินทร์ นำเจริญ, 2549, น. 110-124) 

                     1.ต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นนักสื่อสารมวลชน (Spirit of Journalism)หมายถึง ต้องมีสำนึกทางวิชาชีพในการต่อสู้เพื่อรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ สภาวะของมนุษย์ที่ไร้ศักดิ์ศรีคือ สภาวะที่ไม่มีเสรีภาพ ไม่สามารถใช้ความคิด ไม่สามารถใช้เหตุผล สภาวะที่ไม่มีเสรีภาพคือ สภาวะที่ขาดจิตวิญญาณ การจะต่อสู้เพื่อเสรีภาพ เพื่อความถูกต้อง ก็โดยใช้ความคิดอย่างมีเหตุผล (Rational Thinking) ถ้าไม่ใช้ความคิด ไม่ต่อสู้เพื่อความถูกต้อง ยอมตกอยู่ใต้อำนาจมืดบางอย่าง ก็เท่ากับว่าคนนั้นขาดจิตวิญญาณแห่งความเป็นนักการสื่อสารมวลชน และเป็นผู้ที่ไม่มีเกียรติในการดำรงชีวิตอยู่ นอกจากนี้นักการสื่อสารมวลชนจะต้องมีหลักการของตนเอง (A man of Principle) และไม่ยอมทำลายหลักการนั้น เราจะต้องถามตัวเราเองว่า เรามีหลักการอะไร เรามาเป็นนักการสื่อสารมวลชนเพื่ออะไร เราจะต่อสู้เพื่อคนยากจน เราจะต่อสู้เพื่อเด็กด้อยโอกาส เราจะต่อสู้กับนักการเมืองที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง เราจะต่อสู้กับความไม่รู้ของคนในสังคม เราจะต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม  เราต้องตอบกับตัวเราเอง เราต้องพยายามหาหลักการของเราเองให้ได้

                     2.ความอยากรู้อยากเห็น (Curiosity)สิ่งจำเป็นต่อการประสบความสำเร็จของผู้สื่อข่าวก็คือ ความอยากรู้อยากเห็น ผู้สื่อข่าวต้องมีความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับทุกอย่าง ซึ่งได้ยินหรือเคยอ่าน จะต้องมีความอยากรู้อยากเห็นกับคนที่ติดต่อพูดคุยด้วย เกี่ยวกับสิ่งที่คิดหรือรู้สึก ต้องมีความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ ถึงสาเหตุและผลลัพธ์ที่อาจเป็นไปได้ เป็นต้นว่าก่อนเริ่มงานในแต่ละวัน เมื่อผู้สื่อข่าวอ่านหนังสือพิมพ์ฉบับเช้าแล้ว ความอยากรู้อยากเห็นก็จะถูกกระตุ้นให้พิจารณาความเกี่ยวพันว่าอะไรเกิดขึ้นในอำเภอ จังหวัด ประเทศ และทุกๆ ที่ในโลก คำถามจะเกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติในใจของผู้สื่อข่าว ถึงความเกี่ยวพันกับอะไรบางอย่างที่เห็น ได้ยินและอ่านว่า “ทำไม” เพื่อที่จะตอบคำถามเหล่านี้ ผู้สื่อข่าวก็จะพยายามเสาะหาเพื่อให้หยั่งรู้ถึงความหมายของสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น โดยการเชื่อมโยงสิ่งเหล่านี้เข้ากับสิ่งที่รู้ดีอยู่แล้ว กล่าวโดยสรุปความอยากรู้อยากเห็นจะกินความรวมถึงความปรารถนาที่จะค้นหาคำอธิบายที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังการกระทำต่าง ๆ ของบุคคล

                     3.จมูกไวต่อข่าว (Nose for News) เป็นความสามารถในการเห็นคุณค่าของข่าวอย่างรวดเร็วฉับพลันและประเมินคุณค่าของสิ่งนั้น เป็นคุณสมบัติที่จำเป็นอีกประการหนึ่งสำหรับการรวบรวมข่าว เป็นความสามารถที่จะเลือกเหตุการณ์จากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่มีมากมายที่ผู้อ่านสนใจ สามารถนำเสนอได้อย่างน่าสนใจ บางครั้งมีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่า ความสามารถในเรื่องของจมูกไวต่อข่าว (Nose for News) นี้เป็นเรื่องของพรสวรรค์ที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด มิใช่จากการฝึกฝน อย่างไรก็ดี คำกล่าวนี้ไม่ได้รับการยอมรับนักสื่อสารมวลชนมีการโต้เถียงกันเสมอว่าผู้สื่อข่าวไม่สามารถประสบความสำเร็จจากพรสวรรค์นั้น แต่ต้องมาจากการฝึกฝนจึงจะเป็นนักสื่อมวลชนมืออาชีพได้ เหมือนดังที่ โจเซฟ พูลิตเซอร์ (Joseph Pulitzer) นักการหนังสือพิมพ์ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ริเริ่มการทำข่าวเชิงสืบสวนได้เคยกล่าวไว้ว่า “ความเชื่อที่ว่าเราจะประสบความสำเร็จได้โดยอาศัยความสามารถที่ติดตัวมาแต่เกิดเป็นความคิดที่โง่เขลามาก (Idiot) คนทุกคนต้องอาศัยการฝึกฝน ไม่ว่าจะฝึกที่บ้าน ฝึกที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ฝึกโดยผู้มีประสบการณ์หรือที่อื่นๆ ก็ตาม”  แม้ว่า จมูกไวต่อข่าว (Nose for News) บางครั้งจะถูกพูดกันในแง่ของความลึกลับของประสาทสัมผัสที่หก โดยนักการหนังสือพิมพ์ซึ่งมีโดยสัญชาตญาณในแง่การรู้ถึงคุณค่าของข่าว แต่ก็มักจะรวมความไปถึงความอยากรู้อยากเห็น การเตรียมพร้อมของจิตใจ ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ และจินตนาการ ที่จะทำให้เห็นคุณค่าว่าอะไรคือสิ่งสำคัญที่คนทั่วไปชอบอ่าน คนที่ไม่มีความสามารถในเรื่องของจมูกไวต่อข่าว (Nose for News) มักจะใช้ความคิดของตนเองเป็นศูนย์กลาง พวกเขาจะไม่สนใจคนหรือเหตุการณ์ เขาจะไม่อ่านหนังสือพิมพ์เป็นนิสัยเพื่อค้นคว้าว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้นในโลกนี้ อย่างไรก็ดี การได้มาซึ่งจมูกไวต่อข่าว (Nose for News) พวกเขาจำเป็นต้องพัฒนาความสนใจในตัวของบุคคลต่าง ๆ และเหตุการณ์ต่างๆ ต้องสร้างจินตนาการให้ตระหนักถึงคนอื่นๆ ว่าสนใจในสิ่งไหน ต้องมีความกระตือรือร้นอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับทุกๆ ขั้นตอนของชีวิตเกี่ยวกับตัวของเขาเอง

                     4.จินตนาการ (Imagination)การทำงานของผู้สื่อข่าวจะมีความเกี่ยวพันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงมากกว่าเรื่องที่แต่งขึ้น ในขณะที่นักเขียน นวนิยายหรือผู้เขียนบทละครจะมีความเกี่ยวพันกับเรื่องราวที่เป็นจินตนาการมากกว่า จึงทำให้คิดไปว่าผู้สื่อข่าวจะใช้จินตนาการไม่ได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกนัก จริงอยู่แม้ผู้สื่อข่าวจะไม่ได้สร้างตัวละครและโครงเรื่องขึ้นมาเอง แต่เขาก็จำเป็นต้องสามารถประกอบเรื่องหรือเชื่อมโยงเรื่องราวต่างๆ โดยใช้จินตนาการจากสิ่งที่ปรากฏขึ้นโดยที่เขาไม่ได้เห็นจริงๆ ให้เรื่องราวดำเนินไปโดยให้ร้อยเรียงกัน นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวต้องอาศัยจินตนาการเพื่อเข้าใจประสบการณ์และแรงดลใจของบุคคลในข่าว จึงจะสามารถเขียนภาพของเหตุการณ์ออกมาได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ต้องใส่จินตนาการเข้าไปในความคิดและความรู้สึกของบุคคลว่าเหตุการณ์นี้เกี่ยวกับใคร และใครที่กำลังเขียนถึง การพยายามที่จะไม่ใส่จินตนาการของผู้สื่อข่าว โดยรายงานแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏเท่านั้น จะทำให้ข่าวเป็นแต่เพียงการนำข้อเท็จจริงมาเรียงต่อๆกัน ขาดการเชื่อมโยงให้เห็นเรื่องราวต่างๆ ที่ซ่อนเร้นอยู่ลึกลงไปในข้อเท็จจริงเหล่านั้น

                     5.มีความรู้กว้างขวาง (Wide range of knowledge)อาชีพผู้สื่อข่าวจำเป็นจะต้องอาศัยความรู้ที่กว้างขวาง ผู้สื่อข่าวที่ดีควรรู้บางสิ่งของทุกๆ สิ่ง (Know something about everything) ทางที่ดีที่สุด ที่จะทำให้ได้มาซึ่งความรู้ก็โดยการลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยตลอดทั้ง 4 ปี ซึ่งก็อาจจะรวมตั้งแต่ประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา จิตวิทยา วิทยาศาสตร์ ภาษาและวรรณคดี ฯลฯ โดยนำความรู้เหล่านี้มาฝึกฝนและประยุกต์ให้เข้ากับหลักสูตรสาขาการสื่อสารมวลชน จะเป็นการเตรียมการที่ดีต่อการรายงานข่าว ในการทำงานแต่ละวันของสื่อมวลชน ผู้สื่อข่าวจะถูกเรียกให้ไปรวบรวมข่าวที่มีความเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ที่หลากหลาย ซึ่งแต่ละข่าวก็อาจต้องใช้ความรู้พิเศษ  เพื่อที่จะได้ข่าวจากศาลากลางจังหวัด ผู้สื่อข่าวจำต้องรู้บางอย่างเกี่ยวกับการปกครองของเทศบาล เพื่อที่จะรวบรวมข่าวเกี่ยวกับการประชุมสัมมนาทางวิทยาศาสตร์ ก็ต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ การที่จะไปสัมภาษณ์นักเขียน นวนิยาย ต้องมีความรู้ที่เกี่ยวกับวรรณกรรมหรือวรรณคดีด้วย การรายงานเหตุการณ์เกี่ยวกับการค้าและการอุตสาหกรรม ก็ต้องเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวกับการเงิน แรงงานและเงื่อนไขทางธุรกิจ การที่จะดึงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเงิน เศรษฐกิจ ถึงสาเหตุที่ทำให้ธุรกิจตกต่ำหรือเลิกจ้างงาน ก็ต้องรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์  การผลิต การจำหน่าย และการบริโภคเพราะว่าสื่อมวลชนส่วนใหญ่อุทิศทุ่มเทเวลาความสนใจไปที่เรื่องของการปกครองและกฎหมาย ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระหว่างประเทศ ผู้สื่อข่าวจำต้องมีความรู้เกี่ยวกับรัฐศาสตร์ ทั้งในแง่ของทฤษฎีและปฏิบัติจริง มีประเด็นทางการเมืองมากมายที่ถูกนำเสนอในปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากทางด้านเศรษฐกิจ เช่น เรื่องเกี่ยวกับอัตราภาษี การช่วยเหลือเกษตรกร เงินทุนช่วยเหลือคนชรา มาตรฐานของการดำเนินชีวิต การประกันการตกงาน การดำเนินธุรกิจแบบสายโซ่ (Chain Stores) การเปิดสาขาของธนาคารและจัดเก็บภาษี เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับทั้งทางด้านเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์ นอกจากนี้จะต้องมีความเข้าใจทั้งทางด้านจิตวิทยาบุคคล และจิตวิทยาสังคมอีกด้วย เพื่อที่จะเข้าใจในปัญหาทางเศรษฐกิจและการเมืองการปกครองได้ ความเชื่อมั่นมากเกินไปในการลงทุนทางธุรกิจอย่างรวดเร็ว และขาดความเชื่อมั่นกับการตกต่ำทางธุรกิจ เป็นปัจจัยทางจิตวิทยา ซึ่งจะต้องถูกพิจารณาในการอธิบายถึงวัฏจักรทางธุรกิจ และความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก็จะมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขทางการผลิต การเกษตรกรรมและการแพทย์ ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญที่จะอธิบายสิ่งเหล่านี้ มีความผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายในการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน ปัญหาสำคัญของผู้สื่อข่าวเป็นผลมาจากการขาดความรู้ ความผิดพลาดที่เกิดจากการขาดความรู้นี้ไม่เพียงแต่ ทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดเท่านั้น แต่ยังทำให้ประชาชนขาดความเชื่อถือในสื่อมวลชนอีกด้วยเพื่อรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ในโลก ผู้สื่อข่าวควรอ่านหนังสือพิมพ์ที่มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงนิตยสารรายสัปดาห์ รายเดือน หนังสือที่ออกเป็นวาระพิเศษต่างๆ อยู่เสมอนี้ เพื่อเป็นการเตรียมตัวที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำในการทำงาน หากว่าผู้สื่อข่าวไม่รู้ว่าอะไรเกิดขึ้นในเมืองและในโลกอันกว้างใหญ่ เขาก็ยังไม่พร้อมที่จะทำหน้าที่รวบรวมข่าว

                    6.มีความคิดที่ชัดเจน (Clear Thinking)กระบวนการในการรวบรวมข่าวเป็นมากกว่าการรวบรวมวัตถุดิบ ยังรวมไปถึงการค้นหาข้อเท็จจริง การกรอง การประเมินคุณค่า และการจัดระเบียบของข้อมูลตามเหตุผล บ่อยครั้งที่ข้อเท็จจริงจำต้องมีการตีความด้วย ถ้ามีความสำคัญที่จะต้องสร้างหลักฐานให้กับผู้อ่าน ขั้นตอนเหล่านี้ต้องการความชัดเจน การคิดอย่างมีเหตุผล และการตัดสิน ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้เกิดขึ้น ผู้สื่อข่าวไม่สามารถนำเสนอหรือไว้วางใจในหลักฐานที่ได้มาจากประจักษ์พยานและผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ หลักฐานคำอธิบายต่างๆ ซึ่งได้รับอย่างมากมายจากพยานก็มักจะมีความแตกต่างกันออกไป ผู้สื่อข่าวจะต้องมีการเปรียบเทียบกรณีต่างๆ ที่หลากหลายเหล่านี้กับเหตุการณ์ซึ่งรวบรวมได้มาจากผู้ที่เห็นเหตุการณ์และต้องพยายามผูกโครงเรื่องของเหตุการณ์ให้ใกล้กับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นที่สุด  ความรู้ของผู้สื่อข่าวในเชิงจิตวิทยาจะนำไปสู่การตัดสินใจได้ว่าน้ำหนักมากเพียงใดที่ประจักษ์พยานหรือผู้เกี่ยวข้องจะสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆได้ เปรียบได้กับผู้สื่อข่าวอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ต่างจากผู้พิพากษาที่นั่งอยู่บนบัลลังก์ และฟังพยานหลักฐานจากทั้ง 2 ฝ่ายแล้วก็ตัดสินมนุษย์จำเป็นต้องรู้ให้มาก แต่ถ้าเขาไม่สามารถประยุกต์ความฉลาดหรือความรู้ที่เขามีได้ ความรู้ของเขาก็มีคุณค่าน้อยมาก (A man may know much, but, if he cannot apply intelligently what he know, his knowledge is of little value) ความสำเร็จของการรวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงที่เขาได้มากับสิ่งที่เขารู้มาก่อนหน้านี้แล้วและตัดสินอย่างถูกต้องครบถ้วนในการนำเสนอต่อผู้อ่านอีกด้วยความคิดที่ชัดเจนเป็นพื้นฐานของการเขียนที่ดี ผู้สื่อข่าวจำต้องมีความสามารถในการเลือก การจัดระเบียบ และการเชื่อมโยงวัตถุดิบของเขา เพื่อให้เรื่องที่นำเสนอทั้งหมดเชื่อมโยงเป็นเรื่องเดียวกัน งานที่คิดน้อยหรือความคิดยังสับสน ไม่มีพื้นที่อยู่ในหนังสือพิมพ์ที่มีการจัดการที่ดี โจเซฟ พูลิตเซอร์ (Joseph Pulitzer) เคยกล่าวไว้ว่า “คิดอย่างถูกต้อง คิดอย่างรวดเร็ว คิดอย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดยั้ง คิดอย่างเอาจริงเอาจัง เป็นการเปิดโอกาสให้กับการทำข่าว นี่คือเคล็ดลับความสำเร็จในการสื่อข่าว”

                  7.มีความสามารถด้านการเขียน (Ability to write well)หากผู้สื่อข่าวไม่สามารถเขียนข่าวที่รวบรวมมาได้อย่างชัดเจนและน่าสนใจ ความพยายามของเขาก็เป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์อะไร  ผู้รับสารจะไม่รู้สึกว่าอยากอ่าน ฟัง หรือชม ข่าวที่ไม่น่าสนใจหรือเข้าใจยาก ความสำเร็จในการเขียนข่าวขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้สื่อข่าวในการเลือกคำที่ถูกต้องที่จะแสดงความคิดเห็นได้อย่างแน่นอนว่าเขาได้พูดอะไร และขึ้นอยู่กับการจัดระบบของถ้อยคำเหล่านี้ให้เป็นระเบียบที่ดีที่สุด ถ้าเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง แต่ถ้าจำเป็นจริงๆ ก็ควรต้องอธิบายความหมายของคำเหล่านี้ด้วย เพราะว่าหนังสือพิมพ์ต้องถูกอ่านอย่างรวดเร็ว คำทุกคำจึงควรถูกจัดอยู่ในประโยคอย่างมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างชัดเจน และสามารถเข้าใจได้ทันที ที่มองผ่านสายตาในรอบแรก การเขียนเชิงวารสารศาสตร์ควรเขียนอย่างง่าย ๆ เพื่อให้ผู้อ่านทั่ว ๆ ไปเข้าใจได้ ถ้าผู้สื่อข่าวไม่สามารถเขียนให้ง่ายและดีได้ ก็เป็นเรื่องยากมากที่จะประสบความสำเร็จในวิชาชีพทางด้านการสื่อสารมวลชนได้

                 8.มีสำนึกรับผิดชอบ (A Sense of Responsibility)ผู้สื่อข่าวใหม่บางส่วนอาจรู้สึกว่าสิ่งที่เขาทำหรือวิธีการที่เขาทำไม่ใช่เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากนัก ยกเว้นในกรณีที่ผลกระทบต่อเขาหรือความสำเร็จของเขาอย่างทันทีทันใด ผู้สื่อข่าวมักไม่ตระหนักว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เขียนอาจมีผลกระทบต่อความคิดและอุดมคติของผู้อ่านหลายพันคนหรือหลายแสนคน  การทำงานด้านข่าวผู้สื่อข่าวทุกคนจะต้องมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายอย่างดีที่สุด การทำงานของสื่อมวลชนเป็นการทำงานที่แข่งกับเวลา ถ้าขาดความรับผิดชอบต่องาน โดยไม่ได้ทำหรือทำอย่างถูกๆ ผิดๆ และหวังว่าจะให้คนอื่นๆ มาช่วย จะทำให้องค์กรทั้งหมดได้รับผลกระทบ ผู้สื่อข่าวที่ขาดความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย ไม่สามารถคาดหวังถึงความมั่นคงหรือความก้าวหน้าทางวิชาชีพได้ ผู้สื่อข่าวจะต้องรู้สึกกับตัวเองเสมอว่าต้องเป็นผู้ชำนาญการที่จะต้องทำงานให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในฐานะที่สถาบันสื่อสารมวลชนเป็นสถาบันสาธารณะและผู้อ่านก็คือลูกค้า ผู้สื่อข่าวจะต้องแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่องานให้มากที่สุดเท่าที่จะมีอยู่ในตัวเองออกมาให้ได้

                9.ความถูกต้องแม่นยำ เที่ยงตรง (Accuracy)หมายถึงการที่ผู้สื่อข่าวจะต้องรวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงที่ได้รับมอบหมายให้ได้มากที่สุดทุกรายละเอียดในการเขียนข่าว ความไม่ใส่ใจทำให้การรายงานข่าวเป็นไปอย่างไม่ถูกต้อง เรามักจะได้ยินประโยคเช่นนี้เสมอว่า “มันเป็นแค่ข่าวเท่านั้น” และ “เราไม่สามารถเชื่อทุกสิ่งทุกอย่างที่เห็นในสื่อมวลชนในปัจจุบัน” ความผิดพลาดในการนำเสนอข่าวทำให้ความเชื่อถือของผู้รับสารต่อสื่อมวลชนค่อยๆ ลดลงไป เพราะคนที่รู้ความจริงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สามารถบอกได้ว่าข้อเท็จจริงที่นำเสนอในข่าวนั้นถูกต้องหรือไม่ บรรณาธิการและผู้ตรวจแก้ต้นฉบับไม่สามารถที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดทั้งหมดของผู้สื่อข่าวที่ขาดความรับผิดชอบได้ ผู้สื่อข่าวจะต้องตระหนักถึงความรับผิดชอบในการทำงาน เพราะสาธารณชนย่อมมีสิทธิ์ที่จะคาดหวังต่อความถูกต้องครบถ้วนของข่าวในสื่อมวลชน สิ่งที่ผิดพลาดเสมอในการนำเสนอข่าวคือความถูกต้องของชื่อและที่อยู่ของผู้เป็นข่าว ซึ่งอาจสะกดผิดหรือฟังมาผิด ผู้สื่อข่าวจะต้องสอบถามการสะกดชื่อให้ดี เพื่อที่จะได้ไม่เขียนชื่อที่คล้ายคลึงกันของผู้เกี่ยวข้องหรืออาจมีการตรวจสอบจากแหล่งข่าวอื่นๆ ถ้าเป็นกรณีที่เกี่ยวกับบุคคลที่มีชื่อเสียง อาจหาข้อมูลเพิ่มเติมโดยค้นจากประวัติในหนังสือห้องสมุดหรือบนระบบอินเทอร์เน็ต แม้ว่าความรวดเร็วจะเป็นสิ่งจำเป็น แต่ก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะนำมายกโทษให้กับการขาดความระมัดระวังในการรวบรวมข้อมูลที่ไม่ถูกต้องได้ ต้องมีเวลาเสมอสำหรับการตรวจเช็คชื่อ ที่อยู่และรายละเอียดอื่นๆ ที่ถูกต้องในองค์สื่อสารมวลชนจำนวนมากที่มีการจัดการที่ดีจะเรียกร้องให้ผู้สื่อข่าวต้องเขียนข้อความในลักษณะ “ชื่อและที่อยู่ได้รับการตรวจสอบแล้ว” หรือ “ชื่อ…สะกดถูกต้องแล้ว” ไว้มุมบนของกระดาษที่เขียนข่าว ข่าวที่มีปัญหาเรื่องความถูกถ้วนเสมอ ได้แก่ ข่าวสุนทรพจน์ ข่าวสัมภาษณ์ ข่าวศาล และข่าวที่เกี่ยวกับการพูดอื่นๆ เพราะปกติเนื้อหาข่าวลักษณะนี้จะยาว จำเป็นต้องทำให้สั้นลงและเข้มข้นขึ้น การรายงานข่าวประเภทนี้โดยทั่วไปจะประกอบด้วยการยกคำพูดของแหล่งข่าวโดยตรงในเครื่องหมายคำพูด และส่วนที่เป็นข้อสรุปของข้อเท็จจริง ไม่เพียงแต่จะต้องตรวจสอบการยกคำพูดมานำเสนอ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมให้ถูกต้องแล้ว เนื้อหา น้ำเสียง และแก่นเรื่องของการพูดเหล่านี้จะต้องถูกต้องด้วย อาจดูเป็นเรื่องที่ง่ายมาก แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ง่ายเลย ที่จะนำคำพูดเหล่านี้มาประกอบกันเสนอเป็นข่าว สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษคือ แม้ข้อเท็จจริงหรือการยกคำพูดแต่ละส่วนย่อยจะถูกต้อง แต่เมื่อนำมาประกอบเป็นเรื่องราวใหม่แล้ว หลายครั้งปรากฏว่าน้ำเสียงและแก่นของเรื่องราวทั้งหมดเปลี่ยนไป ยิ่งถ้าเป็นเอกสารทางราชการที่มีความสำคัญหรือคำพูดสุนทรพจน์ของบุคคลสำคัญที่มีชื่อเสียงเพียงไร ยิ่งต้องการ การรายงานข่าวที่ถูกต้องมากขึ้นเพียงนั้น

               10.ความสามารถในการทำงานได้อย่างรวดเร็ว (Ability to Work Rapidly)ข่าวจำเป็นต้องถูกรวบรวม เขียน ตรวจแก้ไขต้นฉบับ ตัดต่อภาพหรือเสียง และนำเสนอออกมาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ การตกแต่งต้นฉบับจะต้องคำนึงถึงข้อมูลล่าสุด นอกจากนี้ยังต้องทำงานแข่งขันกับสื่อมวลชนแขนงอื่น ๆ อีกด้วย ผู้สื่อข่าวจะต้องคิดอย่างรวดเร็ว ตัดสินใจอย่างรวดเร็ว กระทำอย่างรวดเร็ว และเขียนอย่างรวดเร็ว การรู้ว่าจะได้ข่าวจากที่ไหนและอย่างไรจึงจะได้ข่าวดีที่สุด เป็นสิ่งที่ช่วยอย่างต่อเนื่องเท่านั้นที่จะทำให้เขาคิดและเขียนขึ้นได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี หากความรวดเร็วนั้นจะต้องมีความเสี่ยงต่อความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล บรรณาธิการข่าวที่ดีโดยทั่วไปก็มักไม่เลือกเสี่ยงที่จะนำเสนอ

               11.มีความคิดริเริ่มและปฏิภาณไหวพริบ (Initiative and Resourcefulness) แม้ว่าผู้สื่อข่าวบางคนจะทำงานอย่างรอบคอบ ระมัดระวัง ถูกถ้วน และทำงานอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยากที่จะเป็นผู้สื่อข่าวระดับแนวหน้าได้ หากขาดความคิดริเริ่มและปฏิภาณไหวพริบที่ดี พวกเขาอาจจะทำงานอย่างต่อเนื่องนับแรมปี แต่ก็อาจเข้าไม่ถึงสิ่งสำคัญยิ่งกว่าในประเด็นข่าว การทำข่าวใหม่ๆ ให้ได้ภายในกำหนดเวลา (Dead line) เป็นเครื่องวัดความสามารถของผู้สื่อข่าวคนนั้น ความรวดเร็วของการใช้ปัญญาความคิดของผู้สื่อข่าว ซึ่งมีความอยากเห็นเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาเห็น ได้ยิน ได้อ่าน จะทำให้เขาสามารถหลีกหนีจากการรายงานข่าวประจำวันที่ซ้ำซาก การแสดงถึงความคิดริเริ่ม ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดการพัฒนาข่าวทุกข่าวที่ได้รับมอบหมาย ยังรวมไปถึงการค้นหาสืบเสาะข่าวจากทุก ๆ ที่ แม้ว่าจะเป็นงานในหน้าที่หรือไม่ก็ตาม

               12.มีความวิริยะอุตสาหะ (Perseverance) การทำงานข่าวเป็นงานที่ยากลำบากและ ท้าทาย ผู้เสียหายอาจไม่ต้องการให้ข่าว ผู้กระทำความผิดพยายามทำลายหลักฐาน เรื่องบางเรื่องอาจหาพยานหลักฐานยาก ผู้สื่อข่าวอาจถูกข่มขู่ เวลาของการทำงานข่าวไม่แน่นอน สิ่งต่างๆ เหล่านี้ หากผู้สื่อข่าวไม่มีความวิริยะอุตสาหะก็ยากยิ่งที่จะสามารถรวบรวมข่าวที่สมบูรณ์ได้

               13.มีความสามารถในการสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับคนอื่น (Ability to Establish and Maintain Personal Contacts) การทำงานข่าวเป็นงานที่ต้องอาศัยการติดต่อและสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นตลอดเวลาเพราะผู้สื่อข่าวมีหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากคนหลายๆฝ่าย ดังนั้นหากผู้สื่อข่าวไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนฝ่ายต่างๆ จะทำให้เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการทำงานข่าว

               14.มีความสุภาพ อ่อนน้อม รู้จักกาลเทศะ (Courtesy) ผู้สื่อข่าวมักจะถูกวิพากษ์วิจารณ์เสมอว่าเย่อหยิ่ง ก้าวร้าว ไม่รู้จักกาลเทศะ แม้จะไม่เป็นความจริงสำหรับผู้สื่อข่าวทั้งหมด แต่ด้วยวิชาชีพที่ผู้สื่อข่าวพยายามตอกย้ำกับตัวเองตลอดเวลาว่า ผู้สื่อข่าวคือผู้รักษาความเป็นธรรมหรือเป็นผู้ให้ความรู้กับสังคม จึงทำให้ผู้สื่อข่าวจำนวนมากทำงานข่าวอย่างเย่อหยิ่งและไม่รู้จักกาลเทศะ ผู้สื่อข่าวบางรายเข้าไปสัมภาษณ์แหล่งข่าวตามสถานที่ราชการโดยใส่เสื้อยืดและรองเท้ายาง ทั้งพูดจาด้วยกิริยาก้าวร้าว ลักษณะเช่นนี้ทำให้แหล่งข่าวตีความว่าเป็นการไม่ให้เกียรติและอาจทำให้แหล่งข่าวปฏิเสธการให้สัมภาษณ์ และทั้งจะทำให้วิชาชีพผู้สื่อข่าวถูกมองในแง่ไม่ดี ผู้สื่อข่าวควรตระหนักเสมอว่าวิชาชีพของตนนั้นไม่ใช่เป็นสถาบันเดียวที่รักษาความเป็นธรรมหรือให้ความรู้กับสังคม และบ่อยครั้งที่สื่อมวลชนเองเป็นผู้ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น สื่อมวลชนต้องไม่ลืมว่าต้นทุนการผลิตสื่อที่สำคัญที่สุดคือ ความไว้วางใจของสังคมที่มีต่อสื่อ

              15.มีความเชื่อมั่นหรือมั่นใจในตนเอง (Self Confident)  ผู้สื่อข่าวจะต้องทำงานอยู่ท่ามกลางข้อมูลที่หลากหลาย ท่ามกลางบุคคลมากมายหลายสถานะ ดังนั้นถ้าผู้สื่อข่าวไม่มีความเชื่อมั่นในตนเองจะถูกชักจูงด้วยข้อมูลหรือบุคคลที่ดูเสมือนว่าจะน่าเชื่อถือให้สับสนได้ง่าย อย่างไรก็ดีความมั่นใจในตนเองนี้ไม่ได้หมายถึงความเย่อหยิ่งหรือก้าวร้าว ผู้สื่อข่าวสามารถมีความอ่อนน้อมถ่อมตนในขณะเดียวกันกับที่เขามีความเชื่อมั่นในตนเองได้  

บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน

มาลี บุญศิริพันธ์ (2556, น. 5-12) ได้อธิบายถึงบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน ไว้ใน  หนังสือวารสารศาสตร์เบื้องต้น ปรัชญาและแนวคิดว่า สื่อมวลชนในแต่ละสังคมจะมีบทบาทหน้าที่อย่างใด ขนาดไหน ย่อมขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคม ระบบสังคม ระบบการเมืองการปกครอง และระบบเศรษฐกิจของสังคมแต่ละแห่ง สื่อมวลชนในประเทศที่มีระบบการปกครองแบบสังคมนิยมหรือระบบคอมมิวนิสต์จะมีบทบาทหน้าที่เสรีภาพด้านข่าวสารอย่างหนึ่ง ในขณะที่สื่อมวลชนในสังคมเสรีประชาธิปไตยจะมีบทบาทหน้าที่ต่างออกไป เพราะระบบการเมืองเป็นพื้นฐานสำคัญในการสะท้อนถึงบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในแต่ละประเทศ ตามทฤษฎีสื่อสารมวลชน (Four theories of the press) ของซีเบิร์ต, พีเทอร์สัน และชแรมม์ (Siebert, Peterson, and Schramm) ได้จัดรูปแบบสื่อมวลชนของเป็น 4 ระบบ ที่สะท้อนถึงนโยบายการใช้สื่อมวลชนตามบริบทการเมือง 4 ประเภท ตามตารางที่ 2.1 ได้แก่

              1.โซเวียตคอมมิวนิสต์ (Soviet Communist)

              2.อิสรภาพนิยม (Libertarian)

              3.ความรับผิดชอบทางสังคม (Social Responsibility)

              4.อำนาจนิยม (Authoritarian)

ระบบการเมืองการควบคุมนโยบายการใช้สื่อประเทศที่ใช้ระบบ
1. โซเวียตคอมมิวนิสต์ (Soviet Communist)รัฐบาลและพรรคคอมมิวนิสต์เน้นการถ่ายทอดลัทธิคอมมิวนิสต์ระดมให้ประชาชนสนับสนุนรัฐและสร้างเสริมรสนิยมทางวัฒนธรรมของมวลชนโซเวียตและประเทศคอมมิวนิสต์
2. อิสรภาพนิยม(Libertarian)รัฐบาลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเน้นเสรีภาพทางความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของสาธารณะประเทศในยุโรปตะวันตก และในทวีปอเมริกาเหนือบางประเทศ
3. ความรับผิดชอบทางสังคม (Social Responsibility)องค์กร หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อสาธารณะเน้นการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนเป็นเวทีแสดงความคิดเห็นในประเด็นปัญหาต่างๆของสังคม หลีกเลี่ยงเรื่องที่เป็นพิษภัยร้ายแรงต่อสังคมสหรัฐอเมริกา และประเทศแองโกล อเมริกันอื่นๆ
4. อำนาจนิยม(Authoritarian)สาธารณชน องค์กรเอกชน ที่ขึ้นต่อรัฐไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ใช้ระบบเซ็นเซอร์เนื้อหา/รายการประเทศในยุโรปสมัยแรกๆ ประเทศในโลกที่สาม

                                                                                              ตารางแสดงระบบสื่อมวลชน 4 ประเภท ตามทฤษฎีของซีเบิร์ต, พีเทอร์สันและชแรม

              ตามตารางจะเห็นได้ว่านอกจากระบบการเมืองการปกครองจะเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความแตกต่างในการประยุกต์ใช้ปรัชญาวารสารศาสตร์ให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมแล้ว ระดับการพัฒนาประเทศ ฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม ระดับการศึกษาของประชาชนในแต่ละประเทศยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ปรัชญาวารสารศาสตร์ให้บรรลุเป้าหมายได้มากน้อยอย่างไรด้วย ไม่ว่าปรัชญาวารสารศาสตร์ของสื่อมวลชนในกลุ่มประเทศโลกใด อยู่ในบริบทด้านใดก็ตาม ระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตยได้รับการพิสูจน์จนเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นระบบการเมืองที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพที่สุดในบรรดาทฤษฎีการเมืองทั้ง 4 ระบบ หากจะอนุมานการผสมผสานระหว่างทฤษฎีอิสรภาพนิยมกับทฤษฎีความรับผิดชอบ สื่อมวลชนในสังคมประชาธิปไตยได้รับการคาดหวังอย่างเต็มกำลังจากสังคมให้ทำหน้าที่สื่อกลางเป็นปากเสียงแทนประชาชน เพื่อสื่อสารข่าวสารระหว่างรัฐบาลกับประชาชนที่เป็นเจ้าของประเทศตัวจริง ในความคาดหวังดังกล่าว สื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการทำหน้าที่เสมือนหนึ่งสุนัขเฝ้าบ้านคอยสอดส่องดูแล เฝ้าระวัง ตรวจสอบ ประกาศ ร้องป่าว รายงานผลการทำงานของรัฐบาลตามกติกาที่ตกลงกับประชาชนในกระบวนการประชาธิปไตยรวมทั้งคอยสอดส่องระแวดระวังไม่ให้มีสิ่งไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นในสังคมได้ พร้อมที่จะรายงานแจ้งเหตุดีเหตุร้ายให้ผู้อ่านได้รับรู้อย่างทันการณ์ เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสหาทางแก้ไขได้ทันท่วงที สื่อมวลชนในระบอบประชาธิปไตยจึงถูกกำหนดให้ทำหน้าที่ดังนี้

              1) รายงานข่าวสารความเคลื่อนไหวในสังคม (To Inform)

              2) เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ในสังคม (To Give Opinion)

              3) ให้ความผ่อนคลายด้วยสาระบันเทิงแก่ผู้อ่าน (To Entertain)

              4) เป็นสื่อกลางโฆษณาสินค้าให้ผู้บริโภคมีทางเลือก (To Advertise)

โดยหน้าที่ดังกล่าวทั้ง 4 หน้าที่นั้น หนังสือพิมพ์ถือว่าเป็นสื่อมวลชนเก่าแก่ทรงประสิทธิภาพในการทำหน้าที่ตรวจสอบองค์กรของรัฐได้เต็มที่เพราะเป็นสื่อมวลชนชนิดเดียวที่มีระบบการบริหารเป็นอิสระปลอดจากการก้าวก่ายควบคุมจากอำนาจรัฐ ทั้งในรูปแบบการบริหารองค์กร กระบวนการรายงานข่าว การลงทุนทางเศรษฐกิจ กล่าวโดยสรุปคือ หนังสือพิมพ์เป็นธุรกิจประเภทเดียวที่ดำเนินการโดยเอกชน ลงทุนโดยเอกชน และบริหารงานโดยเอกชน ซึ่งตามหลักการแล้วควรปราศจากการแทรกแซงทั้งในเชิงธุรกิจและการบริหารจากรัฐบาล ดังนั้นบทบาทสุนัขเฝ้าบ้านของสื่อสารมวลชนจึงสามารถทำหน้าที่ตรวจสอบภาครัฐได้อย่างอิสระและชอบธรรม  

บทบาทหน้าที่ของสื่อดิจิทัล

    สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ (2559) ได้ประกาศใช้ธรรมนูญสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ปี พ.ศ.2559 เกี่ยวกับข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์  เมื่อวันที่  28 กรกฎาคม พ.ศ.2559 พร้อมได้ให้ความสำคัญของคำว่า สื่อดิจิทัล (Digital Media) โดยมีการระบุไว้ในธรรมนูญสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ปี พ.ศ.2559 ข้อ 3 ว่า “หนังสือพิมพ์” หมายถึง หนังสือพิมพ์ตามธรรมนูญสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ.2540 ข้อ 3 ซึ่งรวมถึงสื่อดิจิทัลของหนังสือพิมพ์นั้นๆ ด้วย และได้ให้ความสำคัญกับ “ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อดิจิทัล” โดยมีระบุไว้อย่างชัดเจนต่อด้วยว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์” หมายถึง ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ตามธรรมนูญสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ.2540 ข้อ 3 ซึ่งรวมถึงผู้ประกอบวิชาชีพสื่อดิจิทัลของหนังสือพิมพ์นั้นๆ ด้วย

            ธาม เชื้อสถาปนศิริ (2558) นักวิชาการสถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.) ก็ได้กล่าวไว้ในเว็บไซต์ข่าว http://www.rsutv.tv/?p=26854 ซึ่งเป็นทีวีแห่งมหาวิทยาลัยรังสิตและตีพิมพ์ในกรุงเทพธุรกิจฉบับวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ไว้ว่า “ในธุรกิจของนักข่าวคือการแสวงหาความจริงและทางเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นกับคนทำสื่อซึ่งองค์กรสื่อจำเป็นต้องเร่งพัฒนาสำหรับคนทำข่าวซึ่งมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนต้องมีการเร่งปรับปรุงหลักสูตร คือทักษะดังนี้

              (1) Multi Skill, Multimedia, One Man Journalism : นักข่าวต้องมีทักษะในการสืบค้นหาข่าว การบันทึกภาพ การตัดต่อวิดีโอ การเขียนและเรียบเรียงและการตีพิมพ์เผยแพร่นำเสนอโดยที่นักข่าวจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนให้สามารถทำงานโดยการลดจำนวนคนทำงานและขั้นตอนการทำงานให้สั้นและใช้ทรัพยากรที่น้อยที่สุดได้ จากนักข่าวหนึ่งคนจะต้องทำเป็นทุกอย่างทั้งช่างภาพ ตัดต่อ ผู้สื่อข่าว ช่างเทคนิค รีไรเตอร์ และตรวจสอบข่าวด้วยตัวเอง

              (2) Digital Skill and Thinking : วันนี้ข้อมูลข่าวสารนักข่าวมีโอกาสและความสามารถที่จะเข้าถึงแหล่งข้อมูลและแหล่งข่าวนั้นได้ง่าย ทักษะที่จำเป็นคือการขุดคุ้ย (Mining) การรวบรวม(Collecting) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) การพิสูจน์ความถูกต้อง (Check and prove) การคัดสรร (Curating) การนำเสนอแบบภาพและกราฟิก (visualizing) และการคิดแบบดิจิทัลที่ไม่คำนึงถึงข้อจำกัดเรื่องพื้นที่และเวลาอีกต่อไป

              (3) Transmedia-Story Telling : ทักษะการเล่าเรื่องข้ามสื่อ นักข่าวจะต้องสามารถที่จะทำให้ตัวเนื้อหาสารนั้นส่งตรงไปถึงมือปลายทางผู้รับสารให้มากและตรงที่สุด ซึ่งพฤติกรรมผู้รับสารวันนี้ไม่ได้ใช้สื่อเพียงช่องทางเดียว แต่ใช้สื่อเคลื่อนที่จากโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์โทรคมนาคมพกพามากมาย ดังนั้น เนื้อหาสื่อที่ผลิตออกไปจึงจำเป็นต้องมีวิธีการออกแบบการเล่าเรื่องนั้นๆ ให้น่าสนใจและเหมาะสมกับคุณลักษณะของเนื้อหา

              (4) Decode and Encode Script : นักข่าวต้องสามารถอ่านโค้ด การถอดรหัสโปรแกรมและภาษาคอมพิวเตอร์ ทักษะนี้กลายเป็นสิ่งจำเป็นต่อนักข่าวในการเรียนรู้ เนื่องจากการอัพโหลด การโพสต์ข่าวลงเว็บไซต์สื่อออนไลน์ ทุกวันนี้นักข่าวต้องใช้เครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อสามารถตรวจสอบลิงค์ แหล่งที่มาของข่าวสารข้อมูลต่างๆ และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าพร้อมทั้งความสามารถในการเขียนเว็บบล็อกหรือเขียนเว็บไซต์ข่าวออนไลน์

              (5) Audience Research : หมดยุคแล้วที่คนทำสื่อจะไม่สนใจ ไม่ใส่ใจข้อมูลการตลาดโดยเฉพาะข้อมูลพฤติกรรม ความสนใจ และความพึงพอใจของผู้บริโภค เพราะสภาพสื่อวันนี้ผู้บริโภคไม่ได้ให้ความสำคัญกับสื่อมากเช่นเดิม เนื่องจากพวกเขามีสื่อมากมายให้เลือกรับและมีสื่อใช้เองอยู่ในมือ ดังนั้น การที่คนทำสื่อจะสามารถวิเคราะห์ความต้องการของคนดู คนฟัง คนอ่าน ด้วยการใช้เครื่องมือทางการตลาดในการตรวจจับความนิยม จึงเป็นเรื่องง่ายและบริษัทซอฟแวร์คอมพิวเตอร์วันนี้ก็มีเครื่องมือให้เลือกใช้มากมาย ทั้งเก็บรวบรวมสถิติการพูดถึง การค้นหา การเข้าถึง การใช้ระยะเวลารับชม การกดอ่านกดดู กดแสดงความคิดเห็นหรือการกดแชร์ กระทั่งการพูดคุยเรื่องราวนั้นๆ ต่อไปยังแพลตฟอร์มอื่นๆ แม้กระทั่งวันเวลาที่เหมาะสมกับการโพสต์

              (6) Application Utilize : ทุกวันนี้แอพพลิเคชั่นคือเครื่องมือหลักในการทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต ดังนั้นนักข่าวจึงต้องมีความสามารถในการสร้างหรือใช้งาน การแก้ไขออกแบบแอพพลิเคชั่นสำหรับการแสดงผลหรือการเชื่อมโยงเนื้อหารายการกับผู้ชมให้มีประสิทธิผลมากที่สุด ยังรวมไปถึงการใช้แอพถ่ายภาพ แต่งภาพ บันทึก ตัดต่อวีดีโอ อัพโหลดฐานข้อมูล การแชร์ การเผยแพร่และการรักษาความปลอดภัย การจัดการฐานระบบข้อมูลขนาดใหญ่ขององค์กร

              (7) News Gathering, Collaboration and Participation : การทำงานร่วมกันเป็นทีมยังคงเป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้นการทำงานร่วมกันผ่านเครือข่าย นอกจากนี้นักข่าวยังต้องมีทักษะ ความเข้าใจประชาชนหรือแหล่งข่าว โดยเฉพาะการขอข้อมูลจากประชาชนซึ่งทำให้นักข่าวต้องมีทักษะในการสืบค้นทางลึกและกว้างมากขึ้นกว่าเดิมและจำเป็นต้องมีแหล่งข่าวที่เข้าถึงและรู้ลึกรู้จริงมากกว่าเดิม นอกจากนี้การทำงานแบบมีส่วนร่วมการแบ่งปันข้อมูลระหว่างเพื่อนนักข่าวด้วยกันและระหว่างแหล่งข่าวกับตัวนักข่าวเอง

              (8) Data & Visual Journalism : การทำข่าววันนี้นักข่าวต้องมีความสามารถในการจัดการข้อมูลข่าวสารมากขึ้นกว่าเดิม หลักการของวารสารศาสตร์เชิงข้อมูลคือ

              1. สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในกระบวนการผลิตและถ่ายทำได้ทั้งหมด

              2. ใช้แอพพลิเคชั่นสำหรับการสืบค้นหานำเสนอข่าว

              3. สามารถนำเสนอข้อมูลข่าวสารในลักษณะภาพกราฟิก/วิดีโอกราฟิกได้ อีกแนวคิดหนึ่งที่สำคัญคือ การทำข่าวเก็บข้อมูลจากมวลชนเพราะทุกวันนี้แหล่งข่าวขนาดใหญ่ที่สุดคือประชาชน การเขียนโพสต์ประกอบรูปภาพ เช่น Info graphics ลงในชิ้นข่าวหรือสกู๊ปจะช่วยสามารถดึงดูดผู้อ่านได้มากกว่าปกติ

             (9) Be familiar with Laws and Ethics : นักข่าววันนี้สังคมวิพากษ์วิจารณ์อย่างเร็วและมากเกี่ยวกับการนำเสนอข่าวที่อาจไปผิดกฎหมาย ละเมิดจริยธรรมหรือละเมิดสิทธิมนุษยชน นักข่าวจำเป็นต้องเรียนรู้และมีความเข้าใจ จดจำต่อการนำเสนอข่าวอย่างระมัดระวังตนเองและสังคมเนื่องจากข่าวสารสามารถไหลเวียนไปทั่วโลก

            (10) Teaching Teamwork and Leadership : นักข่าวคืออาชีพพิเศษที่ต้องอาศัยการทำงานกับคนมากมายหลายรุ่น การทำงานเป็นทีมและประสบการณ์วิชาชีพเป็นสิ่งที่ทำให้องค์ความรู้ทางวารสารศาสตร์เติบโตต่อยอดไปเรื่อยๆ นักข่าวต้องมีความกล้าและความเป็นผู้นำ ความคิดนี้อธิบายด้วยอุดมการณ์ของนักข่าวในฐานะผู้กำหนดวาระทางสังคม ดังนั้นสังคมจึงจำเป็นต้องการนักข่าวที่มีความคิดเป็นผู้นำทางสังคม เป็นผู้รังสรรค์ประเด็นข่าวสารทางสังคมให้เฉียบคมและนำพาสังคมไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งหน้าที่ของนักข่าวคือการค้นหาความจริง การตรวจสอบข้อเท็จจริงและการนำเสนอความจริงที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวประเด็นเหตุการณ์นั้นๆ อย่างสมดุล รอบด้านเป็นวัตถุวิสัย หน้าที่นี้ยังคงเป็นสิ่งที่นักข่าวทุกยุคสมัยต้องทำอย่างยึดมั่นและมีความรับผิดชอบต่อจรรยาบรรณ จริยธรรมวิชาชีพ ต่อแหล่งข่าว ผู้อ่านและสังคม”

             สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ (อ้างใน ฐาปะนะ วงษ์สาธิตศาสตร์, 2555, น. 62-66) ได้กล่าวไว้ใน หนังสือเอกสารการสอนชุดวิชาการข่าวขั้นสูงและการบรรณาธิกร เล่มที่ 2 : หน่วยที่ 14มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เรื่องการรายงานข่าวออนไลน์ ถึงความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักสื่อสารมวลชนทั้งหลายรวมถึงผู้สื่อข่าวออนไลน์จำเป็นต้องเตรียมให้พร้อมในโลกยุคดิจิทัล ที่ทุกสื่อต่างมุ่งทิศทางไปสู่ออนไลน์ โดยการเพิ่มพูนความรู้เทคโนโลยีให้กับตนเอง ทั้งใน “ระดับอ่านออกเขียนได้” และ “การรู้เท่าทัน” ทางเทคโนโลยี (Technology Literacy) โดยให้ความหมายของ Technology Literacy ว่า คือการมีพื้นความรู้ทางเทคโนโลยีที่สามารถนำเอาความรู้นั้นมาใช้ในการทำงานพื้นฐานได้ ซึ่งเป็นทักษะสำคัญที่ผู้สื่อข่าวออนไลน์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี โดยเฉพาะความรู้วิธีการปรับตัว รับมือ และใช้เป็นเครื่องมือในงานสื่อสารมวลชน

             ฐาปะนะ วงษ์สาธิตศาสตร์ (2555, น. 28) ได้อธิบายไว้ในหนังสือเอกสารการสอนชุดวิชาการข่าวขั้นสูงและกองบรรณาธิกร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เรื่องการรายงานข่าวออนไลน์ ว่า “บทบาทของสื่อดิจิทัล (Digital Media) จึงเป็นบทบาทที่สำคัญมากในยุคนี้ สังคมคงปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อออนไลน์ (Online Media) มีส่วนช่วยให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นและผู้ใดก็ได้ที่มีความสนใจในการรายงานข่าวก็สามารถที่จะรายงานข่าวได้เช่นกัน เช่น แอพพลิเคชั่นไลน์ (Line) และ เฟซบุ๊ก (Facebook) ซึ่งผู้ที่จะทำหน้าที่ด้านการรายงานข่าวออนไลน์จะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญ ได้แก่ ทักษะด้านวารสารศาสตร์และนิเทศศาสตร์ ทักษะด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และทักษะด้านกฎหมายและจริยธรรมประจำวิชาชีพสื่อมวลชนโดยเฉพาะจริยธรรมของหนังสือพิมพ์

              นรินทร์ นำเจริญ (2549, น. 308-309) ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องสื่อออนไลน์ไว้ในหนังสือความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการรายงานข่าว ว่า ประเทศไทยรู้จักสื่อหนังสือพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ.2387 ต่อมาในช่วงทศวรรษ 2470 ประเทศไทยก็เริ่มรู้จักสื่อวิทยุกระจายเสียง จนในช่วงทศวรรษ 2490   เราก็เริ่มรู้จักสื่อวิทยุโทรทัศน์ การสื่อสารมวลชนมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีตลอดเวลาจนถึงในช่วงทศวรรษ 2540 ทางด่วนข้อมูลข่าวสารทางอินเทอร์เน็ตจึงเป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของการสื่อสารมวลชนอีกครั้ง อย่างไรก็ดีทางด่วนข้อมูลข่าวสารในขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงการเติบโตซึ่งมีคำทำนายมากมายหลังจากที่มีสื่อใหม่ๆ เกิดขึ้นในแต่ละยุคสมัย เช่น ในสมัยหนึ่งเราเคยเชื่อว่า เมื่อมีสื่อโทรทัศน์เกิดขึ้นสื่อวิทยุจะหายไป จะเห็นว่าคำทำนายเหล่านี้จำนวนมากไม่เป็นความจริง หรือแม้กระทั่งขณะที่มีสื่ออินเทอร์เน็ตออกมาใหม่ๆ ก็มีการทำนายกันมากว่าในที่สุดสื่อหนังสือพิมพ์จะหมดไปและจะถูกแทนที่ด้วย “สื่อออนไลน์” และเมื่อถึงวันนี้ก็มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องนี้ อย่างไรก็ดีพัฒนาการของสื่อยังคงก้าวหน้าต่อไปโดยที่ทางด่วนข้อมูลข่าวสารนั้นเปรียบเสมือนกับเครือข่ายในโลกที่มีการเชื่อมโยงกันด้วยเส้นทางอิเล็กทรอนิกส์

              ดังนั้นจึงทำให้เห็นได้ว่า สื่อออนไลน์ (Online Media) มีบทบาทที่สำคัญมากในยุคสารสนเทศ (Information Technology : IT) เพราะทำให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารต่างๆ มากขึ้นและผู้ที่มีความสนใจในการนำเสนอข่าวสารต่อผู้อื่นตามมุมมองของตัวเองก็สามารถที่จะนำเสนอได้เช่นเดียวกัน นักข่าวจึงไม่ได้จำกัดแค่เพียงที่เรียนมาทางด้านสื่อสารมวลชนหรือสาขาที่เกี่ยวข้องเท่านั้น เพราะข้อมูลข่าวสารในปัจจุบัน สามารถสืบค้น แลกเปลี่ยน เรียนรู้ได้ตลอดเวลา การรู้ทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมย่อมทำให้การดำเนินชีวิตดีขึ้น ในสังคมปัจจุบันประชาชนเริ่มมีความรู้ความสามารถมากขึ้นเพราะมีเวทีสื่อออนไลน์ให้แสดงออก โดยเฉพาะความคิดที่ตกผลึกจึงทำให้การศึกษารับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ มีความพร้อมอยู่ตลอดเวลาไม่จำเป็นต้องพึ่งแต่   “สื่อกระแสหลัก” เช่น สื่อโทรทัศน์ สื่อหนังสือพิมพ์เท่านั้น จึงกล่าวได้ว่าถึงเวลาการปรับเปลี่ยนการนำเสนอข่าวสารให้เกิดข้อเท็จจริง (Fact) สื่อมวลชนหรือคนทำข่าวตัวจริงในอาชีพจึงต้องกลั่นกรองข่าวสารให้เกิดความถูกต้อง แม่นยำ ตรงตามสถานการณ์เพราะคนทำข่าวขณะนี้ก็กำลังถูกตรวจสอบจากภาคประชาชนเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันสื่อออนไลน์ มีบทบาทกับสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถทำหน้าที่ได้ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร โดยมี สื่อใหม่ (New Media) เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ แอพพลิเคชั่นไลน์ และยูทูบ เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ซึ่งนอกจากจะเพิ่มความสะดวกในการติดต่อสื่อสารแล้ว ยังมีบทบาทในการกำหนดประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ดังนั้นสื่อออนไลน์จึงมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนพฤติกรรมการเสพข้อมูลข่าวสารของผู้คนในยุคปัจจุบันขณะที่สื่อสิ่งพิมพ์ดั้งเดิมหรือสื่อกระแสหลักก็ให้ความสำคัญกับการผลิตข่าวออนไลน์มากขึ้นและลดปริมาณการผลิตสิ่งพิมพ์ตามความต้องการที่ลดลงเช่นกัน นอกจากนี้สื่อ ประเภททีวี ก็มีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปด้วยการผลิตข้อมูลเพื่อเผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ซึ่งเป็นการเพิ่มทางเลือกในการชมข้อมูลย้อนหลังในรูปแบบคลิปวิดีโอรวมถึงการพัฒนาไปสู่ระบบทีวีดิจิทัล (บทความจาก iQMedialink, 2015. www.blog.infoquest.co.th/iqmedialink/news_onlinemedia/ สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2564)

 ธาม เชื้อสถาปนศิริ (http://blog.infoquest.co.th/iqmedialink/news_onlinemedia/. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2564) นักวิชาการสถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.) ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ได้กล่าวถึง สื่อออนไลน์กับบทบาทในการกำหนดประเด็นข่าวทางสังคมว่า “สื่อออนไลน์สามารถแบ่งปันข่าวสารกันได้ง่ายมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนดังนี้

          1) ชม คือการติดตามข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์มากขึ้น ทั้ง ดู ฟัง อ่านและเขียน

          2) เชื่อม คือมีการเชื่อมโยงกับสังคมมากขึ้น ทั้งบุคคลที่เรารู้จัก ดารา นักการเมืองหรือบุคคลที่เป็นที่รู้จักของสังคมซึ่งเป็นการเชื่อมต่อกลุ่มผู้คนต่างๆ ได้มากขึ้น

          3) แชร์ คือมีการแบ่งปันข้อมูลความรู้ประสบการณ์ไปสู่เพื่อนและสังคมมากขึ้น

          4) ใช้ คือมีการใช้สื่อและอุปกรณ์การสื่อสารเป็นกิจวัตรประจำวันจนแทบจะขาดไม่ได้ทั้ง         สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต โน๊ตบุ๊ค กล้องดิจิตอล

          5) ชอบ คือสามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกผ่านสื่อออนไลน์มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการแสดงความรัก ชอบ โกรธ อคติ

          6) ช่วย คือเป็นช่องทางในการให้ความช่วยเหลือและส่งต่อสิ่งดีๆ ให้กันได้มากขึ้น

          7) ชีพ คือมีการใช้สื่อออนไลน์เป็นประจำจนมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน”

          ธาม เชื้อสถาปนศิริ ได้กล่าวต่ออีกว่า “เมื่อสื่อสังคมออนไลน์เข้ามามีบทบาทกับผู้คนมากขึ้นในยุค สังคมไม่แคร์สื่อ แบบนี้จึงส่งผลให้ความศรัทธาในสื่อมวลชนลดลง อาทิ กรณีกระแสข่าวที่ชาวเน็ตถามหาจริยธรรมในการรายงานข่าวของสื่อบางช่องจนกลายเป็นแรงกดดันให้สื่อฯดังกล่าวต้องออกมาน้อมรับความผิดพลาดในครั้งนั้น นอกจากนี้สื่อสังคมออนไลน์ยังเป็นแหล่งรวมพลังในการต่อต้านหรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมมานับตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 ที่เริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลาย อาทิ ปรากฏการณ์ ม็อบโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มที่เรียกว่า คราวด์ซอร์สซิ่ง (Crowd-sourcing) คือ การรวมตัวของกลุ่มคนหรือมวลชนที่ต้องการบรรลุเป้าหมายเดียวกัน ประกอบด้วย 7 ประเด็นหลักๆ ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประกอบด้วย 

            1) User Generated content ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถสร้างสรรค์ “สาร” ด้วยตนเองเพื่อแบ่งปันผู้อื่น

           2) The Fifth Estate ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นผู้ควบคุมความคิดเห็นสาธารณะผ่านอินเทอร์เน็ตหรือสื่อออนไลน์

           3) Prosumer ผู้บริโภคมีบทบาทในการสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อสนองความต้องการของตนเองมากขึ้นผ่านการแสดงความคิดเห็นบนสื่อออนไลน์

           4) Meritocracy สังคมที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีความเท่าเทียมกันโดยวัดกันที่ความสามารถและคุณภาพ

           5) Open Source ผู้พัฒนาซอฟท์แวร์สามารถพัฒนาต่อเติมโปรแกรมปฏิบัติการร่วมกันได้ในระบบเปิด

           6) Collaborative ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมีแรงจูงใจสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์

           7) Sitesharing ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสร้างสังคมชุมชนเสมือนเพื่อแบ่งปันข้อมูลกันอย่างเสรี ”

สื่อใหม่และการหลอมรวมสื่อ

              Rogers (1995) ได้นิยาม สื่อใหม่ว่าเป็นเทคโนโลยีที่เอื้ออำนวยให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารบนฐานของคนจำนวนมากผ่านระบบการสื่อสารที่มีคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลาง จะเห็นได้ชัดเจนว่าจากยุคดั้งเดิมมนุษย์สื่อสารตัวต่อตัวโดยใช้คำพูดและการใช้สัญลักษณ์ ต่อมาการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีส่งผลให้เกิดการพัฒนาการทางการสื่อสารมากขึ้นทำให้เกิดการสื่อสารกันผ่านสื่อมวลชน มากขึ้นจึงเกิดสื่อมวลชนขึ้นมาหลายประเภท เช่น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ เป็นต้น แต่ในปัจจุบันการสื่อสารเน้นเป็นแบบเฉพาะเจาะจงตัวบุคคลมากขึ้นแต่ก็มีความหลากหลายได้ในเวลาเดียวกันเราเรียกการสื่อสารรูปแบบนี้ว่า “สื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์” เช่น เฟซบุ๊ก  ยูทูป  ทวิตเตอร์ และ อินสตาแกรม

              กาญจนา แก้วเทพ และนิคม ชัยขุนพล (2555) ได้ให้ความหมายไว้ว่า “สื่อใหม่ คือ สื่อดิจิทัล ที่มีความหลากหลายของสื่อในตัวเองและมีความสามารถในการปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ได้ เพื่อใช้ส่งข้อมูลข่าวสารไปยังกลุ่มเป้าหมายทั้งเฉพาะบุคคลและเครือข่ายอื่นๆ ซึ่งสื่อใหม่มีคุณลักษณะหลายประการที่แตกต่างไปจากสื่อมวลชนแบบดั่งเดิม จึงเป็นเหตุผลให้สื่อใหม่ได้ปรับฐานะเป็นวัตถุแห่งการศึกษา สื่อใหม่จึงนับว่าเป็นนวัตกรรม แบบหนึ่งซึ่งคุณลักษณะของสื่อใหม่คือทำให้เป็นดิจิทัลที่มีการทำงานที่หลากหลาย รวดเร็ว และรุนแรง ซึ่งสื่อสังคมออนไลน์จะมีการประมวลผลที่รวดเร็วและไร้พรมแดนไม่ว่าอยู่ที่ใดของโลกก็สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วมีลักษณะเป็นการหลอมรวมสื่อ ซึ่งจากเดิมสื่อแต่ละสื่อจะมีคุณสมบัติและหน้าที่เพียงด้านใดด้านหนึ่งแต่สื่อใหม่ได้นำเอาลักษณะต่างๆ มารวมกันเพื่อให้ผู้ใช้สื่อใหม่มีความสะดวกในการใช้สื่อเพียงสื่อเดียวสามารถสื่อสารกับผู้ใช้สื่ออื่นและตอบโต้กันได้แบบทันทีทันใด ซึ่งหากนำสื่อใหม่นี้มาใช้ในกระบวนการทำข่าวเชิงสืบสวนจะสามารถทำให้ผู้ปฏิบัติงานด้านข่าวเชิงสืบสวนสามารถนำเสนอข่าวเชิงสืบสวนพร้อมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำข่าวเชิงสืบสวนกับแหล่งข่าวหรือประชาชนผู้รับสารผ่านสังคมออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประการสำคัญคือ สื่อใหม่นั้นเป็นการสื่อสารได้จากบุคคลเดียวกระจายข้อมูลข่าวสารไปยังกลุ่มคนจำนวนมาก (One-to-Many) ซึ่งสามารถกระจายข้อมูลข่าวสารจากผู้ปฏิบัติงานด้านข่าวเชิงสืบสวนไปยังประชาชนทั่วไปหรือสาธารณชนที่มีจำนวนมากมายได้อย่างรวดเร็ว”

              มาลี บุญศิริพันธ์ (2556, น. 42-43, 254-264) ได้อธิบายในเรื่อง สื่อใหม่ นี้ไว้ในหนังสือวารสารศาสตร์เบื้องต้น:ปรัชญาและแนวคิดไว้ว่า “ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อวงการสื่อสารมวลชนอย่างมหาศาล รวมทั้งแนวปฏิบัติทางวิชาชีพวารสารศาสตร์ บทบาทและรูปแบบการวารสารศาสตร์ได้รับผลกระทบจากวิวัฒนาการของเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายซึ่งทราบกันดีว่ามีศักยภาพของการสื่อสารอย่างไร้ขีดจำกัดและยังสามารถเชื่อมโยงแบบบูรณาการ สอดประสานลักษณะการสื่อสารทุกรูปแบบได้อย่างอัศจรรย์ ซึ่งสื่อใหม่ ได้ถูกกำหนดให้หมายถึงการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถส่งผ่านข้อมูลข่าวสารทางโครงข่ายอินเทอร์เน็ตหรือการสื่อสารออนไลน์ ซึ่งเป็นสื่อที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการนำเสนอหรือส่งผ่านสารไปยังผู้รับโดยต้องมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสื่อสารซึ่งมีศักยภาพในการส่งผ่านปรับเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่ไปถึงผู้รับสารได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว จึงเป็นสื่อที่เอื้อประโยชน์ต่อการขยายขอบเขตการสื่อสารความรู้เข้าถึงแหล่งข้อมูลและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ส่งและผู้รับสารได้ตลอดเวลา ดังนั้นสื่อใหม่จึงเป็นช่องทางสื่อที่อาศัยศักยภาพของเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายทุกรูปแบบในการส่งผ่านเนื้อหาไปยังผู้รับสารซึ่งไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็สามารถสื่อสารกับผู้ส่งสารและมีปฏิสัมพันธ์กันได้ทุกสถานที่ทุกเวลาตราบที่มีความพร้อมทางเศรษฐกิจในการเป็นเจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์และโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภครองรับได้ทั่วถึง ซึ่งผู้รับสารหรือประชาชนผู้รับข่าวเชิงสืบสวนสามารถกระทำตนเป็นทั้งผู้รับข่าวสาร ผู้ตอบกลับ และผู้ส่งสาร ในเวลาเดียวกันได้อีกด้วยโดยการใช้สื่อใหม่ ซึ่งปัจจุบันสื่อใหม่ได้พัฒนาถึงขั้นสามารถสื่อสารผ่านสื่อไร้สายเป็นการรับสารผ่านสื่อที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของเวลาและสถานที่ เป็นอิสระในการเลือกสรร โต้ตอบ (Interactive) แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ทันที เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การทำงานของผู้ปฏิบัติงานด้านข่าวมีประสิทธิภาพมากในยุคที่มีการแข่งขันด้านข่าวสารอย่างรุนแรง ผู้สื่อข่าวจำเป็นต้องเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์เพื่อให้ข่าวสารออกมามีคุณภาพโดยเฉพาะในบรรยากาศที่มีการแข่งขันการใช้เทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจการสื่อสาร ผนวกกับผู้บริโภคมีโอกาสเลือกรับข่าวสารข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ มากขึ้น กระตุ้นความต้องการข่าวสารเชิงลึกที่ไม่สามารถเติมเต็มได้จากสื่อมวลชนกระแสหลัก ปรากฏการณ์ดังกล่าวได้สร้างแนวโน้มการสื่อข่าวเชิงลึก โดยเทคโนโลยีการสื่อสารสามารถช่วยอำนวยให้ผู้สื่อข่าวเพิ่มศักยภาพในการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ได้รวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย อันเป็นอานิสงส์จากเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่นับเป็นนวัตกรรมและวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพในยุคนี้ซึ่งเป็นยุคโลกาภิวัตน์ ที่ได้สร้างพลังให้ “ข้อมูลข่าวสาร”เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า มีอำนาจในการขับเคลื่อนอย่างไร้ขีดจำกัด ซึ่งข่าวสารกลายเป็นอำนาจที่เป็นเงื่อนไขสำคัญในการแข่งขันทางสังคม ธุรกิจและการเมือง คำว่า “ข่าวสารคืออำนาจ” (Information is a power) จึงเป็นคำพูดที่ไม่ผิดนักในยุคที่ข้อมูลข่าวสารเป็นตัวนำการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ”

            สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ (2560, น. 29-31) ได้อธิบายไว้ในหนังสือ การรายงานข่าวเชิงสืบสวน ไว้ว่า “งานข่าวในศตวรรษที่ 21 นี้นับเป็น วารสารศาสตร์ดิจิทัล  (Digital Journalism) ที่มีการหลอมรวมสื่ออย่างแท้จริง ความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการสื่อสาร และคอมพิวเตอร์ ส่งผลให้ภูมิทัศน์ของสื่อเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทำให้องค์กรข่าวลงทุนพัฒนาเครือข่ายกระบวนการหาข่าวและการเผยแพร่ข่าวไปยังผู้อ่านในรูปแบบการหลอมรวมสื่อ มากขึ้นเป็นลำดับ ผลของการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของสื่อ (Media Landscape) อย่างต่อเนื่อง และรวดเร็วทำให้เกิดองค์กรข่าวในลักษณะ ข่าวออนไลน์ เกิดงานข่าวทางสื่อใหม่ ทั้งข่าวหนังสือพิมพ์ดิจิทัล ข่าวสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งกระบวนการข่าว องค์กรข่าว เทคโนโลยีข่าวและการสื่อสารงานข่าวมีการหลอมรวมสื่อ อย่างต่อเนื่องเป็นการสื่อสารทางสื่อดิจิทัล ด้วยภาษาคอมพิวเตอร์มากขึ้นซึ่งเรียกปรากฏการณ์นี้ว่าการทำให้เป็นภาษาระบบตัวเลข (Digitization) โดยมาจากความรวดเร็วและทั่วถึงของเทคโนโลยีการสื่อสาร เครือข่ายสังคมออนไลน์โดยเฉพาะศักยภาพของโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งระบบแอนดรอยด์(Android) และระบบไอโอเอส (IOS) ทำให้ผู้รับสารโดยเฉพาะประชาชนทั่วไป ให้ความสนใจและสามารถเข้าถึงและใช้เครื่องมือสื่อสารเพื่อการมีส่วนร่วมรายงานข่าวและเป็นเจ้าของสื่อได้ไม่ยากเท่าในอดีตจึงเริ่มปรากฏ นักข่าวพลเมือง (Citizen Journalist) ขึ้นในศตวรรษนี้ โดยข่าวจะมีลักษณะเป็นการเล่าเรื่องที่เข้าใจง่ายและรวดเร็วผ่านแพลตฟอร์มของข้อมูลและภาพ ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ข่าวมีลักษณะตอบโต้ปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่านได้ รวมทั้งมีลักษณะเชื่อมต่อหรือลิงค์ (Link) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันผูกติดเป็นฐานข้อมูลแบบไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) ”

ผลกระทบของข่าวออนไลน์

            ปัจจุบันข่าวออนไลน์ยังพบปัญหาในด้านการยอมรับอยู่บ้าง อันเนื่องมาจากข้อจำกัด เช่น การนำเสนอภาพผ่านจอภาพ อุปกรณ์เทคโนโลยีการสื่อสาร ความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารและข่าวสารที่นำเสนอผ่านสื่อออนไลน์ปราศจากการตีความและการแปลความ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อวิชาชีพด้านวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ต่อสิทธิส่วนบุคคล

              ฐาปะนะ วงษ์สาธิตศาสตร์ (2555, น. 69-74ได้กล่าวไว้ใน หนังสือเอกสารการสอนชุดวิชาการข่าวขั้นสูงและการบรรณาธิกร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน่วยที่14 เรื่องการรายงานข่าวออนไลน์เกี่ยวกับผลกระทบต่อวิชาชีพด้านวารสารศาสตร์และสื่อมวลชนว่า “เนื่องมาจากการเสนอข่าวออนไลน์ได้เข้าไปมีส่วนลดความสำคัญของสื่อมวลชนแบบดั่งเดิม เมื่อเหตุการณ์หนึ่งๆ สามารถเป็นข่าวเกิดขึ้น กลุ่มบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องก็จะส่งข้อมูลข่าวสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตไปสู่กลุ่มเป้าหมายของตนปรากฏการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบวารสารศาสตร์แบบดั่งเดิม ซึ่งปกติการตัดสินใจมักเริ่มจากเบื้องบนไปสู่เบื้องล่าง โดยบรรณาธิการเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะนำเสนอหรือส่งผู้สื่อข่าวคนใดไปเก็บข้อมูล เหตุการณ์ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปคือข่าวจะเริ่มต้นจากเบื้องล่างสุดโดยกลุ่มบุคคลที่ใกล้ชิดกับข่าวหรือกลุ่มที่มีความสนใจต่อหัวข้อข่าวนั้นๆ ดังนั้นในโลกของข่าวสารของสังคมยุคใหม่บุคคลที่มีคอมพิวเตอร์เป็นส่วนตัวก็สามารถเป็นผู้สื่อข่าว เป็นบรรณาธิการข่าว หรือแม้กระทั่งเจ้าของหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ ได้บนโลกอินเทอร์เน็ตเหล่านี้  ด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ จึงเห็นประเด็นสำคัญคือการขาดผู้เฝ้าประตู ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีถึงบทบาทของผู้เฝ้าประตูในวงการสื่อมวลชน เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบอินเทอร์เน็ตนี้ปราศจากผู้เฝ้าประตูอย่างสิ้นเชิง สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการนำรูปแบบของการรายงานข่าวมาประยุกต์ใช้กับข่าวออนไลน์ ซึ่งผู้เฝ้าประตูข่าวสารนั้นยังทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินคุณค่าของข่าวสารนั้นด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาคือการเกิดแนวคิดสื่อมวลชนรูปแบบใหม่บนโลกออนไลน์ ซึ่งในขณะนี้นักวิจัยด้านสื่อให้การยอมรับว่าอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อมวลชนยุคใหม่ หรือ สื่อใหม่ พร้อมๆ กับความเป็นสื่อระหว่างบุคคลโดยมองว่าอินเทอร์เน็ตเป็นตัวแทนของการสื่อสารหลายระดับรวมกันอยู่ในสื่อเดียวกัน จัดเป็นการสื่อสารมวลชนที่สมบูรณ์แบบในทุกๆ องค์ประกอบของการสื่อสาร กล่าวคือการบริการข้อมูลที่ไม่จำกัดจำเพาะเจาะจงผู้รับสาร เช่น บริการสืบค้นข้อมูล  World Wide Web บริการกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์หรือหนังสือพิมพ์ออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งองค์ประกอบของกระบวนการสื่อสารที่มีความชัดเจนในสื่ออินเทอร์เน็ต ได้แก่ ผู้ส่งสาร สาร ช่องทาง และผู้รับสาร รวมทั้งปฏิกิริยาตอบสนองที่ครบถ้วนสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงทำให้การสื่อสารระหว่างบุคคลแยกจากการสื่อสารมวลชนไม่ออก แต่รวมเป็นการสื่อสารในระบบเดียวกัน ในปัจจุบันสื่ออินเทอร์เน็ตยังพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง จึงทำให้การคาดการณ์เกี่ยวกับความเป็นสื่อใหม่ยังไม่จบสิ้น ซึ่งแนวโน้มของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ได้นำไปสู่ปรากฏการณ์ของ “นักข่าวพลเมือง” คือกระบวนการสื่อสารในสังคมที่บทบาทของผู้รับสาร จากสื่อสามารถปรับเปลี่ยนเป็นผู้ส่งสาร สอดคล้องกับแนวโน้มของสังคมยุคใหม่ที่เน้นการมีส่วนร่วมของสังคม นอกจากนี้ยังมีผลกระทบด้านจริยธรรมซึ่งมาจากลักษณะพิเศษของสื่อออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ผู้อ่านสามารถนำเสนอข้อมูลข่าวสารได้ด้วยตนเอง บ่อยครั้งข้อมูลที่นำเสนอขาดจรรยาบรรณในเรื่องความสำนึกรับผิดชอบต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสังคม เช่น การเผยแพร่ภาพลามกอนาจาร ซึ่งประเด็นดังกล่าวยังเป็นที่ถกเถียงกันเป็นอย่างมากว่าใครควรเป็นผู้รับผิดชอบและควรมีมาตรการป้องกันและปราบปราบอย่างไรเพื่อไม่ให้ลุกลามต่อไป รวมทั้งควรสร้างจิตสำนึกในเรื่องจริยธรรมและคุณธรรมบนโลกออนไลน์ ปรับบทบาทใหม่ในการร่วมกันรับผิดชอบต่อการนำเสนอข้อมูลข่าวในสังคมปัจจุบัน เร่งพัฒนาให้สังคมรู้เท่าทันสื่อและมีส่วนร่วมในการควบคุมด้านจริยธรรมในวิชาชีพเพื่อบรรเทาปัญหาด้านกฎหมายและจริยธรรมจากการรายงานข่าวออนไลน์”

อินเทอร์เน็ตกับงานวารสารศาสตร์

              สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ (2560, น. 385) ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องวารสารศาสตร์เชิงข้อมูลกับงานข่าวเชิงสืบสวนไว้ในหนังสือการรายงานข่าวเชิงสืบสวน ว่า “การประยุกต์ใช้วารสารศาสตร์เชิงข้อมูล (Database Journalism) ในงานข่าวเชิงสืบสวนเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดการฐานข้อมูล (Database Manager) อย่างครบถ้วนในทุกขั้นตอนของกระบวนการข่าวประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลข่าวเชิงสืบสวน การวิเคราะห์ข้อมูลข่าวเชิงสืบสวน การตรวจสอบยืนยันข้อมูลข่าวเชิงสืบสวน ตลอดจนการนำเสนอข้อมูลข่าวเชิงสืบสวนวารสารศาสตร์เชิงข้อมูลในงานข่าวเชิงสืบสวนจึงเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานข่าวเชิงสืบสวนกับแนวทางอื่นๆ ทั้งการวิจัยทางสังคมศาสตร์ และการวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวทางของการประยุกต์วิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์มาเป็นเครื่องมือในงานข่าว (Precision Journalism) นอกจากนั้น การรายงานข่าวเชิงสืบสวนในยุคสื่อดิจิทัล นักข่าวเชิงสืบสวนยังสามารถใช้วารสารศาสตร์เชิงข้อมูลเพื่อการตรวจสอบยืนยันข้อมูลข่าวได้อย่างกว้างขวางได้อีกด้วย”

               มาลี บุญศิริพันธ์ (2556, น. 259-260) ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องอินเทอร์เน็ตกับงานวารสารศาสตร์ ไว้ใน หนังสือวารสารศาสตร์เบื้องต้น:ปรัชญาและแนวคิดว่า “เมื่อหนังสือพิมพ์ต้องปรับตัวเองเข้าสู่ระบบออนไลน์เพื่อขยายยอดจำหน่ายให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่หลงใหลในเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต จึงได้พยายามพัฒนารูปแบบให้เหมาะสมกับพฤติกรรมการอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ของกลุ่มเป้าหมายด้วยแต่ปัญหาของหนังสือพิมพ์บนเว็บไซต์ก็คือ ต้องแข่งขันกับเว็บไซต์อื่นๆ ที่มีอยู่กลาดเกลื่อนบนอินเทอร์เน็ต เปี่ยมล้นด้วยเนื้อหาสาระลุ่มลึกกว่า น่าสนใจกว่าเทคนิคการนำเสนอเร้าใจผู้บริโภคมากกว่า หนังสือพิมพ์ที่ต้องการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการขยายกลุ่มเป้าหมาย จึงได้รับแรงท้าทายให้สร้างสรรค์วิธีการรายงานข่าวและเสนอเนื้อหาให้มีสีสัน สดใหม่ทันเหตุการณ์ รวมทั้งรูปแบบการเขียนข่าวที่กระชับ สื่อความได้รวดเร็ว โดยไม่ละเลยคุณค่าของมาตรฐานวิชาชีพวารสารศาสตร์ในด้านความเป็นธรรม ครบถ้วน สมดุล เที่ยงตรง แทนการเสนอเพียงแค่คัดลอกเนื้อหาในฉบับกระดาษลงบนเว็บไซต์ ทั้งนี้ข่าวบนเว็บไซต์มีข้อได้เปรียบเหนือข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์กระดาษ เพราะข่าวบนเว็บสามารถใช้เป็นข้อมูลสืบค้น สามารถติดตามความคืบหน้าของเหตุการณ์ ได้ตลอดเวลา สามารถเชื่อมโยงกับเว็บไซต์อื่นๆ ได้อย่างสะดวก สามารถโต้ตอบ ผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ห้องสนทนา หรือสัมภาษณ์สด (Live Interviews) ฯลฯ ข่าวบนเว็บไซต์จึงมีความสด ทันสมัย รวดเร็วกว่าข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์หลายเท่า หนังสือพิมพ์บางฉบับมีวิธีการเสนอข่าวให้ผู้อ่านสามารถคลิกหาข้อมูลเพิ่มเติมต่อๆ ไปจนพอใจกับข้อมูลที่ต้องการ”

ภูมิทัศน์สื่อ (Media Landscape)

              ธาม เชื้อสถาปนศิริ (2557) ได้กล่าวไว้ว่า ภูมิทัศน์สื่อ (Media Landscape) คือ การพิจารณา ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ เส้นเวลา ผู้ส่งสาร ผู้รับสาร ผ่านช่องทางสื่อ ลักษณะเนื้อหาสื่อ และการดูว่าผู้ใดกลายมาเป็นผู้มีอำนาจหลัก ในสนามการสื่อสารนั้นๆ ว่า แท้ที่จริงแล้วผู้ใดเป็นเจ้าของสื่อนั้น ซึ่งการวิเคราะห์ภูมิทัศน์สื่อมีหลักการวิเคราะห์ดังต่อไปนี้

           (1) รูปแบบการสื่อสาร ซึ่งจะเห็นได้ว่าการสื่อสารเริ่มต้นจากที่ใด ถ้าเป็นการสื่อสารในยุคเริ่มต้น การสื่อสารก็จะเริ่มต้นจากผู้ส่งสาร (sender) หรือสื่อมวลชน แต่ถ้าเป็นการสื่อสารในรูปแบบสื่อใหม่ในยุคนี้ ก็จะมีการสื่อสารจากผู้ใช้งาน (users) หรือที่เรียกว่า ผู้ใช้เป็นผู้ผลิตเนื้อหาสาร (user generated content)

           (2) กลุ่มเป้าหมายการสื่อสารในยุคสื่อสารมวลชนจะคำนึงถึงผู้รับสารปลายทางว่าเป็น “กลุ่มมวลชน” (mass) ซึ่งในยุคแรกนั้น สื่อจะคำนึงถึงมวลชนในลักษณะเป็นกลุ่มก้อนเดียวกันเหมือนๆ กันทั้งหมด เช่น ผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก เยาวชน คนมีการศึกษาสูง กลาง ต่ำ หรือจัดกลุ่มตามศาสนา อาชีพ เชื้อชาติ หรือกระทั่งตามฐานระดับรายได้ เหล่านี้คือการกำหนดลักษณะร่วมของผู้รับสารที่เหมือนกันหรือมองว่าเป็นเนื้อแท้ของผู้รับสารในกลุ่มประชากรศาสตร์เหมือนกัน ก็จะมีทัศนคติ พฤติกรรม และความต้องการเหมือนๆ กันทั้งหมด แตกต่างจากการสื่อสารในสื่อใหม่ ผู้รับสารจะมีหน้าตาในสังคม มีฐานคิดว่าเป็นปัจเจกชน เป็นคนเดี่ยวๆ ที่มีความต้องการ ความคาดหวัง หรือพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ปัจจัยเรื่องเพศ วัย การศึกษา รายได้ อาจมิใช่ตัวกำหนดว่าพวกเขาเหล่านั้นจะคิดเหมือนกันอีกต่อไป การสื่อสารในยุคสื่อใหม่ จึงมีฐานคิดว่า ผู้คนเป็นปัจเจกและมีลักษณะความต้องการ และความสนใจแตกต่างกัน

           (3) ช่องทางการสื่อสาร เมื่อสื่อในปัจจุบันได้มีการหลอมรวมเข้าด้วยกัน ซึ่งมาจากการรวมกันระหว่างระบบสื่อโทรทัศน์วิทยุซึ่งมีองค์ประกอบคือภาพและเสียง สื่อโทรคมนาคมซึ่งมีองค์ประกอบคือโทรศัพท์และเสียง และสื่อคอมพิวเตอร์ซึ่งมีองค์ประกอบคืออินเทอร์เน็ต ซึ่งรวมเข้ากันเป็นสื่อใหม่ ที่เกิดขึ้นในยุคนี้เป็นรูปธรรมใหม่ รูปธรรมที่เกิดขึ้นคือ สื่อสังคมออนไลน์ (social media) ที่สังคมได้แปรเปลี่ยนมาเป็นชุมชนเสมือนจริง โดยมีผู้คนเชื่อมต่อกันด้วย ข้อมูล ข่าวสารที่มาจากชีวิตประจำวัน ความคิด ความเห็น อารมณ์ ความรู้สึก และประสบการณ์ในกิจวัตรประจำวัน          

ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ (Two – Step Flow) และผู้นำทางความคิด (Opinion Leader)           

            ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายและได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง นับว่าเป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญยิ่งในวงการค้นคว้าสื่อสารมวลชน ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา Two – step flow hypothesis ค้นพบโดย Paul F. Lazarsfeld และคณะ ต้องการที่จะศึกษาดูว่าสื่อมวลชน (Mass media) มีอิทธิพล (Effect) ต่อการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจของผู้ออกเสียงเลือกตั้งในสมัยการเลือกตั้งประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกา ในสมัย ค.ศ. 1940 จริงหรือไม่ อีกนัยหนึ่ง Lazarsfeld และคณะ ยังมุ่งวิจัยอิทธิพลของสื่อมวลชนตามทรรศนะของ Hypodermic needle hypothesis การวิจัยครั้งนี้นับว่าเป็นโครงการใหญ่ มีการวางระเบียบวิธีวิจัยอย่างรอบคอบและอาศัยกำลังคนและเงินมาก Lazarsfeld และคณะ ใช้การสำรวจวิจัยที่เรียกว่า Panel study คือ สัมภาษณ์บุคคลคนเดียวซ้ำกันในช่วงระยะเวลาแตกต่างกัน ประกอบด้วยกลุ่มควบคุม (Control groups) ถึง 3 กลุ่ม สุ่มตัวอย่างทั้งหมดเกือบ 3,000 คน ใช้ระยะเวลาวิจัยรวมหกเดือนก่อนมีการเลือกตั้ง

            ในที่สุดผลที่ได้รับก็เป็นที่แปลกใจแก่ผู้วิจัยเป็นอย่างมาก แทนที่จะพบว่าสื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งตามที่คาดหมายไว้ Lazarsfeld และคณะ กลับพบว่า ความคิด (Ideas) กระจาย (Flow) จากวิทยุ และสิ่งพิมพ์ไปยังผู้นำด้านความคิด (Opinion leaders) จากนั้นจึงกระจายต่อไปยังประชาชนทั่วไป (Lazarsfeld, Berelson and Gaudet,1948)  คณะผู้วิจัยพบว่า ผู้นำด้านความคิดนั้น อ่านและรับฟังข่าวสารเกี่ยวกับการหาเสียงมากกว่าประชาชนธรรมดาทั่วไป นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ในระหว่างกลุ่มผู้ออกเสียงเลือกตั้งที่ได้เปลี่ยนความตั้งใจจากเดิมในการลงคะแนนเลือกตั้งนั้น ส่วนมากแจ้งว่าได้รับอิทธิพล และการชักจูงใจจากบุคคลอื่นมิใช่สื่อมวลชน
            สรุปผลการค้นพบข้างต้นก็คือ สื่อมวลชนเกือบจะไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง อิทธิพลส่วนใหญ่มาจากการสื่อสารประเภทสื่อบุคคลในลักษณะที่เป็นผู้นำทางความคิด ผลนี้ตรงข้ามกับทรรศนะของ Hypodermic needle hypothesis ถ้าวิเคราะห์ในเชิง Two – step flow ก็หมายความว่า การกระจายข่าวสารนั้นเกิดขึ้นสองจังหวะจากสื่อมวลชนไปถึงผู้นำทางความคิดจังหวะหนึ่ง แล้วจากผู้นำทางความคิดไปถึงประชาชนทั่วไปอีกจังหวะหนึ่ง ดังนั้นจึงเป็นการยากที่สื่อมวลชนจะเข้าไปมีอิทธิพลต่อประชาชนทั่วไปได้ เนื่องจากการค้นพบ Two – step flow เกิดขึ้นโดยบังเอิญไม่มีการวางแผนการมาก่อน จึงได้มีการศึกษาวิจัยมากมายในระยะหลังเพื่อทดสอบแนวความคิดและสมมติฐานต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ เกือบจะกล่าวได้ว่าในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา Two – step flow เป็นเสมือนจุดรวมหรือแกนกลางในทางความคิดของการวิจัยทางสื่อสารมวลชน

            ปรากฏการณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการค้นพบ Two – step flow ก็คือนอกจากการวิจัยค้นคว้าเกี่ยวกับผล (Effect) ของสื่อมวลชนในการเลือกตั้งประธานาธิบดีตามที่กล่าวมาแล้วยังมีการวิจัยค้นคว้าที่สำคัญอีกด้านหนึ่งเกี่ยวกับ Diffusion of innovations (นวัตกรรม) ซึ่งปรากฏผลการค้นคว้าออกมาเหมือนกัน เป็นการสนับสนุนแนวความคิด Two – step flow ที่ว่าสื่อมวลชนมีอิทธิพลน้อยมาก เมื่อเทียบกับการสื่อสารแบบตัวต่อตัวโดยผู้นำทางความคิดชักจูงใจให้ประชาชนยอมรับความคิด วัตถุสิ่งของ หรือการปฏิบัติที่แปลกใหม่ ผลการค้นคว้าในระยะหลังมีทั้งสนับสนุนและขัดแย้งกับหลักของ Two – step flow hypothesis ที่พบในระยะแรก ถ้าประมวลจากการค้นพบทั่วไปแล้วจะพิจารณาเห็นว่า Two – step flow มีจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องหลายประการ คือ

            1. การสื่อสาร Two – step flow ไม่สะท้อนให้เห็นสภาพของกระบวนการสื่อสารในสังคมที่แท้จริง การสื่อสารอาจมีมากกว่าสองจังหวะก็เป็นได้ คือหลังจากประชาชนได้รับทราบข่าวสารจากสื่อสารมวลชนแล้ว ก็มีการส่งต่อกันไปเป็นทอดๆ แบบไม่จบสิ้น หรือไม่ก็การสื่อสารมวลชนอาจมีจังหวะเดียว คือสื่อสารมวลชนสามารถส่งสารถึงประชาชนโดยตรงในครั้งเดียว

            2. การสื่อสาร Two – step flow ไม่แยกให้เห็นข้อแตกต่างในด้านหน้าที่ของสื่อแต่ละประเภทเกี่ยวกับขั้นตอนของการตัดสินใจรับแนวความคิดใหม่ (Innovation-decision process) นักวิชาการส่วนมากค้นพบว่าสื่อมวลชนมีผลอย่างมากสำหรับกระตุ้นให้คนตระหนัก (Awareness) เกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ ส่วนสื่อสารแบบตัวต่อตัวมีอิทธิพลสำคัญชักจูง (Persuasion) ให้ประชาชนเปลี่ยนทัศนคติ (Attitude) หรือ ยอมรับแนวความคิดใหม่ (Adoption)

            3. การสื่อสาร Two – step flow ถือว่าเฉพาะบุคคลที่เรียกว่า  ผู้นำด้านความคิด (Opinion leaders) เท่านั้นที่กระตือรือร้นและสนใจในการรับฟังและถ่ายทอดข่าวสาร ส่วนประชาชนทั่วไป (Publics) นั้นค่อนข้างเฉื่อยชาและขาดความสนใจข่าวสาร สมมติฐานนี้ดูเหมือนไม่จริงเสมอไป ได้มีการค้นพบว่า Opinion leaders อาจกระตือรือร้นหรือเฉื่อยชาได้ และอาจเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับข่าวสารจากผู้อื่น
            4. การสื่อสาร Two – step flow ถือว่า บุคคลที่เรียกว่า ผู้นำด้านความคิด (Opinion leaders) นั้น รับทราบข่าวสารเฉพาะจากสื่อสารมวลชน (Mass media) และหน้าที่เบื้องต้นของสื่อมวลชนก็คือมุ่งเสนอข่าวสารให้ ผู้นำด้านความคิด (Opinion leaders) การเข้าใจเช่นนี้ไม่ถูกต้องนัก จากผลการวิจัยหลายแห่งพบว่า ผู้นำด้านความคิด (Opinion leaders) จริงๆ นั้น มักจะได้ข่าวสารมาจากแหล่งต่างๆ มากมายด้วยกัน มิใช่เฉพาะจากสื่อมวลชน อาจเป็นการติดต่อกับบุคคลภายนอกหรือการเดินทางติดต่อกับเมืองใหญ่ๆ เป็นต้น ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สื่อสารมวลชนอาจส่งสารโดยตรงถึงประชาชนทั่วไปได้โดยไม่ต้องผ่านคนกลาง

            5. การสื่อสาร Two – step flow ไม่แยกให้เห็นความแตกต่างของพฤติกรรมทางการสื่อสาร (Communication behaviors) ของผู้รับสารตามช่วงเวลาของการรับรู้ความคิดใหม่ (Innovative ideas) ผลจากการค้นคว้าเกี่ยวกับการกระจายความคิดใหม่แสดงว่าประชาชนที่รับรู้ในระยะเริ่มแรก (Early Knowers and adopters) มักจะใช้สื่อมวลชนมากกว่าผู้รับรู้หรือยอมรับในระยะหลัง (Late knowers and adopters) ฉะนั้น บุคคลที่เรียกว่า ผู้นำด้านความคิด (Opinion leaders) นั้นแท้จริงอาจเป็นเพียงผู้ที่รับรู้หรือยอมรับความคิดใหม่ก่อนคนอื่นก็ได้หาใช่มีคุณลักษณะเป็นผู้นำด้านความคิดที่แท้จริง
            6. การสื่อสาร Two – step flow ถือว่าผู้รับสาร (Audience) นั้นแยกได้เป็น 2 ประเภทเท่านั้น คือ ผู้นำด้านความคิด (Opinion leaders) และ Non-leaders หรือ (ผู้ตาม) Followers การแบ่งแยกแบบนี้เป็นการบิดเบือนแนวความคิดเกี่ยวกับลักษณะของ Audience ประการแรกลักษณะการเป็นผู้นำนั้นควรจะมองในลักษณะความต่อเนื่อง (Continuum) จากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่งตรงข้ามมิใช่แยกเป็นกลุ่ม (Category) อย่างชัดเจน ดังนั้น คนเราอาจมีลักษณะความเป็นผู้นำได้ ต่างกันตรงขอบเขตความมากน้อยของคุณสมบัตินั้น อีกประการหนึ่งบุคคลที่จัดเข้าเป็นผู้ตามนั้นความจริงแล้ว ใช่ว่าจะคอยตามผู้นำคนอื่นไปเสียหมดทุกอย่างและทุกเวลา จะเห็นได้ว่าจุดเด่นของทฤษฎีการสื่อสารมวลชน 2 จังหวะ ก็คือได้พิจารณาถึงความจริงที่ว่า มนุษย์มิได้อยู่โดดเดี่ยวในสังคม แต่มีการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในลักษณะเป็นกลุ่มปฐมภูมิ คือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นกลุ่มต่างๆ ในสังคมนี้ก่อให้เกิดเป็นเครือข่าย (interpersonal network) ในการสื่อสารมวลชน

            ผู้นำทางความคิด (Opinion Leaders) เป็นบุคคลในสังคมซึ่งติดต่อกับบุคคลอื่นๆ ในลักษณะความสัมพันธ์แบบใกล้ชิด หรือแบบกลุ่มปฐมภูมิ เช่น ญาติ หรือเพื่อนร่วมงานและมีอิทธิพลในลักษณะที่ไม่เป็นทางการเกี่ยวกับความคิดเห็น หรือการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ พฤติกรรมการเป็นผู้นำความคิดนี้ มีปรากฏอยู่ทั่วไปในสังคมส่วนต่างๆ ไม่ว่าที่บ้าน ที่ทำงาน โรงเรียน หรือที่ใดก็ตามที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเกิดขึ้น ผู้นำความคิดบางคนอาจจะมีอิทธิพลในหลายด้าน แต่ส่วนมากมักจะมีอิทธิพลต่อความคิดเห็นเฉพาะเรื่อง เช่น เรื่องการแต่งกาย การซื้อสินค้าบางอย่าง การเมือง การเลือกตั้ง การทำมาหากิน การกีฬา ผู้นำความคิดมักจะมีลักษณะไม่แตกต่างไปจากผู้ตาม (follower) มากนัก ทั้งนี้เนื่องจากการเป็นผู้นำความคิดนั้น ผู้นำกับผู้ตามมักจะต้องมีความสัมพันธ์กันค่อนข้างใกล้ชิด ดังนั้นทั้งสองฝ่ายจึงต้องมีความคล้ายคลึงกันพอสมควร แต่โดยทั่วไปแล้วผู้นำความคิดมักจะมีการศึกษา มีรายได้ หรือมีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมสูงกว่าผู้ตามเล็กน้อย นอกจากนั้นผู้นำความคิดเห็นมักจะติดต่อกับโลกภายนอกมากกว่า เช่น เปิดรับสื่อมวลชนสูงกว่า เข้าร่วมกิจกรรมสังคมมากกว่า เดินทางไปต่างถิ่นมากกว่า และติดต่อกับบุคคลที่มีความรู้หรือความเชี่ยวชาญมากกว่า ผู้นำความคิดตามแนวความคิดดังกล่าวนี้แตกต่างจากผู้นำ (leader) ในความเข้าใจทั่วไป คือมิได้เป็นผู้นำโดยตำแหน่งหรือแต่งตั้งเป็นทางการ ดังนั้นการมีอิทธิพลโดยตำแหน่งจึงไม่ใช่การเป็นผู้นำความคิดตามแนวความคิดนี้ เช่นการที่กำนันสั่งให้ลูกบ้านลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครเลือกตั้งหมายเลข 5 ลักษณะนี้มิใช่การเป็นผู้นำความคิด แต่ในกรณีที่กำนันพูดคุยกับลูกบ้านในฐานะเพื่อนบ้านและลูกบ้านเหล่านั้นได้รับอิทธิพลชักจูงใจจากการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการกับกำนันให้เลือกผู้สมัครหมายเลข 5 กรณีนี้ถือว่าเป็นผู้นำความคิดซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้นำโดยตำแหน่งกับผู้นำความคิดมักจะไม่ใช่บุคคลเดียวกัน เนื่องจากความแตกต่างทางสถานภาพที่ห่างกันไม่เอื้ออำนวยให้เกิดความใกล้ชิดสนิทสนมในลักษณะที่จะมีอิทธิพลแบบไม่เป็นทางการได้ อย่างไรก็ดีในชนบทเราอาจจะพบว่าผู้นำที่เป็นทางการ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครต่างๆ มักจะเป็นทั้งผู้นำโดยตำแหน่งและผู้นำความคิดพร้อมกันไป เนื่องจากทั้งผู้ใหญ่บ้านและลูกบ้านไม่มีความแตกต่างกันมากนัก และต่างก็มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดพอสมควร

          ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า ทฤษฎีนี้เชื่อว่า ข่าวสารที่ถูกส่งจากองค์กรสื่อมวลชนหรือผู้ส่ง มิได้ไปถึงผู้รับโดยตรงเสมอไป บางครั้งข่าวสารไปถึงผู้รับ ในลักษณะการส่งต่อกันสองทอด คือ  ลำดับแรกข่าวสารจะไปถึงผู้นำความคิด (Opinion Leaders) บางคนในชุมชนก่อน จากนั้นจึงถูกถ่ายทอดต่อไปยังบุคคลอื่นในกลุ่ม ผู้นำความคิด เป็นเพียงสมาชิกคนหนึ่งของกลุ่มสังคม หรือชุมชน ซึ่งทฤษฎีนี้เชื่อว่า เป็นผู้มีความกระตือรือล้นในการแสวงหาข่าวสาร ส่วนคนอื่นซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ เป็นพวกเฉื่อยชา ผู้นำความคิด จะเป็นผู้นำข่าวสารที่ได้รับมาจากแหล่งต่างๆ ไปเล่าให้บุคคลอื่นฟัง โดยอาจมีการเปลี่ยนแปลงข่าวสารให้เป็นไปตามความคิดของตน ขณะเดียวกันบุคคลที่ได้ฟังส่วนใหญ่มักจะเป็น บุคคลที่ถูกจูงใจได้ง่าย

แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการรู้เท่าทันข่าวปลอม (fake news )

           ข่าวปลอม (Fake News) เริ่มจาก การบอกต่อกันแบบปากต่อปาก / ใบปลิว/  เรื่องที่เล่าต่อ ๆ กันมา ยุคอินเทอร์เน็ตข่าวปลอมเริ่มมีการแพร่ระบาดทางฟอร์เวิร์ด เมล (Forward Mail) เกิดการส่งต่อกันมากขึ้น ยุคสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media).ข่าวปลอม (Fake News) จากพฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเปลี่ยนแปลงไป เปลี่ยนมาเสพข่าวสารจากสื่อสังคมออนไลน์มากขึ้น สำนักข่าวดัง เปลี่ยนมาเป็นการอ่านพาดหัวข่าว หรือ อ่านข่าวที่คนรู้จักส่งต่อ หรือแชร์มาแทน ทำให้เกิดสำนักข่าวหน้าใหม่ ๆ จำนวนมาก สำนักข่าวเหล่านี้รู้ว่าผู้รับสารชอบข่าวแบบไหน จึงพยายามประดิษฐ์หรือสร้างสรรค์ข่าวแบบนั้นออกมา 

           คำจำกัดความของข่าวปลอม ข่าวปลอม (Fake News) คือ การรายงานข่าวสารที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อผลประโยชน์ หรือจุดมุ่งหมายทางการเมือง ความหมายของข่าวปลอม 

           Fake News หมายถึง ข่าวที่มีเนื้อหาอันเป็นเท็จ

           Fake News หมายถึง ข่าวที่เป็นเท็จ เรื่องราวเหล่านั้นถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยไม่มีข้อเท็จจริงที่สามารถตรวจสอบได้แหล่งที่มาหรือคำพูดได้

           Fake News หมายถึง ข้อมูลชุดหนึ่งที่ทำขึ้นมา โดยมีเจตนาจะบิดเบือนและโจมตีบุคคล กลุ่มคน หรือองค์กร มีเนื้อหากระตุ้นอารมณ์เพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้รับสาร หรือ “พาดหัวเรียกแขก”

           ประเภทของข่าวปลอม

                  1. การโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) เป็นข้อมูลที่แพร่กระจายไปสู่ความคิดหรือเปลี่ยนความคิด มุมมอง ทำให้รู้สึกคล้อยตาม

                  2. การยั่วให้คลิก (Clickbait)  การกระตุ้นความสนใจของผู้คนให้คลิกผ่านเนื้อหา เพื่อเพิ่มรายได้จากโฆษณา

           วิธีตรวจสอบคลิกเบต (Clickbait) ก่อนคลิกเข้าไปอ่านข่าวหรือบทความต่าง ๆ ควรสังเกตดังต่อไปนี้

                  1.มักมีคำกระตุ้นให้คลิก พร้อมกับเครื่องหมายตกใจในชื่อบทความ เช่น ตะลึง!! อึ้ง!! เกินคาด!! ไม่น่าเชื่อ!!

                  2.มักมีการพาดหัวเกินจริง ปิดบังข้อมูลบางส่วน เมื่อคลิกเข้าไปดูแล้วไม่ใช่ข่าวใหญ่

                  3.มักตั้งชื่อเว็บไซต์คล้ายสำนักข่าวที่มีชื่อเสียง เพื่อหลอกให้ดูว่ามาจากสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือ

                  4.บางเว็บไซต์อาจไม่ตั้งชื่อเลียนแบบสำนักข่าว แต่จะใช้ชื่อที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น ข่าวน่ารักจัง ข่าวไทยไทย

           การป้องกันคลิกเบต (Clickbait)

                 1.ตรวจสอบชื่อเว็บไซต์ หรือลิงค์ของข่าว หรือบทความที่แชร์มาบนโซเชียลมีเดียทุกครั้งก่อนคลิกเข้าไปอ่าน

                 2.หลีกเลี่ยงการคลิกเข้าไปอ่านข่าว หรือบทความซึ่งพาดหัวด้วยข้อความที่ไม่น่าเชื่อถือ

                 3.หลีกเลี่ยงการคลิกลิงค์ที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งแชร์มาจากในโซเชี่ยล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่ไม่รู้จัก

                 4.ตรวจสอบที่มาของข่าว หรือข่าวในสำนักข่าวอื่นๆ ว่าข้อมูลตรงกันหรือไม่ ก่อนที่จะแชร์ต่อไปให้ผู้อื่น

                 5.อัพเดตซอฟต์แวร์และติดตั้งสแกนไวรัส เพื่อป้องกัน Malware หากหลงคลิกเข้าไปในเว็บไซต์ Clickbait 

          ประเภทของข่าวปลอม

                1. เนื้อหาที่ได้รับการสนับสนุน (Sponsored content) หรือเนื้อหาโฆษณาบนสื่อออนไลน์

                2. ข่าวล้อเลียนและเสียดสี (Satire and Hoax) ข่าวล้อเลียนเป็นเรื่องตลกที่นำเสนอในรูปแบบทั่วไป ใช้เนื้อหาที่ตลกขบขันเพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ข่าวในโลกแห่งความเป็นจริง

                3.ข่าวที่ผิดพลาด (Error)  การเขียนข้อความที่ผิดที่ทำให้ผู้รับสารเข้าใจไปในทิศทางอื่น หรือไม่เข้าใจในข่าวนั้น

                4.ข่าวที่นำเสนอเอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (Partisan) เป็นข่าวที่บิดเบือนเนื้อหา หรือสร้างขึ้นมาเพื่อเข้างข้างหรือโจมตีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

           ประเภทของข่าวปลอม

                1.ทฤษฎีสมคบคิด (Conspiracy theory) เป็นเรื่องเล่าหรือบทความที่สร้างขึ้นมาจากความคิดของคน หรือกลุ่มคน โดยนำเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาปะติดปะต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจมีวัตถุประสงค์ซ่อนเร้นอื่น ๆ เพื่อให้ประโยชน์ ให้โทษต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลหนึ่งใด ลักษณะทฤษฎีสมคบคิด มีข้อเท็จจริงประกอบอยู่ส่วนหนึ่ง เพียงเพื่อเสริมให้เกิดความน่าเชื่อถือว่ามีหลักฐานสนับสนุนที่ดูเหมือนเกี่ยวข้องกันเท่านั้น อาจมีเหตุผลสนับสนุนจากความเชื่อส่วนบุคคล ศาสนา การเมือง หรือวัฒนธรรม

                2.วิทยาศาสตร์ลวงโลก (Pseudoscience) คือ การแอบอ้าง หรือความเชื่อ หรือแนวทางปฏิบัติ ที่บอกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ แต่จริง ๆ แล้วไม่ได้ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง เช่น สุขภาพ หรืองานวิจัย

           ประเภทของข่าวปลอม

                1. ข่าวที่ให้ข้อมูลผิด ๆ (Misinformation) ข่าวที่ชี้นำให้เกิดความเข้าใจผิด  ตั้งใจบิดเบือน

                2. ข่าวปลอมที่ถูกสร้างขึ้นอย่างสมบูรณ์ (Bogus) คือข่าวที่มีเนื้อเรื่อง ภาพ หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นเท็จมาประกอบกัน

           รูปแบบเนื้อหาของข่าวปลอม(Fake News) การจำแนกรูปแบบเนื้อหาของข่าวปลอมและข่าวที่สร้างความเข้าใจผิด หรือบิดเบือนตามประเภทเนื้อหา ได้ 7 รูปแบบ 

                1. มีเนื้อหาเลียนแบบ ล้อเลียน เสียดสี (Satire or Parody) มีเนื้อหาล้อเลียน เสียดสีให้รู้สึกขบขัน

                2. มีเนื้อหาชี้นำ (Misleading Content) อาจมีเนื้อหาที่เป็นข้อเท็จจริง แต่อาจบิดเบือนข้อมูลไปในเชิงชี้นำไปในทางใดทางหนึ่ง เพื่อผลประโยชน์บางอย่าง

                3. มีเนื้อหาแอบอ้าง (Imposter Content) การแอบอ้างเป็นแหล่งข้อมูลหรืออ้างตัวเป็นแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือให้ข้อมูล

           รูปแบบเนื้อหาของข่าวปลอม(Fake News)

                 1. เนื้อหาที่ประดิษฐ์ขึ้น (Fabricated Content) เป็นเนื้อหาปลอมที่สร้างขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เป็นเจตนาที่จะสร้างเนื้อหาที่เป็นข่าวปลอมขึ้นมา

                 2. มีการเชื่อมโยงเนื้อหาที่ผิด (False Connection) มีเนื้อหาพาดหัวข่าว ภาพประกอบข้อมูล รายละเอียดไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

                 3. เนื้อหาที่ผิดบริบท (False Context) มีเนื้อหาข้อมูลจริงแต่ใช้ไม่ถูกในบริบทหรือสถานการณ์นั้น

                 4. เนื้อหาที่หลอกลวง (Manipulated Content) มีเนื้อหาข้อมูลจริงแต่ใช้เพื่อเจตนาหลอกหลวง

           กระบวนการสร้างข่าวปลอม (Fake News) บนเฟซบุ๊ก

                 1. การเกิดข่าวปลอมบนเฟซบุ๊ก เกิดจากเนื้อหาหลายประเภท รวมทั้งทฤษฎีการสมคบคิด การโฆษณาชวนเชื่อ และคลิกเบท เพื่อหวังให้ได้ผลประโยชน์บางอย่าง เช่น ทางการเมือง

                 2. เว็บไซต์หรือบุคคลทั่วไปที่รายงานข่าวปลอมเสมือนกับข่าวจริง มักจะอ้างถึงแหล่งข่าวที่น่าเชื่อได้ต่าง ๆ มาอ้างอิง เพื่อให้ข่าวนั้นดูเหมือนเป็นข่าวที่เชื่อถือได้มากที่สุด

                 3. บล็อกและเว็บไซต์โปรโมทข่าวปลอมบนหน้าเฟซบุ๊ก ใช้หัวข้อข่าวแบบยั่วให้คลิก หรือคลิกเบท แล้วเปลี่ยนเส้นทางเข้าชมไปเว็บไซต์ของตัวเอง ซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักจากการโฆษณา

           กระบวนการสร้างข่าวปลอม (Fake News) บนเฟซบุ๊ก

                 1. ผู้ใช้เฟซบุ๊กส่งต่อหรือแชร์เรื่องราวในบนหน้าไทม์ไลน์และกลุ่มของตัวเอง หลังจากข้อมูลปลอมถูกวางลงในระบบนิเวศ (Ecosystem) ข่าวของเฟซบุ๊ก และมักปรากฏหน้านิวส์ฟีด (News Feed) เวลาของผู้ใช้นำข่าวปลอมนั้นกลับมา และแชร์เนื้อหาต่อ

                 2. ผู้สร้างข่าวปลอมรายอื่นๆ คัดลอกเรื่องราวและเผยแพร่อีกครั้งบนเฟซบุ๊ก คือมีการแชร์ต่อ ๆ ทั้งคัดลอกเนื้อเดิม หรือเพิ่มรายละเอียดใหม่

                 3. ข่าวปลอมกลายเป็นเรื่องที่มีแนวโน้มได้รับความนิยมและยิ่งเผยแพร่ออกไปมากขึ้น จากระบบอัลกอริทึ่มของเฟซบุ๊ก ซึ่งลำดับความสำคัญของข่าวปลอมนั้นให้สูงมาก สุดท้ายเกิดการแพร่กระจายแบบไวรัล (Viral)

          กระบวนการสร้างข่าวปลอม (Fake News) บนเฟซบุ๊ก

                 1. ข่าวปลอมเหล่านั้นได้รับการตรวจสอบและยืนยันโดยบุคคลสาธารณะ (Public Figure) ในฐานะที่เป็นข่าวปลอมได้เผยแพร่อย่างไวรัลบนเฟซบุ๊ก และกลายเป็นโอกาสที่ข่าวปลอมนั้นกลายเป็นกระแสหลัก หรือเรื่องจริง

                 2. ผู้สร้างข่าวปลอมสร้างรายได้จากการนำข่าวปลอมมาวนเวียนใช้ต่อไปเป็นวัฏจักร เพราะผู้ใช้เฟซบุ๊กที่เข้าชมเนื้อหาข่าวเว็บไซต์ข่าวปลอมที่แฝงไปด้วยโฆษณาและเครื่องมือในการติดตามข้อมูลของผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์นั้น

แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวน

ความหมายและความสำคัญของข่าวเชิงสืบสวน

              ข่าวเชิงสืบสวนมีความสำคัญอย่างยิ่งในระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย เนื่องจากสื่อมวลชน เป็นกลไกที่ได้รับการยอมรับจากสังคมให้ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐแทนประชาชนที่เลือกบุคคลเหล่านี้มาบริหารประเทศแทนตน การสื่อข่าวสืบสวนเป็นแสดงถึงภาระหน้าที่ในบทบาทสำคัญของสุนัขเฝ้าบ้าน (Watchdog) เป็นช่องทางและวิธีการตรวจสอบ ติดตามขุดค้นพฤติกรรมมิชอบของหน่วยงานภาครัฐมาเปิดเผยให้ผู้อ่านทราบ ตามสิทธิเสรีภาพการรับสารของประชาชนในประเทศประชาธิปไตย การสื่อข่าวเชิงสืบสวนมีความสำคัญเพราะเป็นหน้าที่ของสื่อมวลชนและหนังสือพิมพ์ในการสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นกับการบริหารประเทศตามปรัชญาประชาธิปไตย (Democratic Governance) ซึ่งเป็นบทบาทในฐานะวิชาชีพที่ได้รับการยกย่องเป็น “ฐานันดรที่ 4” ซึ่งหนังสือพิมพ์ถูกกำหนดให้ตรวจสอบรัฐบาลให้มีความตระหนักถึงความรับผิดชอบ (Accountability) ต่อความโปร่งใสในการบริหารประเทศด้วยการทำหน้าที่รายงานข้อมูลข้อเท็จจริงเพื่อพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของประชาชนและสาธารณะโดยการเปิดโปงข้อมูลที่รัฐบาลหรือผู้มีอำนาจใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบใดๆ เพราะฉะนั้นการรายงานข่าวเชิงสืบสวนจึงมีความสำคัญยิ่งต่อการจรรโลงรักษาระบบประชาธิปไตย เป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบกลั่นกรองความถูกต้องอย่างชอบธรรม (Check and balance) เปรียบเสมือนเครื่องมือที่มีคุณค่า (Valuable Mechanism) สำหรับเฝ้าระวังให้ความเป็นประชาธิปไตยเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด (มาลี บุญศิริพันธ์, 2555, น. 8)

              ในภาษาอังกฤษคำว่า Investigative Reporting หรือ Investigative Journalism  ราชบัณฑิตสถานได้บัญญัติศัพท์ไทยในวิชาการหนังสือพิมพ์ว่า “การรายงานข่าวเชิงสืบสวน” ในวงการสื่อมวลชนทั่วไปมักจะเรียกว่า “ข่าวเชิงสืบสวน” อย่างไรก็ดี ในทัศนะนักวิชาชีพวารสารศาสตร์เห็นสมควรเรียกว่า “การสื่อข่าวเชิงสืบสวน” ซึ่งมีนักวารสารศาสตร์บางท่านให้ความสำคัญกับการสื่อข่าวเชิงสืบสวนว่า “มีคุณค่าทางข่าวสูง” (พิศิษฐ์ ชวาลาธวัช, 2549, น. 49)

               ฮูดซัน เอฟ ดับเบิลยู (Hodgson F.W., 1993, p. 35) นักข่าวที่มีชื่อเสียงในประเทศอังกฤษระบุไว้ว่า “การสื่อข่าวเชิงสืบสวนมักจะใช้เรียกการสื่อข่าวที่มีรายละเอียด มีการตรวจสอบยืนยันในลักษณะเจาะลึก โดยอาศัยการเกาะติดเป็นเวลานานๆ”

              บุญเลิศ ช้างใหญ่ (2536, น. 2-5)ได้อธิบายคำว่า “สืบสวน” ไว้ใน หนังสือคู่มือการรายงานข่าวเชิงสืบสวนชุด “เทคนิคการสัมภาษณ์และการทำข่าวเชิงสืบสวน” โดยยกตัวอย่างการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ ที่จะต้องสืบสวนสอบสวนหาตัวคนร้ายหรือผู้กระทำผิดกรณีเกิดเหตุอาชญากรรมต่างๆ มาดำเนินคดีตามกฎหมายบ้านเมือง โดยการสืบสวนสอบสวนต้องอาศัยพยานหลักฐานแวดล้อมทุกอย่างให้มากที่สุด เพื่อคลำไปหาผู้กระทำความผิดและผู้บงการตัวจริงให้ได้ และมักจะมีข่าวออกมาเสมอว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจซ้อมผู้ต้องหาเพื่อให้ผู้ต้องหายอมรับสารภาพว่าได้กระทำผิด ในวิชาการหนังสือพิมพ์ คำว่า “ข่าวเชิงสืบสวน” ก็มีนัยโดยความหมายไม่สู้จะผิดแผกแตกต่างไปจากความเข้าใจของชาวบ้านที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจเท่าไรนัก นั่นคือการค้นหาข้อเท็จจริงที่จะไม่เหมือนกันก็คือหนังสือพิมพ์ไม่มีอำนาจหน้าที่ไปคาดคั้นผู้ใดให้เปิดเผยข้อเท็จจริงและไม่มีอภิสิทธิ์ อิทธิพลใดๆ จะไปบังคับขู่เข็ญหรือกระทำทารุณกับใครให้สารภาพว่าได้กระทำผิดเพื่อให้คายความจริงหรือความเท็จออกมา ดังนั้นจึงไม่เคยปรากฏว่านักข่าวเตะหรือกระทืบหรือซ้อมผู้ใดเพื่อให้บอกว่าตัวเองคือคนร้าย จะมีแต่นักข่าวถูกอำนาจมืดทำร้ายจนถึงแก่ชีวิตคนแล้วคนเล่าเพราะไปแตะความจริงที่บางคนเขาต้องการปกปิดเอาไว้ให้เป็น “ความลับ” ที่สุดแม้จะเป็นอันตรายต่อสวัสดิภาพของคนทำข่าวผู้มีหน้าที่แสวงหาสัจจะและความจริงแท้มาตีแผ่ต่อสาธารณชน แต่นักข่าวหรือนักหนังสือพิมพ์ก็มิได้ย่อท้อต่อการปฏิบัติหน้าที่ขุดค้นเปิดโปงพฤติการณ์อันมิชอบทั้งปวงที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของส่วนรวมเสนอให้ประชาชนคนอ่านได้รับรู้

              Joseph Pulitzer (อ้างใน สมหมาย ปาริจฉัตต์, 2537, น. 115) นักหนังสือพิมพ์ระดับปรมาจารย์ชาวอเมริกัน เป็นผู้ผลักดันข่าวเชิงสืบสวนและก่อตั้งรางวัลพูลิตเซอร์ ได้กล่าวไว้ว่า “อย่าพอใจเพียงแต่ได้เสนอสิ่งที่มองเห็นเท่านั้น” ความหมายดังกล่าวน่าจะมาจากวิธีปฏิบัติในการหาข่าวที่มีลักษณะค้นหา ขุดคุ้ยข้อมูลข้อเท็จจริงให้ลึกไปกว่าตัวเหตุการณ์ที่เรามองเห็นในขณะนั้น

              สมหมาย ปาริจฉัตต์ (2537, น. 23-25) ซึ่งได้กล่าวไว้ใน หนังสือข่าวเจาะ-เจาะข่าว ว่า “ข่าวเชิงสืบสวน หมายถึงข่าวที่ได้มาด้วยการสืบค้น เจาะลึกเรื่องราวออกมาตีแผ่อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งพบข้อเท็จจริงที่ถูกต้องตามเหตุการณ์นั้นทุกประการแล้วนำมาตีแผ่จนสาธารณชนได้รับรู้อย่างถูกต้องกว้างขวาง ข่าวสืบสวนสอบสวนต้องให้รายละเอียดในด้านลึกและด้านกว้างมากกว่าข่าวปกติ ผู้อ่านหรือประชาชนได้รับรู้เกิดความคิดถึงสาเหตุของปัญหาโดยมีการวิเคราะห์แง่มุมของข่าวที่เป็นระบบกว่า ข่าวสืบสวนสอบสวนจึงเป็นข่าวที่ยกระดับจากการสื่อข่าวปกติ จนเป็นข่าวที่ทำให้เกิดการติดตาม เบื้องหลังที่ซ่อนอยู่ที่เป็นภัยต่อสังคมถูกนำมาเปิดเผย ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางและเกิดการเปลี่ยนแปลงจนสามารถหยุดหรือยุติการกระทำเรื่องนั้นได้ในที่สุด”

             ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี (อ้างใน สุชาดา จักรพิสุทธิ์, 2550) อดีตนายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยหลายสมัยเขียนไว้ในเอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง “แนวคิดเบื้องต้นในการสื่อข่าวสืบสวน” ตีพิมพ์โดยสมาคมนักข่าว พ.ศ.2541 ได้ให้ความสำคัญของข่าวสืบสวนว่า “ข่าวสืบสวนมีความสำคัญต่อสังคมส่วนรวมและต่อตัวหนังสือพิมพ์เอง กล่าวคือเป็นการคานอำนาจระหว่างสถาบันต่างๆ ในสังคม เป็นการเปิดประเด็นใหม่ในเรื่องที่ไม่มีใครพูดถึง เป็นการสื่อข่าวที่มีความลึกซึ้ง เป็นกลาง เป็นเครื่องมือในการแสวงหาข้อเท็จจริง สิ่งที่ยังไม่ปรากฏสิ่งที่ซ่อนเร้นปิดบังเป็นหน้าที่ของข่าวเชิงสืบสวนที่ต้องไปเจาะเอาความจริงนั้นออกมา และยังเป็นกลไกทางสังคมในการผดุงความถูกต้อง ข่าวเชิงสืบสวนยังแสดงให้เห็นถึงพลังอำนาจของข่าวสารอันเป็นการทำหน้าที่ ที่สมบูรณ์ของสื่อมวลชนโดยสร้างความน่าเชื่อถือให้องค์กรสื่อและยังจะช่วยผลักดันยอดขายรวมถึงยอดโฆษณา ”

             เดวิด สปาร์ค (David Spark, 1999, P.2) ได้ระบุไว้ในหนังสือ “Investigative Reporting”  ว่า การสื่อข่าวเชิงสืบสวนหมายถึงการนำเสนอความเห็นข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการขุดคุ้ย การค้นหาคำตอบ ซึ่งเป็นการรายงานข่าวที่จะต้องให้ได้คำตอบด้วย

              สายศิริ ด่านวัฒนะ (2548) ได้สรุปความหมายเกี่ยวกับการสื่อข่าวเชิงสืบสวนไว้ว่า “การสื่อข่าวเชิงสืบสวน หมายถึงการสื่อข่าวในลักษณะเจาะลึก เกาะติด มีการสืบค้นข้อมูลทั้งด้านกว้างและลึกออกมาตีแผ่อย่างต่อเนื่อง ทำให้ข้อเท็จจริงและข้อมูลเชิงลึกที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ เป็นที่ปรากฏต่อสาธารณะและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางใดทางหนึ่ง”

              เสนาะ สุขเจริญ (2549, น. 57) ได้ให้นิยามคำว่า “ข่าวสืบสวน” ไว้ในหนังสือข่าวสืบสวนว่าหมายถึงการแสวงหาข้อเท็จจริงจนยากปฏิเสธว่ามิได้เป็นอย่างนั้น เพื่อนำมาเปิดเผย เผยแพร่ต่อสาธารณชน เป็นข่าวที่มีพลังและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

ธีรธนา ขุนทอง (2550) ได้สรุปความหมายเกี่ยวกับข่าวเชิงสืบสวนไว้ว่า “ข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนเป็นวิธีการสื่อข่าวที่ผู้สื่อข่าวพยายามขุดคุ้ยเรื่องลึกลับซับซ้อน มีข้อมูลซ่อนเร้น โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่น การฉ้อฉลเอารัดเอาเปรียบประชาชนหรือเป็นภัยต่อสังคมแล้วนำมาเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับทราบ”

             ทัศชยันต์ วาหะรักษ์ (2554) ได้สรุปความหมายเกี่ยวกับข่าวเชิงสืบสวนไว้ว่า “การสื่อข่าวเชิงสืบสวน หมายถึง การสื่อข่าวในลักษณะเจาะลึก เกาะติด มีการสืบค้นข้อมูลทั้งด้านกว้างและลึกออกมาตีแผ่อย่างต่อเนื่องทำให้ข้อเท็จจริงและข้อมูลเชิงลึกที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ที่เป็นปรากฏต่อสาธารณะและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางใดทางหนึ่ง”

              มาลี บุญศิริพันธ์ (2555, น. 4) ได้กล่าวไว้ในหนังสือเอกสารการสอนชุดวิชาการข่าวขั้นสูงและการบรรณาธิกร เรื่องการรายงานข่าวเชิงสืบสวนและตีความ เล่มที่ 1 : หน่วยที่ 5มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชว่า “ข่าวสืบสวนหมายถึงข่าวที่ผู้สื่อข่าวมุ่งแสวงหาข้อเท็จจริงในเรื่องที่แหล่งข้อมูลไม่ต้องการเปิดเผย มีเจตนาปิดบังไม่ให้สาธารณชนได้รับรู้หรือเท่าทัน ส่วนมากเป็นเรื่องไม่ชอบมาพากล ทุจริตคิดมิชอบ คอร์รัปชั่น หรือเบียดบังผลประโยชน์ส่วนรวมเพื่อประโยชน์ส่วนตนอย่างผิดกฎหมายและศีลธรรม โดยใช้วิธีการสื่อข่าวแบบขุดคุ้ย ขุดค้น เจาะหาข้อมูลอย่างต่อเนื่องจนได้ความจริงที่ถูกปกปิดนำมาเสนอต่อผู้อ่านได้”

              ทิม ฮาร์โรเวอร์ (Tim Harrower, 2013, p. 327) ได้ระบุไว้ในหนังสือ “Inside Reporting” ว่า งานข่าวเชิงสืบสวน (Investigative Journalism) หมายถึงการสื่อข่าวที่เป็นผลจากการสืบค้นหาคำตอบอย่างชัดเจนเพื่อเปิดโปงข้อมูลการกระทำความผิดหรือการคอร์รัปชั่นของบุคคล องค์กรหรือสถาบันที่ปกปิดความผิดนั้นไว้โดยนำมารายงานให้สาธารณชนได้รับรู้

              มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา (2558) ซึ่งได้สรุปความหมายเกี่ยวกับข่าวเชิงสืบสวนไว้ว่า “สื่อเชิงสืบสวน หมายถึงงานข่าว รายการ รายงานที่สะท้อนความพยายามของผู้ผลิตในการสืบค้นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะเพื่อขุดคุ้ย ตรวจสอบ เปิดโปงการกระทำผิด ความไม่ชอบมาพากลต่างๆ หรือเพื่ออธิบาย ขยายความ คลี่คลายเรื่องราวที่มีความซับซ้อน มีเงื่อนงำ เป็นที่สงสัย หรือถูกปกปิดให้เป็นความลับ”

              มนตรี จุ้ยม่วงศรี (2558) ก็ได้สรุปความหมายเกี่ยวกับข่าวเชิงสืบสวนไว้ว่า “ข่าวเชิงสืบสวน คือข่าวที่อธิบายปรากฏการณ์ที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ โดยนักข่าวต้องเข้าไปตรวจสอบ ติดตาม ในลักษณะเกาะติด เจาะลึก ขุดคุ้ยข้อมูลที่ซ่อนเร้นจากผู้มีอำนาจหน้าที่ โดยมีหลักฐานยืนยันชัดเจนมาเปิดเผยให้ประชาชนได้รับทราบ เพื่อนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงทางใดทางหนึ่ง”

              องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO, 2017)ได้ให้ความหมายของคำว่า “ข่าวเชิงสืบสวน” หมายถึงการเปิดโปงเรื่องที่ปกปิดไว้อาจจะเป็นบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจจะโดยไม่เจตนาหรือเจตนาก็ตามในเบื้องหลังเบื้องลึกของข้อเท็จจริงและรวมถึงการวิเคราะห์สถานการณ์และเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดต่อสาธารณชน

             Nils Hanson (2017) ผู้นำนิตยสารทีวีสืบสวน Uppdrag Granskning ของชาวสวีเดน ได้ให้ความหมายว่า “ข่าวเชิงสืบสวน” คือการสื่อข่าวที่ไม่ใช่แต่เพียงแค่ส่งผ่านข่าวที่มีอยู่แล้ว แต่หมายถึงข่าวที่ตรงไปตรงมาที่ไม่มีการแทรกแซงใดๆ โดยสามารถทำให้ข้อเท็จจริงปรากฏด้วยการวิเคราะห์เจาะลึกหรือมีข้อเท็จจริงอย่างละเอียดที่ค้นพบโดยพุ่งเป้าไปที่การตรวจสอบการละเมิดกฎหมายหรือกฎของสังคมโดยการกระทำขององค์กรหรือบุคคล เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

             สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ (2560, น. 46) ได้กล่าวไว้ใน หนังสือการรายงานข่าวเชิงสืบสวน ว่า “ในปัจจุบันข่าวสืบสวนมีความสำคัญกับงานข่าวขององค์กรข่าวทุกประเภทเนื่องจากผู้รับสารต้องการความแตกต่างของข้อมูลข่าวสาร สังคมมีสภาพปัญหาที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น สังคมมีแนวโน้มนิยมความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น บทบาทและอิทธิพลของสื่อโซเชียลที่นับวันเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการสื่อข่าวเชิงสืบสวนจึงมีความสำคัญต่อทั้งสังคมส่วนรวมและองค์กรข่าว ข่าวสืบสวนมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานในสังคมโลกนับแต่สังคมมีหนังสือพิมพ์ขึ้นเป็นสถาบันหนึ่งในสังคมเพื่อการตรวจสอบอำนาจและการสร้างความยุติธรรมและเท่าเทียม แม้ปัจจุบันที่หนังสือพิมพ์ลดบทบาทลงอย่างชัดเจน แต่งานข่าวเพื่อการตรวจสอบในลักษณะข่าวเชิงสืบสวนก็ยังคงมีความสำคัญต่อองค์กรข่าวในยุคดิจิทัล”

             ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า การสื่อข่าวเชิงสืบสวน หมายถึงการปฏิบัติงานด้วยวิธีการค้นคว้าและแสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ด้วยการสืบสวนเบื้องลึกเบื้องหลังของข่าว จนกระทั่งได้ความจริงและข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือ มีหลักฐานพิสูจน์และตรวจสอบได้ โดยมีการทำงานอย่างเป็นระบบมีกระบวนการแล้วรายงานหรือนำเสนอข่าวนั้นผ่านเครื่องมือสื่อสารหรือสื่อมวลชน (Mass Media) ด้วยแพลตฟอร์ม (Platform) ต่างๆ ไปสู่ยังสาธารณชนทั่วไปและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางหนึ่งทางใด

กระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน

กระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวนสามารถสรุปองค์ประกอบหลักในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวนได้ 7 ขั้นตอน ที่จะใช้เป็นแนวทางในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวนให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ดียิ่งขึ้นดังนี้คือ

1) การกำหนดหมายข่าว เป็นการค้นหาเหตุการณ์ที่เป็นประเด็นทางสังคมที่เกิดขึ้นซึ่งมีผู้ทำให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและประเทศชาติ การกำหนดหมายข่าวนั้นจะต้องเล็งเห็นแล้วว่าสิ่งที่จะทำต่อไปจะต้องเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดผลดีต่อส่วนรวมและประเทศชาติ เริ่มด้วยการเกิดแนวความคิดว่าจะทำข่าวเรื่องอะไร อาจเริ่มจากการสังหรณ์ใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นหรือได้แง่มุมจากคำบอกเล่าหรือมีผู้ให้เบาะแสทั้งเปิดเผยตัวตนและไม่เปิดเผยจนทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของความสงสัยซึ่งต้นตอของความจริงอาจได้จากหลายทาง จากตัวของนักข่าว แหล่งข่าวบุคคล จดหมายร้องเรียน จากข่าวประจำวัน จากแฟ้มข่าว จากเอกสารข้อมูลหรือจากการพบเห็นโดยบังเอิญซึ่งเกิดเป็นข้อสงสัยในลักษณะมุมมองที่เป็นเรื่องผิดปกติ

          2) การสร้างศูนย์รวมข่าว เป็นการค้นหาข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวข้องรอบด้านเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ด้วยการสำรวจข้อมูล แสวงหาข้อมูลแหล่งข่าวด้วยความระมัดระวัง รวดเร็วและกว้างขวางทั้งจากเอกสารและการสัมภาษณ์ โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้วารสารศาสตร์เชิงข้อมูล (Database Journalism) ในงานข่าวเชิงสืบสวนโดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดการฐานข้อมูล (Database Manager) เช่น การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การตรวจสอบยืนยันข้อมูล การนำเสนอข้อมูลข่าวสืบสวน วารสารศาสตร์เชิงข้อมูลในงานข่าวเชิงสืบสวนจึงเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานข่าวเชิงสืบสวนกับแนวทางอื่นๆ โดยนำมาใช้เพื่อศึกษาว่าจะสามารถเดินต่อไปได้จนบรรลุเป้าหมายหรือไม่ มีอุปสรรคและข้อจำกัดมากน้อยเพียงใด รวมทั้งการแสวงหาแหล่งข่าวของข่าวที่ได้กำหนดหมายข่าวไว้แล้วซึ่งจะมาจากข้อมูลทางเอกสาร ข้อมูลทางวัตถุสถานที่ และข้อมูลบุคคล ซึ่งจะเป็นผลทำให้เกิดความสำเร็จของการสื่อข่าวเชิงสืบสวน

          3) การคาดการณ์ล่วงหน้า ในการที่จะสื่อข่าวเชิงสืบสวนเรื่องต่างๆ นั้น ควรดูจากคุณค่าข่าว ผลที่จะได้รับประโยชน์ต่อส่วนรวม รวมทั้งทรัพยากรต่างๆ ปัญหาและอุปสรรคโดยการปรึกษากับผู้บริหารกองบรรณาธิการให้ชัดเจนก่อนที่จะมีการเดินหน้าต่อในงานข่าวเชิงสืบสวน การคาดการณ์ล่วงหน้าเป็นการประเมินข้อมูลทุกประเภทที่ค้นหาได้แล้ว นักข่าวจะต้องประเมินความเป็นไปได้ว่าข่าวเชิงสืบสวนในเรื่องที่จะทำนั้นสามารถดำเนินต่อไปจนถึงจุดจบได้หรือไม่ เพราะสุดท้ายจะเป็นการไม่คุ้มค่ากับทรัพยากรและเวลาที่สูญเสียไป นับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการสื่อข่าวเชิงสืบสวน

          4) การจัดแผนงานข่าว ด้วยการตั้งสมมติฐานและวางแผนงานให้ชัดเจน โดยอาศัยประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมาในเรื่องที่คล้ายกัน ว่าสิ่งใดจะเกิดขึ้นในเวลาต่อมา ผลของงานที่ออกมานั้นจะเป็นไปตามที่ได้ตั้งสมมติฐานไว้หรือไม่ โดยผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานคนเดียวครบวงจร (One Man Journalist) ก็จะต้องประเมินและตัดสินใจว่า จะทำข่าวชิ้นนี้หรือไม่ และในส่วนผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานเป็นทีมงานก็จะต้องร่วมกันประเมินและตัดสินใจโดยอาจใช้วิธีการตั้งสมมติฐานของงานวิจัยนำมาใช้ประกอบในการทำงานข่าวเชิงสืบสวน โดยจะต้องมีการวางแผนตั้งแต่ต้นจนจบรวมทั้งวิธีการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ละด้านที่ได้ประเมินไว้แต่ต้น ซึ่งอาจมีการพลิกผันแก้ไขไปตามสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อให้สำเร็จบรรลุไปสู่เป้าหมาย

          5) การกวาดข้อมูลข่าว แหล่งข้อมูลประกอบด้วย แหล่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร แหล่งข้อมูลที่เป็นบุคคล และแหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งข่าวเชิงสืบสวนนั้นมีผลกระทบต่อกลุ่มคนจำนวนมากทั้งผู้เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง ทั้งแหล่งข่าวและผู้สื่อข่าว จึงควรระวังผู้ให้เบาะแสข่าว ผู้สื่อข่าวจะต้องประเมินคุณค่าของผู้ให้เบาะแสข่าวด้วยว่าน่าเชื่อถือเพียงใดและข้อมูลที่ได้มามีข้อพิสูจน์อะไรเพื่อสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเท็จจริงหรือไม่ จะต้องตั้งสมมติฐานดูว่าผู้ให้เบาะแสข่าวมีจุดมุ่งหมายอะไรหากข่าวได้รับการเผยแพร่ ผู้ใดจะได้รับผลประโยชน์บ้าง หรืออาจหวังให้สื่อของเราเป็นเครื่องมือทำลายใครหรือไม่ หากการประเมินข้อมูลข้อเท็จจริงที่ได้จากผู้ให้เบาะแสข่าวแล้วพบว่าไม่น่าเชื่อถือ ก็ควรใส่แฟ้มไว้ก่อนเพราะอาจมีประโยชน์ต่อไปในวันข้างหน้า แต่ถ้าข้อมูลน่าเชื่อถือและมีผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่แม้การประเมินของกองบรรณาธิการจะพบว่าผู้ที่ให้ข้อมูลกับผู้สื่อข่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายชื่อเสียงของผู้อื่นก็ตาม ผู้สื่อข่าวก็ต้องนำเสนอ

          6) การสันนิษฐานงานข่าว ด้วยการตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกเป็นการตรวจสอบข่าวกับหลักฐานที่น่าเชื่อถือ เช่น เอกสาร แหล่งข่าวจากบุคคล การยืนยันข้อมูล การตรวจสอบข้อมูลจากหลายแหล่งข่าว รวมทั้งการตรวจสอบข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทุกครั้งก่อนการนำเสนอข่าวซึ่งเป็นการตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกเพื่อนำมาประเมินการทำงานทุกขั้นตอนต่อเนื่องเพื่อรวบรวมข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการสื่อข่าว โดยการเปรียบเทียบข้อมูลกับแหล่งต่างๆ เพื่อความถูกต้องเป็นจริงโดยใช้การประเมินผลงานเป็นระยะๆ เพื่อประเมินความสำเร็จและอุปสรรคเพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที

          7) การเสนอข่าวสืบสวน เป็นการนำเสนอข่าวเชิงสืบสวนไปสู่สาธารณชนในแพลตฟอร์ม (Platform) ต่างๆ ที่เป็นทั้งสื่อหนังสือพิมพ์ รายการโทรทัศน์และในแพลตฟอร์มที่เป็นสื่อดิจิทัล (Digital Media) โดยทุกคำพูดที่นำเสนอนั้นต้องเป็นความจริงและสามารถยืนยันได้ การเสนอข่าวสืบสวนนั้นสามารถทำเป็นรายงานพิเศษครั้งเดียวให้มีทั้งบทรายงาน ข้อเท็จจริง ตารางข้อมูล เกร็ดความรู้ บทสัมภาษณ์ รวมทั้งบทสรุป ตลอดจนภาพประกอบต่างๆ หรืออาจเสนอเป็นข่าวในลักษณะการรายงานเป็นตอนๆ ตั้งแต่เริ่มได้เบาะแสจนกระทั่งถึงบทสรุปผลขั้นสุดท้าย

แนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวนไปสู่การพัฒนากระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน

          1) ปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านทักษะ ความรู้และประสบการณ์ของนักข่าว พบว่า นักข่าวที่มีประสบการณ์การน้อยจะไม่มีทักษะและความรู้เพียงพอที่จะเริ่มทำงานข่าวเชิงสืบสวนและประการสำคัญนักข่าวส่วนใหญ่จะมีปัญหาในด้านความรู้ (Knowledge) โดยตรงและการรอบรู้ในเรื่องต่างๆ รวมทั้งการเรียนรู้การใช้งานคอมพิวเตอร์และการหาข้อมูลทางระบบอินเทอร์เน็ตให้มีความชำนาญ ในส่วนของแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านทักษะ ความรู้และประสบการณ์ของนักข่าว มีวิธีการดังนี้ นักข่าวจะต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลา มีความถูกต้อง ความยุติธรรม มีกระบวนการเก็บข้อมูล การสั่งสมข้อมูลไว้เป็นของส่วนตัว ในปัจจุบันสามารถค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีทำให้การสืบค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตทำได้ง่ายขึ้นสามารถเรียนรู้และฝึกปฏิบัติได้ องค์กรข่าวจะต้องจัดสร้างห้องสมุดข่าวขององค์กรข่าวเพื่อให้นักข่าวมีความรู้โดยตรงพร้อมทั้งรอบรู้ในเรื่องต่างๆ ที่จะสามารถทำข่าวเชิงสืบสวน และจะต้องส่งเสริมนักข่าวเข้าอบรมเพิ่มทักษะและความรู้ทางด้านการใช้เทคโนโลยี ในเรื่องการถ่ายภาพ ความรู้ในด้านการทำข่าวเชิงลึก ด้านการใช้ภาษาอังกฤษ การใช้งานคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสมัยใหม่รวมทั้งการหาข้อมูลทางระบบอินเทอร์เน็ตให้มีความชำนาญ ให้เรียนรู้ในด้านต่างๆ ที่นโยบายขององค์กรข่าวต้องการให้ทำข่าวในด้านนั้นๆ พร้อมทั้งส่งไปอบรมต่างประเทศซึ่งจะช่วยให้มีทักษะความสามารถมากยิ่งขึ้นด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างนักข่าวสถาบันต่างๆ ในระดับชาติและระดับนานาชาติเกิดขึ้น และประการสำคัญการเรียนจากประสบการณ์และสอนนักข่าวให้ทำข่าวเชิงสืบสวนตลอดเวลาในขณะที่เขาทำงาน (Learning by doing & Training on the job)  จึงเป็นการทำให้ได้ผลดีที่สุด

          2) ปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านการแสวงหาข้อมูลข่าว พบว่า นักข่าวส่วนใหญ่ขาดการค้นหาข้อมูลในเชิงลึก โดยเฉพาะนักข่าวหน้าใหม่จะไม่มีคลังข้อมูลส่วนตัว องค์กรข่าวมีคลังข้อมูลน้อย ความสามารถของนักข่าวในการค้นหาข้อมูลมีน้อยเนื่องจากขาดความรู้ ทักษะและประสบการณ์รวมทั้งองค์กรข่าวส่วนใหญ่ทำงานลักษณะไม่มีการวางแผน ไม่มีการทำระบบฐานข้อมูลข่าวและรายชื่อแหล่งข่าวไว้ ประการสำคัญด้านการเสาะหาข้อมูลเอกสารบางส่วนที่มีอยู่กับหน่วยงานของรัฐไม่สามารถเสาะหาได้เนื่องจากถูกปิดกั้นจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในส่วนของแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านการหาข้อมูลจากแหล่งข่าว มีวิธีการดังนี้ นักข่าวต้องมีความรู้ในเชิงระบบ ความรู้ในเชิงโครงสร้าง มีจิตสำนึกภายใต้อุดมการณ์ที่จะต้องทำความจริงให้ปรากฏ นักข่าวจะต้องสั่งสมหรือเก็บข้อมูลภายในเรื่องนั้นๆ มีคลังข้อมูลเป็นของตนเอง องค์กรข่าวจะต้องทำศูนย์ข้อมูลหรือระบบฐานข้อมูลไว้อย่างเพียงพอและสะดวกต่อการใช้ประโยชน์ เมื่อมีข้อมูลข่าวและรายชื่อแหล่งข่าวจะต้องพัฒนาระบบฐานข้อมูลระบบเกี่ยวกับการสนับสนุนในเรื่องต่างๆ ซึ่งในยุคของดิจิทัล (Digital) การหาข้อมูลข่าวสารปัจจุบันเปิดกว้างโดยการใช้อินเทอร์เน็ต องค์กรพัฒนาฝ่ายสารสนเทศ (Information Technology) สามารถทำให้การหาข้อมูลจากแหล่งข่าวสะดวกและได้ข่าวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น รวมทั้งกระบวนการหาข้อมูล (Crowd-sourcing) และการสร้างนักข่าวพลเมือง (Citizen Journalist) การมีส่วนร่วมของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แหล่งข่าวกลุ่มนี้จะมีส่วนช่วยขุดคุ้ยและตรวจสอบข้อมูลต่างๆ

          3) ปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านแหล่งข่าว พบว่า แหล่งข่าวจากส่วนราชการไม่ยอมเปิดเผยข้อมูล พลังจากประชาชนผู้มีส่วนได้เสียยังไม่ส่งเสริมสนับสนุนเท่าที่ควร รวมทั้งแหล่งข่าวบางคนไม่กล้าเปิดเผยข้อมูลหากมีผลกระทบต่อตนเองและครอบครัว ในส่วนของแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านแหล่งข่าว มีวิธีการดังนี้ ใช้วิธีการมีปฏิสัมพันธ์กับแหล่งข่าว สร้างแหล่งข่าวจากผู้ที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้เสียผลประโยชน์ในสังคม โดยจะต้องร่วมกันสร้างความเชื่อมั่น สร้างความไว้วางใจให้สังคมรับรู้ว่าทั้งนักข่าวและองค์กรข่าวสามารถปกป้องผู้ให้ข้อมูลได้ด้วยการปกปิดที่มาของข่าวและผู้ให้ข้อมูล รวมทั้งนักข่าวจะต้องกระทำตนเป็นตัวอย่างของการเป็นคนดี ตรงไปตรงมา อยู่ในสังคมแบบเป็นที่ยอมรับของประชาชน  

          4) ปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านการป้องกันและแก้ไขการถูกฟ้องร้องดำเนินคดี พบว่า บางครั้งการทำข่าวประเภทนี้มีความเสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาทและนักข่าวก็ขาดการช่วยเหลือในด้านกฎหมายซึ่งไม่มีองค์กรหรือหน่วยงานใดๆ เข้ามาช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องเมื่อเกิดคดีความจากการทำงานข่าวเชิงสืบสวน ในส่วนของแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านการป้องกันและแก้ไขการถูกฟ้องร้องดำเนินคดี มีวิธีการดังนี้ ควรแก้ไขด้วยทักษะ (Skill) องค์กรข่าวจะต้องมีฝ่ายกฎหมายที่จะช่วยนักข่าวในเบื้องต้นและจะต้องมีข้อมูลเพื่อแจ้งให้กับนักข่าวทราบว่าการรายงานข่าวในลักษณะใดมีผลทำให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรข่าว ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นมากมายตามมา ผู้ที่เป็นบรรณาธิการจะต้องมีความรู้ทางด้านกฎหมาย ข่าวที่นำเสนอต้องรอบคอบ รอบด้าน เป็นเรื่องจริง และได้ให้ความเป็นธรรมกับผู้เกี่ยวข้อง ให้โอกาสทุกฝ่ายได้ชี้แจง ก่อนที่จะนำเสนอข่าวจะต้องมีการตรวจสอบหลายๆ ครั้งก่อนนำเสนอ และประการสำคัญคือการทำตามหน้าที่โดยสุจริตจะเป็นเกราะคุ้มกันในทุกๆ ด้านรวมทั้งหลายภาคส่วนควรร่วมกันจัดตั้งองค์กรหรือหน่วยงานอิสระเพื่อช่วยเหลือนักข่าวประเภทนี้เมื่อมีการถูกฟ้องร้องในกรณีที่ทำงานข่าวเพื่อสาธารณประโยชน์

          5) ปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านให้มีความปลอดภัยในชีวิตของนักข่าวและแหล่งข่าว พบว่า นักข่าวขาดการช่วยเหลือปกป้องในด้านความปลอดภัยในชีวิตของตัวนักข่าว ส่วนใหญ่นักข่าวจะต้องดูแลตนเอง ไม่มีองค์กรหรือหน่วยงานใดๆ เข้ามาดูแลในเรื่องความปลอดภัย ในส่วนของแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านให้มีความปลอดภัยในชีวิตของนักข่าวและแหล่งข่าว มีวิธีการดังนี้ เมื่อมีการเข้าในพื้นที่ ที่มีความเสี่ยงมากๆ จะต้องลงบันทึกประจำวันไว้กับสถานีตำรวจในพื้นที่นั้น เพื่อให้เป็นหลักฐานว่าเข้าในพื้นที่เพื่อทำงาน ส่วนเรื่องการป้องกันเรื่องรถยนต์ที่ใช้ทำงาน เรื่องการเดินทางจะต้องใช้รถที่ไม่มีเครื่องหมายแสดง ประการสำคัญการทำหน้าที่เพื่อประโยชน์สาธารณะโดยสุจริตตรงไปตรงมา เปิดเผย ไม่มีการกล่าวหาใครโดยเลื่อนลอย ไม่มีผลประโยชน์ใดๆ แอบแฝง พร้อมที่จะให้ทุกฝ่ายชี้แจง ไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของตัวเอง ความโด่งดัง ความอยากได้รางวัล ความอยากได้เอาข่าวเป็นเครื่องมือไปหาประโยชน์โดยมิชอบ อยู่ในกรอบจริยธรรม ศีลธรรมและไม่เรียกสินบนก็จะเป็นเกราะคุ้มกันการที่จะถูกประทุษร้ายได้ และสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการตีแผ่ความจริง การแสดงทัศนคติ การแสดงความจริงในสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ก็จะเป็นพลังสาธารณะที่จะทำให้เป็นเกราะคุ้มกันได้ และที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ นักข่าวประเภทนี้จะต้องมีคุณธรรม จริยธรรม จะต้องทำตนให้เป็นที่น่าเชื่อถือและจะต้องอยู่ในกรอบของการเป็นคนดี และประการสุดท้ายคือหลายภาคส่วนควรร่วมกันตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาช่วยเหลือเมื่อมีการถูกข่มขู่คุกคามเนื่องจากการทำหน้าที่ในงานข่าวเชิงสืบสวน

          6) ปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านแรงกดดันจากภายนอกต่อนักข่าวและองค์กรข่าว พบว่า แรงกดดันที่เกิดจากอำนาจรัฐ อิทธิพลทางธุรกิจจากกลุ่มของผู้ที่ถูกตรวจสอบทำให้ขาดรายได้จากการลงโฆษณา ในส่วนของแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านแรงกดดันจากภายนอกต่อนักข่าวและองค์กรข่าว มีวิธีการดังนี้ องค์กรข่าวที่มีต้นทุนต่ำเป็นองค์กรสาธารณะเป็นอีกรูปแบบหนึ่งขององค์กรข่าวที่ไม่มีแรงกดดัน รวมทั้งการเปิดพื้นที่ให้ทุกฝ่ายเข้ามาชี้แจงได้อย่างเต็มที่ และประการสำคัญหลายภาคส่วนควรรวมตัวกันเพื่อร่วมกันทำข่าวสืบสวนโดยผนึกกำลังให้เป็นวาระสาธารณะ เพื่อปกป้องประเทศโดยไม่ทำข่าวสืบสวนเพื่อผลทางธุรกิจ

          7) ปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้าน นโยบายของหน่วยงานองค์กรข่าว พบว่า องค์กรข่าวบางแห่งไม่เปิดพื้นที่ในการนำเสนอข่าวให้แก่นักข่าวเท่าที่ควรจะเป็น การจ่ายค่าตอบแทนให้นักข่าวไม่เหมาะสม อุปกรณ์เครื่องใช้ในการทำงานไม่พร้อมและขาดทีมงานช่วยเหลือในกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเหตุฉุกเฉินในส่วนของแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้าน นโยบายของหน่วยงานองค์กรข่าว มีวิธีการดังนี้ องค์กรที่ทำข่าวเชิงสืบสวนควรเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ เพื่อลดแรงกดดันจากทุกด้าน การทำข่าวประเภทสืบสวนสอบสวนต้องใช้ระยะเวลาในการทำงานและมีค่าใช้จ่ายสูง องค์กรข่าวจะต้องสนับสนุนให้นักข่าวมีเวลาในการทำงานด้านนี้โดยเฉพาะ ให้โอกาส ให้เวลาอย่างเหมาะสม ในส่วนขององค์กรข่าวที่จ่ายค่าตอบแทนแก่พนักงานต่ำก็จะต้องมีรางวัลและมีประกาศเกียรติยศให้เป็นการทดแทน และสิ่งที่สำคัญควรให้สังคมกระตุ้นเพื่อให้องค์กรข่าวเสียสละทำงานข่าวสืบสวนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ พร้อมทั้งช่วยเหลือหางบประมาณสนับสนุนงานด้านนี้ให้ทั่วถึง

การพัฒนากระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน  

          การพัฒนากระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวนมีแนวทางซึ่งสามารถสรุปเป็นองค์ประกอบหลักในการพัฒนากระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวนได้ 4 หลักใหญ่ๆ ที่จะใช้เป็นแนวทางในการสื่อข่าวเชิงสืบสวนให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ดียิ่งขึ้นดังนี้คือ

          1.การสร้างนักข่าวพลเมือง (Citizen Journalist) เป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนากระบวนการทำข่าวเชิงสืบสวน ด้วยการสรรหาบุคคลที่เป็นนักข่าวสายพันธุ์ใหม่ให้ทำงานด้านนี้ซึ่งเป็นการสร้างนักข่าวพลเมืองเพียงเพื่อให้ทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลและตรวจสอบข้อมูล เนื่องจากการทำข่าวเชิงสืบสวนนี้นักข่าวพลเมือง เป็นหนึ่งในกระบวนการเพื่อให้ได้ผู้มีส่วนได้เสียเข้ามาร่วมกันเป็นแหล่งข่าวให้ข้อมูลและตรวจสอบข้อมูล ดังนั้นการสร้างให้นักข่าวพลเมืองมีความรู้เรื่องข่าวเชิงสืบสวนเพื่อที่จะทำให้เกิดพลังมวลชน (Crowd) มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยอาจทำเครือข่ายร่วมกับภาคเอกชนซึ่งเรียกว่า “นักข่าวพิเศษ” เมื่อมีข้อมูลนักข่าวพลเมืองก็จะส่งข้อมูลให้ ผู้ทำงานด้านข่าวเชิงสืบสวนก็จะสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในงานข่าวเชิงสืบสวนได้ ซึ่งเป็นการลดบทบาทปัญหาตัวแทนขององค์กรข่าวในต่างจังหวัดเพราะส่วนใหญ่ตัวแทนองค์กรข่าวไม่ได้สังกัดอยู่กับสำนักข่าวเพียงแห่งเดียว

          2.กระบวนการรวบรวมข้อมูล (Crowd-sourcing) เมื่อนำมาใช้ในการพัฒนากระบวนการทำข่าวเชิงสืบสวน ปัจจุบันนั้นทำได้ง่ายขึ้นโดยเฉพาะองค์กรข่าวจะต้องมี เฟซบุ๊ก (Facebook) จัดทำขึ้นเป็นเพจ (Page) เปิดพื้นที่โดยใช้คำคมๆ ในที่สุดก็จะมีการส่งข้อมูล (Share File) เกิดขึ้น ข้อมูลต่างๆ ก็จะถูกส่งเข้าในกล่องข้อความ (Inbox) ซึ่งมีประเด็นต่างๆ อีกมากมายเข้ามา กระบวนการรวบรวมข้อมูล จึงเริ่มขึ้น ในความคิดเห็นที่ส่งเข้ามานั้นอาจจะมีทั้งข้อมูลจริงและไม่จริงแต่สิ่งสำคัญก็คือการเกิดบรรดาแฟนพันธุ์แท้เข้ามาโดยที่นักข่าวไม่ต้องตามหาแหล่งข่าว

          3.วารสารศาสตร์เชิงข้อมูล (Database Journalism) ก็เป็นสิ่งที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง หากได้มีการประยุกต์ใช้ในงานข่าวเชิงสืบสวนด้วยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดการฐานข้อมูล (Database Manager) โดยการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ตรวจสอบยืนยันข้อมูล นำเสนอข้อมูลข่าวเชิงสืบสวน ดังนั้นวารสารศาสตร์เชิงข้อมูลในงานข่าวเชิงสืบสวนจึงเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานข่าวเชิงสืบสวนกับแนวทางอื่นๆ ซึ่งจะทำให้กระบวนการทำข่าวเชิงสืบสวนไปสู่จุดสำเร็จหรือจุดมุ่งหมายได้โดยง่าย

          4.การหลอมรวมสื่อ (Convergence) ปัจจุบันโลกได้มีการหลอมรวมสื่อ เข้าด้วยกันทำให้มีการตรวจสอบซึ่งกันและกัน จึงทำให้นักข่าวสามารถหาข้อมูลง่ายขึ้นซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุดเมื่อมีการบริหารข้อมูลจากแหล่งข้อมูลจำนวนมหาศาล (Big Data) วารสารศาสตร์เชิงข้อมูล นักข่าวพลเมือง กระบวนการรวบรวมข้อมูล และการหลอมรวมสื่อ เมื่อนำมาใช้ร่วมกันเพื่อการพัฒนากระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ก็จะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าแหล่งข่าว แหล่งข้อมูลนั้น ข้อมูลใดจริง ข้อมูลใดไม่จริง กระบวนการนี้จึงเป็นรูปแบบใหม่ของการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทำให้นักข่าวสะดวกในการหาแหล่งข้อมูล การตรวจสอบข้อมูล ยืนยันข้อมูลและการโต้ตอบได้ในทันทีทันใดกับประชาชนในสังคมผู้รับสาร

การนำไปใช้ประโยชน์ของนวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวน

          กระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวนมีเนื้อหาพอสรุปได้สังเขปดังนี้ กระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวนมีกระบวนการที่สำคัญที่น่าสนใจตั้งแต่ การกำหนดหมายข่าวซึ่งเป็นการกำหนดเป้าหมายของข่าวในเรื่องนั้นๆ ดังนั้น องค์กรข่าว บรรณาธิการและนักข่าวจะต้องมีความยึดมั่นที่จะไปสู่จุดหมายปลายทางว่า เป้าหมายที่ตั้งไว้ที่มีการกำหนดหมายข่าวแล้วนั้นจะต้องนำไปพบกับความสำเร็จและทีมงานหรือนักข่าวจะต้องทำงานได้ สามารถขจัดปัญหาอุปสรรคต่างๆ ได้ จนกว่าจะพบกับความสำเร็จในเรื่องนั้น ซึ่งหมายถึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมหรือผู้กระทำผิดได้รับโทษเป็นเยี่ยงอย่าง ซึ่งสามารถนำไว้เป็นกรณีศึกษาเพื่อป้องกันมิให้ผู้ที่คิดจะกระทำผิดนำไปกระทำผิดอีกเพราะมีบทลงโทษเป็นตัวอย่างไว้แล้ว  
          การกำหนดหมายข่าวนั้นจะต้องเล็งเห็นแล้วว่าสิ่งที่จะทำต่อไป จะต้องเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดผลดีต่อส่วนรวมและประเทศชาติ และจะต้องไปสู่ผลสำเร็จด้วย อาจเริ่มจากการสังหรณ์ใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้น มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นหรือมีผู้ให้เบาะแสทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของความสงสัยและนำไปสู่การกำหนดหมายข่าวเชิงสืบสวนในที่สุด
          สำหรับการจัดแผนงานข่าว องค์กรข่าวและนักข่าวจะต้องตั้งสมมติฐานให้ชัดเจนโดยนำหลักของงานวิจัยเข้ามาปรับใช้ เพื่อสะดวกต่อการวางแผนงานซึ่งทำให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นในผลลัพธ์ปลายทางตามที่ได้วางไว้ ด้วยการใช้ประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมาในเรื่องที่คล้ายกัน โดยจะต้องประเมินและใช้วิธีการตั้งสมมติฐานของงานวิจัยมาใช้ประกอบ และตัดสินใจว่าจะทำข่าวเรื่องนี้ต่อหรือไม่ พร้อมร่วมกันประเมินและตัดสินใจ โดยจะต้องมีการวางแผนการทำงานทุกขั้นตอน ตั้งแต่ต้นจนจบ รวมทั้งวิธีการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ละด้านในอนาคตที่ได้สันนิษฐานไว้ตั้งแต่ต้น ซึ่งอาจมีการพลิกผันให้แก้ไขไปตามสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความสำเร็จบรรลุไปสู่เป้าหมายตามที่ได้กำหนดไว้
          ในส่วนของการกวาดข้อมูลข่าว นักข่าวจะต้องระวังผู้ให้ข้อมูลให้เบาะแสข่าว โดยนักข่าวจะต้องทำการประเมินผู้ให้เบาะแสข่าวด้วยว่า น่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด และข้อมูลที่ได้มาจะต้องสามารถพิสูจน์ยืนยันความถูกต้องได้ โดยจะต้องตั้งสมมติฐานว่า เมื่อผู้ให้ข้อมูลและให้เบาะแสข่าวต้องการให้ข่าวได้รับการเผยแพร่ ผู้ใดจะได้รับผลประโยชน์ หรืออาจหวังใช้ข่าวที่ได้นำเสนอนั้น เป็นเครื่องมือทำลายผู้ใด ยุคนี้เป็นยุคดิจิทัล (Digital) การหาข้อมูลข่าวสารปัจจุบันเปิดกว้างโดยการใช้อินเทอร์เน็ต องค์กรข่าวจะต้องมีฝ่ายสารสนเทศ (Information Technology) ที่สามารถทำให้การหาข้อมูลจากแหล่งข่าวสะดวกและได้ข่าวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

          การกวาดข้อมูลข่าวนี้ สามารถนำกระบวนการรวบรวมข้อมูล (Crowd-sourcing) มาใช้ในการหาแหล่งข่าว หาข้อมูลข่าว และตรวจสอบข่าวได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการสร้างนักข่าวพลเมือง (Citizen Journalist) ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ เพื่อไว้สำหรับให้ข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลก่อนนำเสนอข่าวนั้น โดยเฉพาะการใช้วารสารศาสตร์เชิงข้อมูล (Database Journalism) มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการหาข้อมูลหรือเบาะแสข่าวต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไปในระบบฐานข้อมูลโดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลข่าว และตรวจสอบข้อมูลข่าวเพื่อนำเสนอข่าวสืบสวน
          การเสนอข่าวสืบสวน บรรณาธิการ นักข่าวและองค์กรข่าวควรนำเสนอข่าวเชิงสืบสวนโดยใช้รูปแพลตฟอร์ม (Platform) เช่น สื่อหนังสือพิมพ์ รายการโทรทัศน์ เว็บไซต์ข่าว และสื่อดิจิทัล (Digital Media) โดยเรื่องราวต่างๆ ที่นำเสนอนั้นจะต้องเป็นความจริง สามารถยืนยันได้ อาจทำเป็นรายงานพิเศษครั้งเดียว โดยมีทั้งบทรายงาน ข้อเท็จจริง ตารางข้อมูล เกร็ดความรู้ ใช้การบรรยายด้วยตัวอักษรประกอบเสียงพร้อมภาพเคลื่อนไหว โดยใช้ลักษณะการหลอมรวมสื่อ (Convergence) เพื่อให้เกิดการโต้ตอบระหว่างประชาชนผู้รับสาร (Interactive) และองค์กรข่าวหรือนักข่าวโดยตรง ในปัจจุบันนี้สามารถทำได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้การนำเสนอข่าวเชิงสืบสวนเป็นที่น่าสนใจมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา 
          นวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวนมีประเด็นสำคัญที่น่าสนใจสามารถนำไปใช้ประโยชน์ตั้งแต่ ด้านทักษะ ความรู้และประสบการณ์ของนักข่าว องค์กรข่าวจะต้องจัดสร้างห้องสมุดข่าวขององค์กรข่าวเพื่อทำให้นักข่าวมีความรู้ (Knowledge) โดยตรง พร้อมทั้งรอบรู้ในเรื่องต่างๆ ที่จะสามารถสื่อข่าวเชิงสืบสวน และจะต้องส่งเสริมนักข่าวเข้าอบรมเพิ่มทักษะ ความรู้การใช้งานด้านเทคโนโลยีต่างๆ ในเรื่องการถ่ายภาพ ความรู้ในด้านการทำข่าวเชิงลึก การใช้ภาษาอังกฤษ การใช้งานคอมพิวเตอร์ การใช้อินเทอร์เน็ตและการหาข้อมูลทางระบบอินเทอร์เน็ตให้มีความชำนาญ รวมทั้งการส่งไปอบรมต่างประเทศ ด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างนักข่าวสถาบันต่างๆ ในระดับนานาชาติ และประการสำคัญคือการเรียนรู้จากประสบการณ์ และให้นักข่าวเรียนรู้ข่าวเชิงสืบสวนตลอดเวลาในขณะทำงาน เป็นการทำให้เกิดผลดีที่สุด ซึ่งนักข่าวจะต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลา เช่น มีความถูกต้อง มีความยุติธรรม มีกระบวนการเก็บข้อมูล การสั่งสมข้อมูลไว้เป็นของส่วนตัว โดยในปัจจุบันสามารถค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ตได้สะดวกยิ่งขึ้น
          ด้านแหล่งข่าว นักข่าวจะต้องใช้วิธีการมีปฏิสัมพันธ์กับแหล่งข่าว สร้างแหล่งข่าวจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคม โดยร่วมกันสร้างให้เกิดความไว้วางใจว่า ทั้งนักข่าวและองค์กรข่าวสามารถปกป้องผู้ให้ข้อมูลได้ นักข่าวจะต้องมีความรู้ในเชิงระบบ ความรู้ในเชิงโครงสร้าง มีคลังข้อมูลเป็นของตนเอง องค์กรข่าวจะต้องทำระบบฐานข้อมูล ใช้กระบวนการรวบรวมข้อมูล ใช้การสร้างนักข่าวพลเมือง และการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อช่วยขุดคุ้ยและตรวจสอบข้อมูลต่างๆ 
          ด้านการป้องกันและแก้ไขการถูกฟ้องร้องดำเนินคดีนั้น องค์กรข่าวจะต้องมีฝ่ายกฎหมายที่จะช่วยนักข่าว โดยจะต้องแจ้งให้กับนักข่าวทราบเสมอว่า การสื่อข่าวในลักษณะใดมีผลทำให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรข่าวและตัวนักข่าว บรรณาธิการจะต้องมีความรู้ทางด้านกฎหมาย ข่าวที่นำเสนอต้องรอบคอบ รอบด้าน เป็นเรื่องจริงและให้ความเป็นธรรม ให้โอกาสทุกฝ่ายได้ชี้แจง ก่อนที่จะนำเสนอข่าวจะต้องมีการตรวจสอบหลายๆ ครั้ง และประการสำคัญหลายภาคส่วนควรร่วมกันจัดตั้งองค์กรหรือหน่วยงานอิสระเพื่อช่วยเหลือนักข่าวประเภทนี้ เมื่อมีการถูกฟ้องร้องในกรณีที่ทำงานข่าวเพื่อประโยชน์สาธารณะ
          นวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวนอีกด้านหนึ่งที่น่าสนใจคือ การเป็นองค์กรข่าวที่มีต้นทุนต่ำเป็นองค์กรสาธารณะ จึงเป็นอีกรูปแบบหนึ่งขององค์กรข่าว ที่สามารถทำงานได้อย่างอิสระ รวมทั้งการเปิดพื้นที่ให้ทุกฝ่ายเข้ามาชี้แจงได้อย่างเต็มที่ และประเด็นสำคัญหลายภาคส่วนควรรวมตัวกันเพื่องานข่าวสืบสวน โดยผนึกกำลังให้เป็นวาระสาธารณะ
          ผลสรุปองค์ความรู้ที่ได้นี้ สามารถนำไปใช้เสริมสร้างศักยภาพให้แก่นักข่าวทั่วไป และประชาชนผู้ที่สนใจในวิชานวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวน ซึ่งองค์ความรู้ที่น่าสนใจนี้ โดยเฉพาะเรื่องนักข่าว บรรณาธิการและองค์กรข่าวจะต้องปรับตัวให้ทัน ซึ่งยุคนี้อยู่ในยุคดิจิทัลมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยจะต้องนำการใช้กระบวนการรวบรวมข้อมูล การประยุกต์ใช้วารสารศาสตร์เชิงข้อมูลในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้วยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยรวบรวมข้อมูลข่าว วิเคราะห์ข้อมูลข่าว การตรวจสอบข้อมูลข่าว รวมทั้งการใช้ลักษณะการหลอมรวมสื่อ พร้อมทั้งสร้างนักข่าวพลเมือง และนำเอาการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งแหล่งข่าวกลุ่มนี้จะมีส่วนช่วยขุดคุ้ย และตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริงต่างๆ รวมทั้งช่วยเป็นผู้ส่งเสริมในทุกด้านของงานข่าวเชิงสืบสวน ในที่สุดกลุ่มบุคคลดังกล่าวก็จะเป็นทั้งผู้รับสาร และเป็นผู้มีส่วนร่วม สุดท้ายก็จะเป็นผู้ที่มีความภาคภูมิใจด้วยในผลงานข่าวเชิงสืบสวนที่ได้นำเสนอ
 การสะสม/บ่งชี้ องค์ความรู้ เทคโนโลยี หรือนวัตกรรม

องค์ความรู้ที่เป็นนวัตกรรม

องค์ความรู้ เทคโนโลยี หรือนวัตกรรม จากการจัดการความรู้ที่จะนำไปถ่ายทอดเพื่อการใช้ประโยชน์ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย

องค์ความรู้ เทคโนโลยี หรือนวัตกรรม ที่จะนำไปถ่ายทอดเพื่อการใช้ประโยชน์ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย

กระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน

กระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวนสามารถสรุปองค์ประกอบหลักในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวนได้ 7 ขั้นตอน ที่จะใช้เป็นแนวทางในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวนให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ดียิ่งขึ้นดังนี้คือ

1) การกำหนดหมายข่าว เป็นการค้นหาเหตุการณ์ที่เป็นประเด็นทางสังคมที่เกิดขึ้นซึ่งมีผู้ทำให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและประเทศชาติ การกำหนดหมายข่าวนั้นจะต้องเล็งเห็นแล้วว่าสิ่งที่จะทำต่อไปจะต้องเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดผลดีต่อส่วนรวมและประเทศชาติ เริ่มด้วยการเกิดแนวความคิดว่าจะทำข่าวเรื่องอะไร อาจเริ่มจากการสังหรณ์ใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นหรือได้แง่มุมจากคำบอกเล่าหรือมีผู้ให้เบาะแสทั้งเปิดเผยตัวตนและไม่เปิดเผยจนทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของความสงสัยซึ่งต้นตอของความจริงอาจได้จากหลายทาง จากตัวของนักข่าว แหล่งข่าวบุคคล จดหมายร้องเรียน จากข่าวประจำวัน จากแฟ้มข่าว จากเอกสารข้อมูลหรือจากการพบเห็นโดยบังเอิญซึ่งเกิดเป็นข้อสงสัยในลักษณะมุมมองที่เป็นเรื่องผิดปกติ

          2) การสร้างศูนย์รวมข่าว เป็นการค้นหาข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวข้องรอบด้านเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ด้วยการสำรวจข้อมูล แสวงหาข้อมูลแหล่งข่าวด้วยความระมัดระวัง รวดเร็วและกว้างขวางทั้งจากเอกสารและการสัมภาษณ์ โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้วารสารศาสตร์เชิงข้อมูล (Database Journalism) ในงานข่าวเชิงสืบสวนโดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดการฐานข้อมูล (Database Manager) เช่น การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การตรวจสอบยืนยันข้อมูล การนำเสนอข้อมูลข่าวสืบสวน วารสารศาสตร์เชิงข้อมูลในงานข่าวเชิงสืบสวนจึงเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานข่าวเชิงสืบสวนกับแนวทางอื่นๆ โดยนำมาใช้เพื่อศึกษาว่าจะสามารถเดินต่อไปได้จนบรรลุเป้าหมายหรือไม่ มีอุปสรรคและข้อจำกัดมากน้อยเพียงใด รวมทั้งการแสวงหาแหล่งข่าวของข่าวที่ได้กำหนดหมายข่าวไว้แล้วซึ่งจะมาจากข้อมูลทางเอกสาร ข้อมูลทางวัตถุสถานที่ และข้อมูลบุคคล ซึ่งจะเป็นผลทำให้เกิดความสำเร็จของการสื่อข่าวเชิงสืบสวน

          3) การคาดการณ์ล่วงหน้า ในการที่จะสื่อข่าวเชิงสืบสวนเรื่องต่างๆ นั้น ควรดูจากคุณค่าข่าว ผลที่จะได้รับประโยชน์ต่อส่วนรวม รวมทั้งทรัพยากรต่างๆ ปัญหาและอุปสรรคโดยการปรึกษากับผู้บริหารกองบรรณาธิการให้ชัดเจนก่อนที่จะมีการเดินหน้าต่อในงานข่าวเชิงสืบสวน การคาดการณ์ล่วงหน้าเป็นการประเมินข้อมูลทุกประเภทที่ค้นหาได้แล้ว นักข่าวจะต้องประเมินความเป็นไปได้ว่าข่าวเชิงสืบสวนในเรื่องที่จะทำนั้นสามารถดำเนินต่อไปจนถึงจุดจบได้หรือไม่ เพราะสุดท้ายจะเป็นการไม่คุ้มค่ากับทรัพยากรและเวลาที่สูญเสียไป นับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการสื่อข่าวเชิงสืบสวน

          4) การจัดแผนงานข่าว ด้วยการตั้งสมมติฐานและวางแผนงานให้ชัดเจน โดยอาศัยประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมาในเรื่องที่คล้ายกัน ว่าสิ่งใดจะเกิดขึ้นในเวลาต่อมา ผลของงานที่ออกมานั้นจะเป็นไปตามที่ได้ตั้งสมมติฐานไว้หรือไม่ โดยผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานคนเดียวครบวงจร (One Man Journalist) ก็จะต้องประเมินและตัดสินใจว่า จะทำข่าวชิ้นนี้หรือไม่ และในส่วนผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานเป็นทีมงานก็จะต้องร่วมกันประเมินและตัดสินใจโดยอาจใช้วิธีการตั้งสมมติฐานของงานวิจัยนำมาใช้ประกอบในการทำงานข่าวเชิงสืบสวน โดยจะต้องมีการวางแผนตั้งแต่ต้นจนจบรวมทั้งวิธีการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ละด้านที่ได้ประเมินไว้แต่ต้น ซึ่งอาจมีการพลิกผันแก้ไขไปตามสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อให้สำเร็จบรรลุไปสู่เป้าหมาย

          5) การกวาดข้อมูลข่าว แหล่งข้อมูลประกอบด้วย แหล่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร แหล่งข้อมูลที่เป็นบุคคล และแหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งข่าวเชิงสืบสวนนั้นมีผลกระทบต่อกลุ่มคนจำนวนมากทั้งผู้เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง ทั้งแหล่งข่าวและผู้สื่อข่าว จึงควรระวังผู้ให้เบาะแสข่าว ผู้สื่อข่าวจะต้องประเมินคุณค่าของผู้ให้เบาะแสข่าวด้วยว่าน่าเชื่อถือเพียงใดและข้อมูลที่ได้มามีข้อพิสูจน์อะไรเพื่อสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเท็จจริงหรือไม่ จะต้องตั้งสมมติฐานดูว่าผู้ให้เบาะแสข่าวมีจุดมุ่งหมายอะไรหากข่าวได้รับการเผยแพร่ ผู้ใดจะได้รับผลประโยชน์บ้าง หรืออาจหวังให้สื่อของเราเป็นเครื่องมือทำลายใครหรือไม่ หากการประเมินข้อมูลข้อเท็จจริงที่ได้จากผู้ให้เบาะแสข่าวแล้วพบว่าไม่น่าเชื่อถือ ก็ควรใส่แฟ้มไว้ก่อนเพราะอาจมีประโยชน์ต่อไปในวันข้างหน้า แต่ถ้าข้อมูลน่าเชื่อถือและมีผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่แม้การประเมินของกองบรรณาธิการจะพบว่าผู้ที่ให้ข้อมูลกับผู้สื่อข่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายชื่อเสียงของผู้อื่นก็ตาม ผู้สื่อข่าวก็ต้องนำเสนอ

          6) การสันนิษฐานงานข่าว ด้วยการตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกเป็นการตรวจสอบข่าวกับหลักฐานที่น่าเชื่อถือ เช่น เอกสาร แหล่งข่าวจากบุคคล การยืนยันข้อมูล การตรวจสอบข้อมูลจากหลายแหล่งข่าว รวมทั้งการตรวจสอบข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทุกครั้งก่อนการนำเสนอข่าวซึ่งเป็นการตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกเพื่อนำมาประเมินการทำงานทุกขั้นตอนต่อเนื่องเพื่อรวบรวมข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการสื่อข่าว โดยการเปรียบเทียบข้อมูลกับแหล่งต่างๆ เพื่อความถูกต้องเป็นจริงโดยใช้การประเมินผลงานเป็นระยะๆ เพื่อประเมินความสำเร็จและอุปสรรคเพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที

          7) การเสนอข่าวสืบสวน เป็นการนำเสนอข่าวเชิงสืบสวนไปสู่สาธารณชนในแพลตฟอร์ม (Platform) ต่างๆ ที่เป็นทั้งสื่อหนังสือพิมพ์ รายการโทรทัศน์และในแพลตฟอร์มที่เป็นสื่อดิจิทัล (Digital Media) โดยทุกคำพูดที่นำเสนอนั้นต้องเป็นความจริงและสามารถยืนยันได้ การเสนอข่าวสืบสวนนั้นสามารถทำเป็นรายงานพิเศษครั้งเดียวให้มีทั้งบทรายงาน ข้อเท็จจริง ตารางข้อมูล เกร็ดความรู้ บทสัมภาษณ์ รวมทั้งบทสรุป ตลอดจนภาพประกอบต่างๆ หรืออาจเสนอเป็นข่าวในลักษณะการรายงานเป็นตอนๆ ตั้งแต่เริ่มได้เบาะแสจนกระทั่งถึงบทสรุปผลขั้นสุดท้าย

แนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวนไปสู่การพัฒนากระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน

          1) ปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านทักษะ ความรู้และประสบการณ์ของนักข่าว พบว่า นักข่าวที่มีประสบการณ์การน้อยจะไม่มีทักษะและความรู้เพียงพอที่จะเริ่มทำงานข่าวเชิงสืบสวนและประการสำคัญนักข่าวส่วนใหญ่จะมีปัญหาในด้านความรู้ (Knowledge) โดยตรงและการรอบรู้ในเรื่องต่างๆ รวมทั้งการเรียนรู้การใช้งานคอมพิวเตอร์และการหาข้อมูลทางระบบอินเทอร์เน็ตให้มีความชำนาญ ในส่วนของแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านทักษะ ความรู้และประสบการณ์ของนักข่าว มีวิธีการดังนี้ นักข่าวจะต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลา มีความถูกต้อง ความยุติธรรม มีกระบวนการเก็บข้อมูล การสั่งสมข้อมูลไว้เป็นของส่วนตัว ในปัจจุบันสามารถค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีทำให้การสืบค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตทำได้ง่ายขึ้นสามารถเรียนรู้และฝึกปฏิบัติได้ องค์กรข่าวจะต้องจัดสร้างห้องสมุดข่าวขององค์กรข่าวเพื่อให้นักข่าวมีความรู้โดยตรงพร้อมทั้งรอบรู้ในเรื่องต่างๆ ที่จะสามารถทำข่าวเชิงสืบสวน และจะต้องส่งเสริมนักข่าวเข้าอบรมเพิ่มทักษะและความรู้ทางด้านการใช้เทคโนโลยี ในเรื่องการถ่ายภาพ ความรู้ในด้านการทำข่าวเชิงลึก ด้านการใช้ภาษาอังกฤษ การใช้งานคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสมัยใหม่รวมทั้งการหาข้อมูลทางระบบอินเทอร์เน็ตให้มีความชำนาญ ให้เรียนรู้ในด้านต่างๆ ที่นโยบายขององค์กรข่าวต้องการให้ทำข่าวในด้านนั้นๆ พร้อมทั้งส่งไปอบรมต่างประเทศซึ่งจะช่วยให้มีทักษะความสามารถมากยิ่งขึ้นด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างนักข่าวสถาบันต่างๆ ในระดับชาติและระดับนานาชาติเกิดขึ้น และประการสำคัญการเรียนจากประสบการณ์และสอนนักข่าวให้ทำข่าวเชิงสืบสวนตลอดเวลาในขณะที่เขาทำงาน (Learning by doing & Training on the job)  จึงเป็นการทำให้ได้ผลดีที่สุด

          2) ปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านการแสวงหาข้อมูลข่าว พบว่า นักข่าวส่วนใหญ่ขาดการค้นหาข้อมูลในเชิงลึก โดยเฉพาะนักข่าวหน้าใหม่จะไม่มีคลังข้อมูลส่วนตัว องค์กรข่าวมีคลังข้อมูลน้อย ความสามารถของนักข่าวในการค้นหาข้อมูลมีน้อยเนื่องจากขาดความรู้ ทักษะและประสบการณ์รวมทั้งองค์กรข่าวส่วนใหญ่ทำงานลักษณะไม่มีการวางแผน ไม่มีการทำระบบฐานข้อมูลข่าวและรายชื่อแหล่งข่าวไว้ ประการสำคัญด้านการเสาะหาข้อมูลเอกสารบางส่วนที่มีอยู่กับหน่วยงานของรัฐไม่สามารถเสาะหาได้เนื่องจากถูกปิดกั้นจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในส่วนของแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านการหาข้อมูลจากแหล่งข่าว มีวิธีการดังนี้ นักข่าวต้องมีความรู้ในเชิงระบบ ความรู้ในเชิงโครงสร้าง มีจิตสำนึกภายใต้อุดมการณ์ที่จะต้องทำความจริงให้ปรากฏ นักข่าวจะต้องสั่งสมหรือเก็บข้อมูลภายในเรื่องนั้นๆ มีคลังข้อมูลเป็นของตนเอง องค์กรข่าวจะต้องทำศูนย์ข้อมูลหรือระบบฐานข้อมูลไว้อย่างเพียงพอและสะดวกต่อการใช้ประโยชน์ เมื่อมีข้อมูลข่าวและรายชื่อแหล่งข่าวจะต้องพัฒนาระบบฐานข้อมูลระบบเกี่ยวกับการสนับสนุนในเรื่องต่างๆ ซึ่งในยุคของดิจิทัล (Digital) การหาข้อมูลข่าวสารปัจจุบันเปิดกว้างโดยการใช้อินเทอร์เน็ต องค์กรพัฒนาฝ่ายสารสนเทศ (Information Technology) สามารถทำให้การหาข้อมูลจากแหล่งข่าวสะดวกและได้ข่าวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น รวมทั้งกระบวนการหาข้อมูล (Crowd-sourcing) และการสร้างนักข่าวพลเมือง (Citizen Journalist) การมีส่วนร่วมของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แหล่งข่าวกลุ่มนี้จะมีส่วนช่วยขุดคุ้ยและตรวจสอบข้อมูลต่างๆ

          3) ปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านแหล่งข่าว พบว่า แหล่งข่าวจากส่วนราชการไม่ยอมเปิดเผยข้อมูล พลังจากประชาชนผู้มีส่วนได้เสียยังไม่ส่งเสริมสนับสนุนเท่าที่ควร รวมทั้งแหล่งข่าวบางคนไม่กล้าเปิดเผยข้อมูลหากมีผลกระทบต่อตนเองและครอบครัว ในส่วนของแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านแหล่งข่าว มีวิธีการดังนี้ ใช้วิธีการมีปฏิสัมพันธ์กับแหล่งข่าว สร้างแหล่งข่าวจากผู้ที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้เสียผลประโยชน์ในสังคม โดยจะต้องร่วมกันสร้างความเชื่อมั่น สร้างความไว้วางใจให้สังคมรับรู้ว่าทั้งนักข่าวและองค์กรข่าวสามารถปกป้องผู้ให้ข้อมูลได้ด้วยการปกปิดที่มาของข่าวและผู้ให้ข้อมูล รวมทั้งนักข่าวจะต้องกระทำตนเป็นตัวอย่างของการเป็นคนดี ตรงไปตรงมา อยู่ในสังคมแบบเป็นที่ยอมรับของประชาชน  

          4) ปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านการป้องกันและแก้ไขการถูกฟ้องร้องดำเนินคดี พบว่า บางครั้งการทำข่าวประเภทนี้มีความเสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาทและนักข่าวก็ขาดการช่วยเหลือในด้านกฎหมายซึ่งไม่มีองค์กรหรือหน่วยงานใดๆ เข้ามาช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องเมื่อเกิดคดีความจากการทำงานข่าวเชิงสืบสวน ในส่วนของแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านการป้องกันและแก้ไขการถูกฟ้องร้องดำเนินคดี มีวิธีการดังนี้ ควรแก้ไขด้วยทักษะ (Skill) องค์กรข่าวจะต้องมีฝ่ายกฎหมายที่จะช่วยนักข่าวในเบื้องต้นและจะต้องมีข้อมูลเพื่อแจ้งให้กับนักข่าวทราบว่าการรายงานข่าวในลักษณะใดมีผลทำให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรข่าว ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นมากมายตามมา ผู้ที่เป็นบรรณาธิการจะต้องมีความรู้ทางด้านกฎหมาย ข่าวที่นำเสนอต้องรอบคอบ รอบด้าน เป็นเรื่องจริง และได้ให้ความเป็นธรรมกับผู้เกี่ยวข้อง ให้โอกาสทุกฝ่ายได้ชี้แจง ก่อนที่จะนำเสนอข่าวจะต้องมีการตรวจสอบหลายๆ ครั้งก่อนนำเสนอ และประการสำคัญคือการทำตามหน้าที่โดยสุจริตจะเป็นเกราะคุ้มกันในทุกๆ ด้านรวมทั้งหลายภาคส่วนควรร่วมกันจัดตั้งองค์กรหรือหน่วยงานอิสระเพื่อช่วยเหลือนักข่าวประเภทนี้เมื่อมีการถูกฟ้องร้องในกรณีที่ทำงานข่าวเพื่อสาธารณประโยชน์

          5) ปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านให้มีความปลอดภัยในชีวิตของนักข่าวและแหล่งข่าว พบว่า นักข่าวขาดการช่วยเหลือปกป้องในด้านความปลอดภัยในชีวิตของตัวนักข่าว ส่วนใหญ่นักข่าวจะต้องดูแลตนเอง ไม่มีองค์กรหรือหน่วยงานใดๆ เข้ามาดูแลในเรื่องความปลอดภัย ในส่วนของแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านให้มีความปลอดภัยในชีวิตของนักข่าวและแหล่งข่าว มีวิธีการดังนี้ เมื่อมีการเข้าในพื้นที่ ที่มีความเสี่ยงมากๆ จะต้องลงบันทึกประจำวันไว้กับสถานีตำรวจในพื้นที่นั้น เพื่อให้เป็นหลักฐานว่าเข้าในพื้นที่เพื่อทำงาน ส่วนเรื่องการป้องกันเรื่องรถยนต์ที่ใช้ทำงาน เรื่องการเดินทางจะต้องใช้รถที่ไม่มีเครื่องหมายแสดง ประการสำคัญการทำหน้าที่เพื่อประโยชน์สาธารณะโดยสุจริตตรงไปตรงมา เปิดเผย ไม่มีการกล่าวหาใครโดยเลื่อนลอย ไม่มีผลประโยชน์ใดๆ แอบแฝง พร้อมที่จะให้ทุกฝ่ายชี้แจง ไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของตัวเอง ความโด่งดัง ความอยากได้รางวัล ความอยากได้เอาข่าวเป็นเครื่องมือไปหาประโยชน์โดยมิชอบ อยู่ในกรอบจริยธรรม ศีลธรรมและไม่เรียกสินบนก็จะเป็นเกราะคุ้มกันการที่จะถูกประทุษร้ายได้ และสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการตีแผ่ความจริง การแสดงทัศนคติ การแสดงความจริงในสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ก็จะเป็นพลังสาธารณะที่จะทำให้เป็นเกราะคุ้มกันได้ และที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ นักข่าวประเภทนี้จะต้องมีคุณธรรม จริยธรรม จะต้องทำตนให้เป็นที่น่าเชื่อถือและจะต้องอยู่ในกรอบของการเป็นคนดี และประการสุดท้ายคือหลายภาคส่วนควรร่วมกันตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาช่วยเหลือเมื่อมีการถูกข่มขู่คุกคามเนื่องจากการทำหน้าที่ในงานข่าวเชิงสืบสวน

          6) ปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านแรงกดดันจากภายนอกต่อนักข่าวและองค์กรข่าว พบว่า แรงกดดันที่เกิดจากอำนาจรัฐ อิทธิพลทางธุรกิจจากกลุ่มของผู้ที่ถูกตรวจสอบทำให้ขาดรายได้จากการลงโฆษณา ในส่วนของแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้านแรงกดดันจากภายนอกต่อนักข่าวและองค์กรข่าว มีวิธีการดังนี้ องค์กรข่าวที่มีต้นทุนต่ำเป็นองค์กรสาธารณะเป็นอีกรูปแบบหนึ่งขององค์กรข่าวที่ไม่มีแรงกดดัน รวมทั้งการเปิดพื้นที่ให้ทุกฝ่ายเข้ามาชี้แจงได้อย่างเต็มที่ และประการสำคัญหลายภาคส่วนควรรวมตัวกันเพื่อร่วมกันทำข่าวสืบสวนโดยผนึกกำลังให้เป็นวาระสาธารณะ เพื่อปกป้องประเทศโดยไม่ทำข่าวสืบสวนเพื่อผลทางธุรกิจ

          7) ปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้าน นโยบายของหน่วยงานองค์กรข่าว พบว่า องค์กรข่าวบางแห่งไม่เปิดพื้นที่ในการนำเสนอข่าวให้แก่นักข่าวเท่าที่ควรจะเป็น การจ่ายค่าตอบแทนให้นักข่าวไม่เหมาะสม อุปกรณ์เครื่องใช้ในการทำงานไม่พร้อมและขาดทีมงานช่วยเหลือในกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเหตุฉุกเฉินในส่วนของแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้าน นโยบายของหน่วยงานองค์กรข่าว มีวิธีการดังนี้ องค์กรที่ทำข่าวเชิงสืบสวนควรเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ เพื่อลดแรงกดดันจากทุกด้าน การทำข่าวประเภทสืบสวนสอบสวนต้องใช้ระยะเวลาในการทำงานและมีค่าใช้จ่ายสูง องค์กรข่าวจะต้องสนับสนุนให้นักข่าวมีเวลาในการทำงานด้านนี้โดยเฉพาะ ให้โอกาส ให้เวลาอย่างเหมาะสม ในส่วนขององค์กรข่าวที่จ่ายค่าตอบแทนแก่พนักงานต่ำก็จะต้องมีรางวัลและมีประกาศเกียรติยศให้เป็นการทดแทน และสิ่งที่สำคัญควรให้สังคมกระตุ้นเพื่อให้องค์กรข่าวเสียสละทำงานข่าวสืบสวนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ พร้อมทั้งช่วยเหลือหางบประมาณสนับสนุนงานด้านนี้ให้ทั่วถึง 

การพัฒนากระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน  

          การพัฒนากระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวนมีแนวทางซึ่งสามารถสรุปเป็นองค์ประกอบหลักในการพัฒนากระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวนได้ 4 หลักใหญ่ๆ ที่จะใช้เป็นแนวทางในการสื่อข่าวเชิงสืบสวนให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ดียิ่งขึ้นดังนี้คือ

          1.การสร้างนักข่าวพลเมือง (Citizen Journalist) เป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนากระบวนการทำข่าวเชิงสืบสวน ด้วยการสรรหาบุคคลที่เป็นนักข่าวสายพันธุ์ใหม่ให้ทำงานด้านนี้ซึ่งเป็นการสร้างนักข่าวพลเมืองเพียงเพื่อให้ทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลและตรวจสอบข้อมูล เนื่องจากการทำข่าวเชิงสืบสวนนี้นักข่าวพลเมือง เป็นหนึ่งในกระบวนการเพื่อให้ได้ผู้มีส่วนได้เสียเข้ามาร่วมกันเป็นแหล่งข่าวให้ข้อมูลและตรวจสอบข้อมูล ดังนั้นการสร้างให้นักข่าวพลเมืองมีความรู้เรื่องข่าวเชิงสืบสวนเพื่อที่จะทำให้เกิดพลังมวลชน (Crowd) มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยอาจทำเครือข่ายร่วมกับภาคเอกชนซึ่งเรียกว่า “นักข่าวพิเศษ” เมื่อมีข้อมูลนักข่าวพลเมืองก็จะส่งข้อมูลให้ ผู้ทำงานด้านข่าวเชิงสืบสวนก็จะสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในงานข่าวเชิงสืบสวนได้ ซึ่งเป็นการลดบทบาทปัญหาตัวแทนขององค์กรข่าวในต่างจังหวัดเพราะส่วนใหญ่ตัวแทนองค์กรข่าวไม่ได้สังกัดอยู่กับสำนักข่าวเพียงแห่งเดียว

          2.กระบวนการรวบรวมข้อมูล (Crowd-sourcing) เมื่อนำมาใช้ในการพัฒนากระบวนการทำข่าวเชิงสืบสวน ปัจจุบันนั้นทำได้ง่ายขึ้นโดยเฉพาะองค์กรข่าวจะต้องมี เฟซบุ๊ก (Facebook) จัดทำขึ้นเป็นเพจ (Page) เปิดพื้นที่โดยใช้คำคมๆ ในที่สุดก็จะมีการส่งข้อมูล (Share File) เกิดขึ้น ข้อมูลต่างๆ ก็จะถูกส่งเข้าในกล่องข้อความ (Inbox) ซึ่งมีประเด็นต่างๆ อีกมากมายเข้ามา กระบวนการรวบรวมข้อมูล จึงเริ่มขึ้น ในความคิดเห็นที่ส่งเข้ามานั้นอาจจะมีทั้งข้อมูลจริงและไม่จริงแต่สิ่งสำคัญก็คือการเกิดบรรดาแฟนพันธุ์แท้เข้ามาโดยที่นักข่าวไม่ต้องตามหาแหล่งข่าว

          3.วารสารศาสตร์เชิงข้อมูล (Database Journalism) ก็เป็นสิ่งที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง หากได้มีการประยุกต์ใช้ในงานข่าวเชิงสืบสวนด้วยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดการฐานข้อมูล (Database Manager) โดยการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ตรวจสอบยืนยันข้อมูล นำเสนอข้อมูลข่าวเชิงสืบสวน ดังนั้นวารสารศาสตร์เชิงข้อมูลในงานข่าวเชิงสืบสวนจึงเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานข่าวเชิงสืบสวนกับแนวทางอื่นๆ ซึ่งจะทำให้กระบวนการทำข่าวเชิงสืบสวนไปสู่จุดสำเร็จหรือจุดมุ่งหมายได้โดยง่าย

          4.การหลอมรวมสื่อ (Convergence) ปัจจุบันโลกได้มีการหลอมรวมสื่อ เข้าด้วยกันทำให้มีการตรวจสอบซึ่งกันและกัน จึงทำให้นักข่าวสามารถหาข้อมูลง่ายขึ้นซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุดเมื่อมีการบริหารข้อมูลจากแหล่งข้อมูลจำนวนมหาศาล (Big Data) วารสารศาสตร์เชิงข้อมูล นักข่าวพลเมือง กระบวนการรวบรวมข้อมูล และการหลอมรวมสื่อ เมื่อนำมาใช้ร่วมกันเพื่อการพัฒนากระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ก็จะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าแหล่งข่าว แหล่งข้อมูลนั้น ข้อมูลใดจริง ข้อมูลใดไม่จริง กระบวนการนี้จึงเป็นรูปแบบใหม่ของการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทำให้นักข่าวสะดวกในการหาแหล่งข้อมูล การตรวจสอบข้อมูล ยืนยันข้อมูลและการโต้ตอบได้ในทันทีทันใดกับประชาชนในสังคมผู้รับสาร

การนำไปใช้ประโยชน์ของนวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวน

          กระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวนมีเนื้อหาพอสรุปได้สังเขปดังนี้ กระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวนมีกระบวนการที่สำคัญที่น่าสนใจตั้งแต่ การกำหนดหมายข่าวซึ่งเป็นการกำหนดเป้าหมายของข่าวในเรื่องนั้นๆ ดังนั้น องค์กรข่าว บรรณาธิการและนักข่าวจะต้องมีความยึดมั่นที่จะไปสู่จุดหมายปลายทางว่า เป้าหมายที่ตั้งไว้ที่มีการกำหนดหมายข่าวแล้วนั้นจะต้องนำไปพบกับความสำเร็จและทีมงานหรือนักข่าวจะต้องทำงานได้ สามารถขจัดปัญหาอุปสรรคต่างๆ ได้ จนกว่าจะพบกับความสำเร็จในเรื่องนั้น ซึ่งหมายถึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมหรือผู้กระทำผิดได้รับโทษเป็นเยี่ยงอย่าง ซึ่งสามารถนำไว้เป็นกรณีศึกษาเพื่อป้องกันมิให้ผู้ที่คิดจะกระทำผิดนำไปกระทำผิดอีกเพราะมีบทลงโทษเป็นตัวอย่างไว้แล้ว  
          การกำหนดหมายข่าวนั้นจะต้องเล็งเห็นแล้วว่าสิ่งที่จะทำต่อไป จะต้องเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดผลดีต่อส่วนรวมและประเทศชาติ และจะต้องไปสู่ผลสำเร็จด้วย อาจเริ่มจากการสังหรณ์ใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้น มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นหรือมีผู้ให้เบาะแสทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของความสงสัยและนำไปสู่การกำหนดหมายข่าวเชิงสืบสวนในที่สุด
          สำหรับการจัดแผนงานข่าว องค์กรข่าวและนักข่าวจะต้องตั้งสมมติฐานให้ชัดเจนโดยนำหลักของงานวิจัยเข้ามาปรับใช้ เพื่อสะดวกต่อการวางแผนงานซึ่งทำให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นในผลลัพธ์ปลายทางตามที่ได้วางไว้ ด้วยการใช้ประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมาในเรื่องที่คล้ายกัน โดยจะต้องประเมินและใช้วิธีการตั้งสมมติฐานของงานวิจัยมาใช้ประกอบ และตัดสินใจว่าจะทำข่าวเรื่องนี้ต่อหรือไม่ พร้อมร่วมกันประเมินและตัดสินใจ โดยจะต้องมีการวางแผนการทำงานทุกขั้นตอน ตั้งแต่ต้นจนจบ รวมทั้งวิธีการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ละด้านในอนาคตที่ได้สันนิษฐานไว้ตั้งแต่ต้น ซึ่งอาจมีการพลิกผันให้แก้ไขไปตามสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความสำเร็จบรรลุไปสู่เป้าหมายตามที่ได้กำหนดไว้
          ในส่วนของการกวาดข้อมูลข่าว นักข่าวจะต้องระวังผู้ให้ข้อมูลให้เบาะแสข่าว โดยนักข่าวจะต้องทำการประเมินผู้ให้เบาะแสข่าวด้วยว่า น่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด และข้อมูลที่ได้มาจะต้องสามารถพิสูจน์ยืนยันความถูกต้องได้ โดยจะต้องตั้งสมมติฐานว่า เมื่อผู้ให้ข้อมูลและให้เบาะแสข่าวต้องการให้ข่าวได้รับการเผยแพร่ ผู้ใดจะได้รับผลประโยชน์ หรืออาจหวังใช้ข่าวที่ได้นำเสนอนั้น เป็นเครื่องมือทำลายผู้ใด ยุคนี้เป็นยุคดิจิทัล (Digital) การหาข้อมูลข่าวสารปัจจุบันเปิดกว้างโดยการใช้อินเทอร์เน็ต องค์กรข่าวจะต้องมีฝ่ายสารสนเทศ (Information Technology) ที่สามารถทำให้การหาข้อมูลจากแหล่งข่าวสะดวกและได้ข่าวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

          การกวาดข้อมูลข่าวนี้ สามารถนำกระบวนการรวบรวมข้อมูล (Crowd-sourcing) มาใช้ในการหาแหล่งข่าว หาข้อมูลข่าว และตรวจสอบข่าวได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการสร้างนักข่าวพลเมือง (Citizen Journalist) ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ เพื่อไว้สำหรับให้ข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลก่อนนำเสนอข่าวนั้น โดยเฉพาะการใช้วารสารศาสตร์เชิงข้อมูล (Database Journalism) มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการหาข้อมูลหรือเบาะแสข่าวต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไปในระบบฐานข้อมูลโดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลข่าว และตรวจสอบข้อมูลข่าวเพื่อนำเสนอข่าวสืบสวน
          การเสนอข่าวสืบสวน บรรณาธิการ นักข่าวและองค์กรข่าวควรนำเสนอข่าวเชิงสืบสวนโดยใช้รูปแพลตฟอร์ม (Platform) เช่น สื่อหนังสือพิมพ์ รายการโทรทัศน์ เว็บไซต์ข่าว และสื่อดิจิทัล (Digital Media) โดยเรื่องราวต่างๆ ที่นำเสนอนั้นจะต้องเป็นความจริง สามารถยืนยันได้ อาจทำเป็นรายงานพิเศษครั้งเดียว โดยมีทั้งบทรายงาน ข้อเท็จจริง ตารางข้อมูล เกร็ดความรู้ ใช้การบรรยายด้วยตัวอักษรประกอบเสียงพร้อมภาพเคลื่อนไหว โดยใช้ลักษณะการหลอมรวมสื่อ (Convergence) เพื่อให้เกิดการโต้ตอบระหว่างประชาชนผู้รับสาร (Interactive) และองค์กรข่าวหรือนักข่าวโดยตรง ในปัจจุบันนี้สามารถทำได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้การนำเสนอข่าวเชิงสืบสวนเป็นที่น่าสนใจมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา 
          นวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวนมีประเด็นสำคัญที่น่าสนใจสามารถนำไปใช้ประโยชน์ตั้งแต่ ด้านทักษะ ความรู้และประสบการณ์ของนักข่าว องค์กรข่าวจะต้องจัดสร้างห้องสมุดข่าวขององค์กรข่าวเพื่อทำให้นักข่าวมีความรู้ (Knowledge) โดยตรง พร้อมทั้งรอบรู้ในเรื่องต่างๆ ที่จะสามารถสื่อข่าวเชิงสืบสวน และจะต้องส่งเสริมนักข่าวเข้าอบรมเพิ่มทักษะ ความรู้การใช้งานด้านเทคโนโลยีต่างๆ ในเรื่องการถ่ายภาพ ความรู้ในด้านการทำข่าวเชิงลึก การใช้ภาษาอังกฤษ การใช้งานคอมพิวเตอร์ การใช้อินเทอร์เน็ตและการหาข้อมูลทางระบบอินเทอร์เน็ตให้มีความชำนาญ รวมทั้งการส่งไปอบรมต่างประเทศ ด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างนักข่าวสถาบันต่างๆ ในระดับนานาชาติ และประการสำคัญคือการเรียนรู้จากประสบการณ์ และให้นักข่าวเรียนรู้ข่าวเชิงสืบสวนตลอดเวลาในขณะทำงาน เป็นการทำให้เกิดผลดีที่สุด ซึ่งนักข่าวจะต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลา เช่น มีความถูกต้อง มีความยุติธรรม มีกระบวนการเก็บข้อมูล การสั่งสมข้อมูลไว้เป็นของส่วนตัว โดยในปัจจุบันสามารถค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ตได้สะดวกยิ่งขึ้น
          ด้านแหล่งข่าว นักข่าวจะต้องใช้วิธีการมีปฏิสัมพันธ์กับแหล่งข่าว สร้างแหล่งข่าวจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคม โดยร่วมกันสร้างให้เกิดความไว้วางใจว่า ทั้งนักข่าวและองค์กรข่าวสามารถปกป้องผู้ให้ข้อมูลได้ นักข่าวจะต้องมีความรู้ในเชิงระบบ ความรู้ในเชิงโครงสร้าง มีคลังข้อมูลเป็นของตนเอง องค์กรข่าวจะต้องทำระบบฐานข้อมูล ใช้กระบวนการรวบรวมข้อมูล ใช้การสร้างนักข่าวพลเมือง และการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อช่วยขุดคุ้ยและตรวจสอบข้อมูลต่างๆ 
          ด้านการป้องกันและแก้ไขการถูกฟ้องร้องดำเนินคดีนั้น องค์กรข่าวจะต้องมีฝ่ายกฎหมายที่จะช่วยนักข่าว โดยจะต้องแจ้งให้กับนักข่าวทราบเสมอว่า การสื่อข่าวในลักษณะใดมีผลทำให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรข่าวและตัวนักข่าว บรรณาธิการจะต้องมีความรู้ทางด้านกฎหมาย ข่าวที่นำเสนอต้องรอบคอบ รอบด้าน เป็นเรื่องจริงและให้ความเป็นธรรม ให้โอกาสทุกฝ่ายได้ชี้แจง ก่อนที่จะนำเสนอข่าวจะต้องมีการตรวจสอบหลายๆ ครั้ง และประการสำคัญหลายภาคส่วนควรร่วมกันจัดตั้งองค์กรหรือหน่วยงานอิสระเพื่อช่วยเหลือนักข่าวประเภทนี้ เมื่อมีการถูกฟ้องร้องในกรณีที่ทำงานข่าวเพื่อประโยชน์สาธารณะ
          นวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวนอีกด้านหนึ่งที่น่าสนใจคือ การเป็นองค์กรข่าวที่มีต้นทุนต่ำเป็นองค์กรสาธารณะ จึงเป็นอีกรูปแบบหนึ่งขององค์กรข่าว ที่สามารถทำงานได้อย่างอิสระ รวมทั้งการเปิดพื้นที่ให้ทุกฝ่ายเข้ามาชี้แจงได้อย่างเต็มที่ และประเด็นสำคัญหลายภาคส่วนควรรวมตัวกันเพื่องานข่าวสืบสวน โดยผนึกกำลังให้เป็นวาระสาธารณะ
          ผลสรุปองค์ความรู้ที่ได้นี้ สามารถนำไปใช้เสริมสร้างศักยภาพให้แก่นักข่าวทั่วไป และประชาชนผู้ที่สนใจในวิชานวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวน ซึ่งองค์ความรู้ที่น่าสนใจนี้ โดยเฉพาะเรื่องนักข่าว บรรณาธิการและองค์กรข่าวจะต้องปรับตัวให้ทัน ซึ่งยุคนี้อยู่ในยุคดิจิทัลมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยจะต้องนำการใช้กระบวนการรวบรวมข้อมูล การประยุกต์ใช้วารสารศาสตร์เชิงข้อมูลในกระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน ด้วยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยรวบรวมข้อมูลข่าว วิเคราะห์ข้อมูลข่าว การตรวจสอบข้อมูลข่าว รวมทั้งการใช้ลักษณะการหลอมรวมสื่อ พร้อมทั้งสร้างนักข่าวพลเมือง และนำเอาการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งแหล่งข่าวกลุ่มนี้จะมีส่วนช่วยขุดคุ้ย และตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริงต่างๆ รวมทั้งช่วยเป็นผู้ส่งเสริมในทุกด้านของงานข่าวเชิงสืบสวน ในที่สุดกลุ่มบุคคลดังกล่าวก็จะเป็นทั้งผู้รับสาร และเป็นผู้มีส่วนร่วม สุดท้ายก็จะเป็นผู้ที่มีความภาคภูมิใจด้วยในผลงานข่าวเชิงสืบสวนที่ได้นำเสนอ

นวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวน

ขอบเขตการดำเนินงาน

1. อบรมเชิงปฏิบัติการประชาชนที่เป็นผู้นำทางความคิดในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย 22 จังหวัด ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่าง เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) อาสาสมัครกู้ภัย อาสาสมัครตำรวจบ้าน ที่สนใจการสร้างทักษะพิเศษด้านนวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อการตัดสินใจทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเรื่องส่วนตัว

2. ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2565

3. ใช้ระบบการอบรมเชิงปฏิบัติการ แบบออนไลน์/ออนไซต์ พร้อมการทดสอบความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติกับผู้ที่ผ่านการอบรมสัมมนาเพื่อรับประกาศนียบัตรและบัตรประจำตัวให้แก่สมาชิก

4. ดำเนินโครงการวิจัยและวิธีการดำเนินการวิจัย ใช้การวิจัยในรูปแบบผสม (Mixed Methods Research)  ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)  การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจด้านการใช้นวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตพลเมืองไทย การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจด้านการใช้นวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอบสวนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตพลเมืองไทย จากประชากร 22 จังหวัดในภาคกลาง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนของประชากรที่อยู่ในภาคกลางของประเทศไทย จำนวน 22 จังหวัด โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple random sampling) คือ การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่ายจากรายชื่อ (List Frame) หรือพื้นที่ (Area) ซึ่งมีลักษณะทางประชากรคล้ายกัน จังหวัดละ 50 คน ทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง 18-70 ปี รวมเป็นจำนวน 1,100 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจทั้งคำถามปลายปิดและปลายเปิด มีลักษณะคำถามที่เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ผ่านระบบออนไลน์ ทั้งก่อนอบรม และหลังจากอบรม ในส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการอบรมโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้จากวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในการใช้นวัตกรรมการสื่อสารการสืบสวนสอนสวน จำนวน 6 ครั้งๆ 2 วัน รอบละ 190 คน โดยใช้แบบประเมินการรับรู้และการนำไปปฏิบัติของประชากรที่เป็นตัวแทนของจังหวัดทั้งหมดในภาคกลาง การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณ จะใช้แบบสอบถาม ด้วยการสอบถามข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ (Google Form) ทั้งคำถามปลายปิดและปลายเปิด รวมจำนวน 1,100 ชุด ระหว่างการอบรมจะขออนุญาตบันทึกคลิปวิดีโอ บันทึกเสียง บันทึกการถ่ายทำ และถ่ายภาพขณะที่มีการอบรม ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2564 ถึงเดือนพฤษภาคม  2565 

5. นำเสนอผลงานวิจัย 

กลุ่มเป้าหมาย

รูปแบบ วิธีการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย

1.คัดเลือกจากผู้ที่เป็น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) อาสาสมัครกู้ภัย อาสาสมัครตำรวจบ้าน 

2.ใช้การลงทะเบียนผ่าน Google Form เพื่อเข้าสู่ระบบการคัดเลือกผู้เข้ารับการอบรมสัมมนา

3.ใช้สมาชิกของทีมงานองค์กรสืบสวนเบาะแส BFI สังกัดมูลนิธิเบาะแส ที่ประจำอยู่ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศช่วยขับเคลื่อนคัดสรรผู้เข้ารับการอบรมสัมมนา

4.ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารการรับสมัครผู้เข้ารับการอบรมสัมมนาผ่านสื่อใหม่ (New Media)  เช่น Facebook  Application Line และโปรแกรมอื่นๆ ที่เป็นที่นิยมในสังคม

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ด้านการนำไปใช้ประโยชน์หลักสังคมด้านชุมชนและพื้นที่คำอธิบายเป็นการพัฒนาประชาชนทั่วไปทุกอาชีพทั่วประเทศ โดยเฉพาะผู้นำทางความคิด (Opinion Leader) เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) อาสาสมัครกู้ภัย อาสาสมัครตำรวจบ้าน ให้มีความรู้ในการรับข้อมูลข่าวสาร และมีวิจารณญาณในการพิจารณา วิเคราะห์ สังเคราะห์ ข้อมูลข่าวสาร เพื่อใช้ในการตัดสินใจทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเรื่องส่วนตัว โดยเฉพาะการปกป้องประชาชนในสังคมไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของข่าวลือ ข่าวลวง (Fake News) หรือไม่ตกเป็นเครื่องมือของผู้แสวงหาประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เพื่อนำไปสู่การเป็นประเทศที่มีประชาชนเข้มแข็ง โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนและมั่นคง เป็นการสร้างองค์ความรู้ให้ประชาชนที่เป็นผู้นำทางความคิดมีจิตสำนึกพร้อมรู้เท่าทันในการรับข้อมูลข่าวสารในปัจจุบันที่มีกระบวนการปล่อยข่าวลวง (Fake News) สร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นทั่วไป กิจกรรมนี้จะทำให้ประชาชนที่เข้ามีส่วนร่วมจะเกิดผลดีต่อการพัฒนาประเทศ ด้วยความมีจิตสำนึกในการเป็นเจ้าของประเทศที่แท้จริง กระบวนการนี้จึงเป็นกระบวนการและหลักการในการคิดวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ ั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเรื่องส่วนตัวของประชาชนทุกคน พร้อมทั้งกิจกรรมนี้ ผู้เข้าร่วมรับการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการยังเป็นกำลังสำคัญในการปกป้องทรัพยากรต่างๆ เช่น ทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ที่ตนอาศัยเพื่อความมั่นคง และยั่งยืนตลอดไป อันเป็นผลต่อการปกป้องและพัฒนาความมั่นคงของประเทศผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการประชาชนทั่วประเทศ และ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) อาสาสมัครกู้ภัย อาสาสมัครตำรวจบ้าน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และรัฐบาล

รายละเอียดผลผลิต
ประชาชนในชุมชนทั่วประเทศที่เป็นผู้นำทางความคิด (Opinion Leader) ที่เป็นแกนนำสำคัญในทุกตำบล ทุกอำเภอ ทุกจังหวัด ทุกภาคของประเทศไทย เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) อาสาสมัครกู้ภัย อาสาสมัครตำรวจบ้าน ได้รับทักษะพิเศษในการรับสาร-ส่งสารด้วยนวัตกรรมการสือสารการสืบสวนสอบสวน เป็นพลเมืองชั้นพิเศษ เป็นผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างมั่นคงและยั่งยืนตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนาชาติ 20 ปี

รายละเอียดผลลัพธ์
สร้างองค์ความรู้ให้ประชาชนที่เป็นผู้นำทางความคิดมีจิตสำนึกพร้อมรู้เท่าทันในการรับข้อมูลข่าวสารในปัจจุบันที่มีกระบวนการปล่อยข่าวลวง (Fake News) สร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นทั่วไป กิจกรรมนี้จะทำให้ประชาชนที่เข้ามีส่วนร่วมจะเกิดผลดีต่อการพัฒนาประเทศ ด้วยความมีจิตสำนึกในการเป็นเจ้าของประเทศที่แท้จริง กระบวนการนี้จึงเป็นกระบวนการและหลักการในการคิดวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเรื่องส่วนตัวของประชาชนทุกคน พร้อมทั้งกิจกรรมนี้ ผู้เข้าร่วมรับการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการยังเป็นกำลังสำคัญในการปกป้องทรัพยากรต่างๆ เช่น ทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ที่ตนอาศัยเพื่อความมั่นคง และยั่งยืนตลอดไป อันเป็นผลต่อการปกป้องและพัฒนาความมั่นคงของประเทศ

ผู้ใช้ประโยชน์/ผู้ได้รับผลประโยชน์
ประชาชนที่เป็นผู้นำทางความคิด/ประชาชนทั่วไปในพื้นที่/องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น/องค์การบริหารงานส่วนจังหวัด/ผู้ว่าราชการจังหวัด/กระทรวงมหาดไทย/กระทรวงสาธารณสุข/รัฐบาล

About borsae-admin

ปราบคอร์รัปชันและช่วยเหลือผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในสังคม ติดต่อ LineID: borsae0001 ติดตามผลงานได้ใน http://borsae.org/?p=1014

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*

Scroll To Top